Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/543
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | สำเนียง, ปฏิธรรม, | - |
dc.contributor.author | ชูมา, ทวีศักดิ์ | - |
dc.contributor.author | อุตฺตโร, พระมหาอุดร | - |
dc.contributor.author | พระครูศรีสุธรรมนิวิฐ | - |
dc.date.accessioned | 2022-03-22T07:29:42Z | - |
dc.date.available | 2022-03-22T07:29:42Z | - |
dc.date.issued | 2560 | - |
dc.identifier.uri | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/543 | - |
dc.description.abstract | งานวิจัยเรื่อง “การส่งเสริมการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมเชิงพุทธในการอนุรักษ์มรดกโลก” เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของชุมชนพื้นที่รอบมรดกโลกในการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม เพื่อสร้างต้นแบบในการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมเชิงพุทธในการอนุรักษ์มรดกโลก และเพื่อพัฒนาวิถีการคงอยู่ของทรัพยากรวัฒนธรรมเชิงพุทธในการอนุรักษ์มรดกโลก โดยเจาะจงพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์กาแพงเพชร จังหวัดกาแพงเพชร จากการศึกษาพบว่า ๑. การส่งเสริมการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของชุมชนพื้นที่รอบมรดกโลกในการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมในรูปแบบของเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กระบวนการจัดการความรู้และการถอดบทเรียน สามารถเพิ่มการมีส่วนร่วมของชุมชนได้ดีเมื่อมีการบูรณาการมิติทางศาสนา ๒. เกิดต้นแบบในการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมเชิงพุทธในการอนุรักษ์มรดกโลกที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ภาครัฐและมีพระสงฆ์เป็นผู้มีบทบาทสาคัญในการขับเคลื่อนกิจกรรมการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมเชิงพุทธในการอนุรักษ์มรดกโลกผ่านกิจกรรมทางศาสนาโดยใช้พลังของพระรัตนตรัย “ไตรสรณะโมเดล” พระพุทธ : ผ่านพระพุทธรูปโบราณในเขตมรดกโลกสู่การตื่นรู้ในการอนุรักษ์มรดกโลก พระธรรม : ผ่านกิจกรรมทางศาสนา เช่นการสวดธรรมจักร ผ้าป่าแถว สืบชะตาต้นโพธิ์ การปฏิบัติธรรมในเขตโบราณสถาน พระสงฆ์ : ในบทบาทผู้นาการปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาและเป็นผู้นาในการให้ข้อคิด เชื่อมโยงความสัมพันธ์ของศาสนาสู่ความสาคัญในการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมเชิงพุทธในการอนุรักษ์มรดกโลก ๓. การพัฒนาวิถีการคงอยู่ของทรัพยากรวัฒนธรรมเชิงพุทธในการอนุรักษ์มรดกโลก มุ่งเน้นไปที่ภาคประชาชนและเยาวชน มีการจัดตั้งกลุ่มการอนุรักษ์มรดกโลกในภาคประชาชน เยาวชน กลุ่มยุววิจัย มหัลกวิจัย และพระสงฆ์ ร่วมกันสร้างกติกาข้อตกลงร่วมกันในพื้นที่และถ่ายทอดให้กลุ่มเยาวชน การจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมชาวพุทธในการอนุรักษ์มรดกโลกควรส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนวัตกรรมทางสังคม,ทางพุทธศาสนาเพื่อใช้ในการจัดการทรัพยากรทางวัฒนธรรมและส่งเสริมให้ประชาชนโดยเฉพาะเด็กและเยาวชนมีส่วนร่วมให้มากที่สุดเพื่อดาเนินการอนุรักษ์วิถีวัฒนธรรมทรัพยากรทางพุทธศาสนาในการอนุรักษ์มรดกโลก | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | การส่งเสริม | en_US |
dc.subject | การจัดการทรัพยากร | en_US |
dc.subject | วัฒนธรรมเชิงพุทธ | en_US |
dc.subject | การอนุรักษ์มรดกโลก | en_US |
dc.title | การส่งเสริมการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมเชิงพุทธในการอนุรักษ์มรดกโลก | en_US |
dc.title.alternative | The Promote cultural resource management of Buddhist in conservation of World Heritage sites | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2560-327ผศ.ดร.ปฏิธรรม สาเนียง.pdf | 4.26 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.