Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/540
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorปุณยวุฒิปรีดา, ภูริวัจน์,-
dc.date.accessioned2022-03-22T07:23:57Z-
dc.date.available2022-03-22T07:23:57Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/540-
dc.description.abstractการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาข้อเท็จจริงหรือสภาพการณ์จริงที่เกิดขึ้นแล้วนำย้อนสรุปสู่องค์ความรู้ (Expo Factor Research) คือศึกษาถึงหลักพระพุทธศาสนาที่ใช้อยู่ในรูปแบบ กระบวนการ และยุทธศาสตร์การสร้างสังคมปลอดยาเสพติดของบ้านพักใจ จังหวัดสระบุรี วัตถุประสงค์ของการวิจัย ๑) เพื่อศึกษารูปแบบการสร้างสังคมปลอดยาเสพติดตามหลักพระพุทธศาสนาของบ้านพักใจ จังหวัดสระบุรี ๒) เพื่อศึกษากระบวนการสร้างสังคมปลอดยาเสพติดตามหลักพระพุทธศาสนาของบ้านพักใจ จังหวัดสระบุรี และ ๓) เพื่อศึกษายุทธศาสตร์การสร้างสังคมปลอดยาเสพติดตามหลักพระพุทธศาสนาของบ้านพักใจ จังหวัดสระบุรี ผู้ให้ข้อมูลสำคัญมีทั้งสิ้น ๗๔ คนเป็นผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ ครู และผู้ดูแล ๑๑ คน ผู้มารับการบำบัด ๕๔ คน บุคคลในชุมชนและผู้ที่เกี่ยวข้อง ๙ คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์เชิงโครงสร้างปลายเปิด ใช้การวิเคราะห์ผลร่วมที่ตรงกันจากทุกกลุ่ม ผลการวิจัย ผลของหลักพระพุทธศาสนาในการสร้างสังคมปลอดยาเสพติด บ้านพักใจสระบุรีมีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาสังคมและมนุษย์ใน ๓ ระดับคือ ด้านโครงสร้างภายใน : การรู้จักใช้ความคิดหาเหตุของการระงับเหตุในความทุกข์ ของการติดยาเสพติด ให้หลุดพ้นในสิ่งที่มีผลกระทบทั้งร่างกายและจิตใจ ด้านโครงสร้างขององค์กร : การสร้างสุภาวการณ์เอื้ออาทร เพื่อให้เกิดการพึ่งพาตนเอง เรียนรู้การบริหารจัดการ และสร้างความศรัทธา เชื่อมั่น ในการเป็นองค์กรต้นแบบที่สังคมยอมรับ ด้านโครงสร้างทางสังคม : เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้บำบัดยาเสพติดระดับครอบครัวและชุมชน การสร้างครอบครัวและชุมชนให้เข้มแข็ง (ยั่งยืน) มีความสุขเกิดความมั่นคงในครอบครัวและชุมชน ย่อมส่งผลให้เกิดสันติสุขในครอบครัวและชุมชน โดยทุกคนมีคุณค่าและมีส่วนร่วมในการสร้างพื้นที่ความสุขในอนาคตร่วมกัน มีการประยุกต์ใช้ หลักของพระพุทธศาสนา ที่ประกอบไปด้วยหลักการดังนี้ หลักการ ๓ ประการ อุดมการณ์ ๔ ประการ และวิธีการ ๖ ประการ ซึ่งทั้งหมดคือ “หลักโอวาทปาฏิโมกข์” ที่เป็นรูปแบบ อุดมการณ์ หลักการ วิธีการ และแนวทางปฏิบัติ2ของพระพุทธศาสนา โดยยึดหลักของไตรสิกขา มรรค ๘ การรักษาศีล ทำภาวนาสมาธิ อริยสัจ ๔ อิทธิบาท ๔ พรหมวิหาร ๔ หิริโอตตัปปะ ความกตัญญูกตเวที เป็นหลักปฏิบัติจิต และใช้ฆราวาสธรรม ๔ สาราณียธรรม ๖ และสังคหวัตถุ ๔ สัปปุริสธรรม ๗ เพื่อการอยู่ร่วมกัน และใช้การสื่อสารเชิงพุทธ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริรัชกาลที่ ๙ ความเชื่อและความรู้สึกในเชิงมโนคติของบ้านพักใจสระบุรี หลัก ๕ ส. และความตั้งใจในการทำงานของบุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ทั้งหลายที่ทำให้สามารถพัฒนาคนดีคืนสู่สังคม ห่างไกลจากยาเสพติดได้สำเร็จ โดยต้องทำโครงสร้างขององค์กรที่ถูกวางกรอบมาผสมผสานเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยจัดเป็นยุทธศาสตร์ของการสร้างสังคมปลอดยาเสพติดตามหลักพุทธศาสนาได้อย่างแท้จริง ที่สามารถเข้าถึงภายในและภายนอกของจิตและกายในการมีจิตสำนึกต่อตนเอง ครอบครัว และสังคมที่จะไม่ให้กลับมาเสพยาเสพติดอีกครั้ง หรือเป็นหนทางออกของชีวิตที่จะต้องหันเหกลับเข้ามาบ้านพักใจอีกครั้ง เพื่อการบำบัดและรักษา เพราะการมาซึ่ง ศีล สมาธิ และปัญญาen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectการวิเคราะห์en_US
dc.subjectรูปแบบen_US
dc.subjectกระบวนการen_US
dc.subjectยุทธศาสตร์en_US
dc.subjectสังคมปลอดยาเสพติดen_US
dc.subjectหลักพระพุทธศาสนาen_US
dc.subjectสระบุรีen_US
dc.titleการวิเคราะห์รูปแบบ กระบวนการ และยุทธศาสตร์การสร้างสังคมปลอดยาเสพติด ตามหลักพระพุทธศาสนาในภาคกลาง : บ้านพักใจ สระบุรีen_US
dc.title.alternativeAnalysis of Model Process and Strategy of Creating the Drug free Society Accordance with Principle of Buddhism in Central of Thailand: Banpakjai Saraburien_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2560-149 ภูริวัจน์ ปุณยวุฒิปรีดา.pdf4.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.