Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/545
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorอินฺทปญฺโญ, บุญเลิศ-
dc.date.accessioned2022-03-22T07:32:36Z-
dc.date.available2022-03-22T07:32:36Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/545-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดกระบวนการพัฒนาจิตและปัญญาตามหลักพระพุทธศาสนา 2) เพื่อพัฒนากิจกรรมสร้างชีวสุขตามแนวทางการพัฒนาจิตใจและปัญญาแบบองค์รวม 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของการเข้าร่วมกิจกรรมชีวสุขตามแนวทางพัฒนาจิตใจและปัญญาแบบองค์รวมด้วยกระบวนการไบโอฟีดแบคกลุ่มตัวอย่างได้แก่ พระนิสิตปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 และปีที่ 4 ที่เข้าร่วมโครงการเข้าร่วม “โครงการสุขชีวีวิถีพุทธ”จานวน 17 รูป โดยใช้เกณฑ์การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่ม (Inclusion Criteria) ตามคุณสมบัติที่กาหนดไว้และคัดกรองแบบประเมินสุขภาพ วิธีการออกแบบการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียว เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) สัญญาณคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG) 2) แบบวัดความสุขเชิงพุทธ 3) แบบแบบบันทึกเหตุการณ์ประจาวัน4) แบบรายงานการสอบอารมณ์ 5) การสัมภาษณ์ไม่มีโครงสร้าง วิเคราะห์สัญญาณคลื่นสมอง (EEG) 3 ครั้ง ได้แก่ ก่อนการทดลอง ระหว่างการทดลองและหลังการทดลอง ควบคู่กับการสอบอารมณ์ และทาแบบทดสอบความสุขเชิงพุทธก่อนและหลังการทดลอง สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมุติฐานโดยใช้สถิติ Paired-Samples t-test และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ -Pearson correlation. ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการพัฒนาจิตและปัญญาในทางพระพุทธศาสนามีเครื่องมือที่เรียกว่า ไตรสิกขา หลักการปฏิบัติทางพระพุทธศาสนา เป็นการฝึกปฏิบัติอบรมกาย ฝึกอบรมจิต ฝึกอบรมศีล และฝึกอบรมปัญญา วิธีการทางสายเอก ได้แก่ การปฎิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามหลักสติปัฎฐาน 4 แปลว่า ที่ตั้งของสติ ซึ่งได้แก่ กาย เวทนาจิต และธรรม ในอีกความหมายหนึ่งที่เกี่ยวกับการปฎิบัติ แปลว่า สติกาหนด คือการกาหนดสักแต่ว่ารู้ ที่กาย เวทนา จิตและธรรม สติปัฏฐาน 4 การฝึกวิปัสสนาจะเกิดความเห็นแจ้งคือเห็นตรงต่อความเป็นจริงของสภาวะธรรมปัญญา มีการพัฒนาคุณภาพของจิตด้วยการฝึกจิตใจให้เข้มแข็ง มั่นคง แน่วแน่ ควบคุมตนได้ดี มีสมาธิ มีกาลังใจสูงให้เป็นจิตที่สงบ ผ่องใสผู้ที่ได้รับการพัฒนาจิตและปัญญาแบบองค์รวม คือ การพัฒนามนุษย์ให้มีความสุขให้ มีพัฒนาการ 4 ด้าน ได้แก่ การพัฒนากาย พัฒนาจิตใจ พัฒนาศีล และพัฒนาปัญญาโดยเครื่องมือชี้วัดการฝึกปฏิบัติในทางพระพุทธศาสนา เรียกว่า หลักภาวนา 4 2) การพัฒนากิจกรรมชีวสุขมีองค์ประกอบ (1) การออกแบบกิจกรรมที่เหมาะสม มีกิจกรรมปฏิบัติประจาวันระยะเวลา 9 วัน มีกิจกรรมได้แก่ สวดมนต์ ทาวัตรเช้า ทาวัตรเย็น เดินจงกรม และการนั่งสมาธิโดยใช้หลักการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน 4 ด้วยการตั้งสติไว้ที่หน้าท้องพร้อมกับคาภาวนาว่า “พองหนอ” และ “ยุบหนอ” ตามการเคลื่อนไหวของท้อง โดยลมหายใจเข้า-ออก เป็นอารมณ์ของกรรมฐานที่กาหนด มีการเดินจงกรม 6 ระยะ (2) จัดสภาพแวดล้อมเหมาะสม ที่เอื้อต่อการปฏิบัติโดยใช้หลักสถานที่สงบสงัดไม่ให้มีเสียงและอารมณ์อื่นรบกวนเพื่อช่วยสนับสนุนและเกื้อกูลในการปฏิบัติวิปัสสนาฐานให้ได้ผลดี (3) กัลยาณมิตร ได้แก่ พระวิปัสสนาจารย์ที่มีประสบการณ์การสอนปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานและสอบอารมณ์กรรมฐานต่อเนื่อง (4) การตรวจวัดคลื่นสมอง EGG ควบคู่กับเทคนิคการบันทึกแบบสะท้อนความคิดและความรู้สึกในขณะวัดคลื่นสมองและการสอบอารมรณ์กรรมฐาน 3) เมื่อเปรียบเทียบคะแนนความสุขเชิงพุทธก่อนและหลังฝึกปฏิบัติเพื่อการพัฒนากิจกรรมเพื่อสร้างชีวสุขตามแนวทางทางการพัฒนาจิตและปัญญาแบบองค์รวมของพระนิสิตเกี่ยวกับความสุขพบว่า คะแนนความสุขเชิงพุทธหลังการทดลองจะสูงกว่าก่อนทดลอง แต่ก็ไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ และมีปฏิสัมพันธระหว่างความคลื่นสมองกับจานวนครั้งในการวัดและความสุขโดยภาพ โดยพบว่า กลุ่มทดลองมีแนวโน้มมีความสุขเพิ่มขึ้นหลังจากการเข้าร่วมโครงการพบว่า เมื่อพิจารณาต่อเนื่องถึงความสัมพันธ์อัตราเฉลี่ยของการเปลี่ยนแปลงสัญญาณคลื่นไฟฟ้าสมอง Alpha/Beta ของกลุ่มตัวอย่างก่อน ระหว่างและหลังปฏิบัติธรรมจานวน 17 รูป เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างอัตราเฉลี่ยของการเปลี่ยนแปลงสัญญาณคลื่นไฟฟ้าสมอง Alpha/Beta ของกลุ่มตัวอย่างก่อน และหลังปฏิบัติธรรม พบว่ามีจานวนพระภิกษุที่มีพัฒนาการที่ดีขึ้น ซึ่งสะท้อนถึงความสงบ ความผ่อนคลายทางด้านจิตใจ จานวน 12 รูป คิดเป็น 70.59% จานวนพระภิกษุที่มีพัฒนาการลดลงมีจานวน 4 รูป คิดเป็น 23.53% และไม่มีการเปลี่ยนแปลงจานวน 1 รูปคิดเป็น 5.88%en_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectคลื่นสมองen_US
dc.subjectวิปัสสนากรรมฐานen_US
dc.subjectความสุขเชิงพุทธen_US
dc.titleการพัฒนาจิตและปัญญาแบบองค์รวมด้วยกระบวนการ Bio Feedbacken_US
dc.title.alternativeThe Holistic Development of Mind and Wisdom by Bio Feedback Processen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2560-360 Boonlert_Chuay.pdf5.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.