Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/539
Title: ความรุนแรงในครอบครัวมีผลต่อความก้าวร้าวของเด็กใน ๓ จังหวัดภาคใต้
Other Titles: Family Violence Affecting Aggression of Children in Three Southern Provinces
Authors: ศรีราม, ปานวลัย,
อินทร์แก้ว, พระมหาสมคิด
วัฒนาชัยวณิช, รังสรรค์
Keywords: ความรุนแรงในครอบครัวที่มีผลต่อความก้าวร้าวของเด็ก
ความรุนแรงด้านวาจา ความรุนแรงทางร่างกาย
ความรุนแรงทางด้านสังคม
เด็ก สามจังหวัดชายแดนใต้
Issue Date: 2561
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยา่ลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรุนแรงในครอบครัวที่มีผลต่อความก้าวร้าวของเด็กใน ๓ จังหวัดภาคใต้ เพื่อศึกษาปัญหาของความรุนแรงในครอบครัวที่มีผลต่อความก้าวร้าวของเด็กใน ๓ จังหวัดภาคใต้ และเพื่อศึกษากระบวนการลดความก้าวร้าวของเด็กใน ๓ จังหวัดภาคใต้ กลุ่มตัวอย่างเป็นได้แก่สมาชิกในครอบครัวในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ ได้แก่ ปัตตานี ยะลาและนราธิวาส จานวนทั้งสิ้น ๑๙,๖๘๘ ครัวเรือน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยจานวน ๓๙๒ ครัวเรือน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามระดับความรุนแรงในครอบครัวที่มีผลต่อความก้าวร้าวของเด็กใน ๓ จังหวัดภาคใต้ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีการจัดเรียงลาดับความต้องการจาเป็น ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ๑. ความรุนแรงในครอบครัวที่มีผลต่อความก้าวร้าวของเด็กใน ๓ จังหวัดภาคใต้ จากผลการวิเคราะห์ระดับความรุนแรงในครอบครัวที่มีผลต่อความก้าวร้าวของเด็กใน ๓ จังหวัดชายแดนใต้ พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าส่วนใหญ่อยู่ในระดับน้อย ๒. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลปัญหาของความรุนแรงในครอบครัวที่มีผลต่อความก้าวร้าวของเด็กใน ๓ จังหวัดภาคใต้ โดยคณะผู้วิจัยจะขอนาเสนอดังต่อไปนี้ ๑) ด้านความรุนแรงทางด้านวาจา ปัญหาที่พบในด้านนี้ ผู้ให้ข้อมูลสะท้อนให้เห็นว่า สมาชิกในครอบครัวมักพูดจาให้เด็กน้อยใจหรือบางครั้งอาจจะเป็นพ่อแม่เองที่พูดคาไม่สุภาพกันในบ้านหรือกับคนที่สนิทสนมโดยลืมนึกไปว่า ลูกได้ยินและรับฟังคาไม่สุภาพเหล่านั้น แล้วนาไปแสดงพฤติกรรมก้าวร้าว ๒) ด้านความรุนแรงทางด้านร่างกาย ปัญหาที่พบในด้านนี้ ผู้ให้ข้อมูลสะท้อนให้เห็นว่า ครอบครัวที่มีความสาคัญมากที่สุดทั้งในวัยเด็กและวัยรุ่น หากสมาชิกในครอบครัวตีเด็กทันทีเมื่อเด็กทาให้โกรธ จะหล่อหลอมให้เด็กมีพฤติกรรมไปในทางที่ก้าวร้าว และเด็กจะแสดงพฤติกรรมที่ไม่สุภาพออกมา หรือเกิดพฤติกรรมเลียนแบบจากตัวผู้ปกครองและสมาชิกในครอบครัว ๓) ด้านความรุนแรงทางด้านสังคม ปัญหาที่พบในด้านนี้ ผู้ให้ข้อมูลสะท้อนให้เห็นว่า เมื่อเกิดความรุนแรงขึ้นในสังคม เกิดจากสมาชิกในครอบครัวที่มีความเห็นไม่ตรงกันบ่อยครั้ง เกิดผลกระทบตามมา คือ ครอบครัวหรือแม้กระทั่งตัวเด็กขาดความสงบสุขเนื่องจากการทะเลาะเบาะแว้ง การด่าทอทุบตี ทาร้ายกันในครอบครัว ซึ่งก่อความราคาญต่อเพื่อนบ้าน ๓. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลกระบวนการลดความก้าวร้าวของเด็กใน ๓ จังหวัดภาคใต้ โดยคณะผู้วิจัยจะขอนาเสนอดังต่อไปนี้ ๑) ด้านความรุนแรงทางด้านวาจา ผู้ให้ข้อมูลสะท้อนให้เห็นว่า พ่อแม่หรือสมาชิกในครอบครัวต้องระวังการพูดจาไม่เหมาะสมพูดจาให้เด็กน้อยใจ ๒) ด้านความ รุนแรงทางด้านร่างกาย ผู้ให้ข้อมูลสะท้อนให้เห็นว่า สมาชิกในครอบครัวควรให้ความใกล้ชิด ดูแลเอาใจใส่และอบรมสั่งสอนเพื่อปลูกฝังจิตสานึกเด็กอยู่เสมอ ๓) ด้านความรุนแรงทางด้านสังคม ผู้ให้ข้อมูลสะท้อนให้เห็นว่า เมื่อสมาชิกในครอบครัวที่มีความเห็นไม่ตรงกัน ควรปลูกฝังความรักและความเข้าใจกันในครอบครัว พูดจากันด้วยเหตุผล เห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/539
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2561-120นางสาวปานวลัย ศรีราม.pdf3.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.