Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/538
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | อนารโท, พระมหาณัฐกิตติ | - |
dc.contributor.author | พระครู, สิริสุตาภรณ์ | - |
dc.contributor.author | คมฺภีรปญฺโญ, พระวิมาน | - |
dc.contributor.author | สิริวฑฺฒโน, พระครูธรรมธรสิริวัฒน์ | - |
dc.date.accessioned | 2022-03-22T07:19:41Z | - |
dc.date.available | 2022-03-22T07:19:41Z | - |
dc.date.issued | 2560 | - |
dc.identifier.uri | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/538 | - |
dc.description.abstract | งานวิจัยเรื่อง “รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงพุทธของพระสงฆ์สายวัดป่าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาของการแหล่งท่องเที่ยวเชิงพุทธของพระสงฆ์สายวัดป่าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อศึกษารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงพุทธของพระสงฆ์สายวัดป่าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเพื่อเสนอยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงพุทธของพระสงฆ์สายวัดป่าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผลการวิจัยพบว่า การท่องเที่ยวเชิงพุทธของพระสงฆ์สายวัดป่าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือในปัจจุบัน เป็นทางเลือกหนึ่งของนักท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เพราะพระสงฆ์สายวัดป่ามีปฏิปทาน่าเลื่อมใสจนเป็นที่เคารพศรัทธาของประชาชนทั่วไป จึงเป็นทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงพุทธที่ทรงคุณค่า และเป็นแรงดึงดูดความสนใจให้ประชาชนเดินทางเข้าถวายสักการะแก่พระสงฆ์สายวัดป่า แม้ว่าปัจจุบันท่านจะมรณภาพไปแล้ว แต่ก็ยังมีนักท่องเที่ยวเข้าไปท่องเที่ยวในวัดของท่านเป็นจำนวนมาก จนกลายมาเป็นการท่องเที่ยวเชิงพุทธอีกรูปแบบหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างสูง แต่จะมีปัญหาเกี่ยวกับการจัดการแหล่งท่องเที่ยว การบริการนักท่องเที่ยว การดูแลรักษาทรัพยากรการท่องเที่ยว ระบบการรักษาความปลอดภัยที่ยังไม่ดีพอ สิ่งอำนวยความสะดวกที่ยังไม่เพียงพอ และพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่ไม่เหมาะสม รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงพุทธของพระสงฆ์สายวัดป่าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือในพื้นที่วิจัยทั้ง ๖ แห่ง พบว่า มี ๑๔ รูปแบบ คือ การท่องเที่ยวเชิงปฏิบัติธรรม การศึกษาธรรมะ การเรียนรู้แหล่งเรียนในวัด การสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การท่องเที่ยวประวัติ/ผลงาน การท่องเที่ยวเยี่ยมชมปฏิปทาและสิ่งของที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตพระสงฆ์สายวัดป่า การพักผ่อนหย่อนใจ การแสวงบุญ การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ การศึกษาวิถีชีวิตพระสงฆ์สายวัดป่า การเยี่ยมชมศิลปะ/จิตรกรรม และการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ จากการวิจัยพบว่า ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงพุทธของพระสงฆ์สายวัดป่าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงได้นำเสนอ ๖ กลุ่มยุทธศาสตร์ คือ กลุ่มยุทธศาสตร์ที่ ๑ : ยุทธศาสตร์ด้านการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวเชิงพุทธของพระสงฆ์สายวัดป่าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มยุทธศาสตร์ที่ ๒ : ยุทธศาสตร์ด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงพุทธของพระสงฆ์สายวัดป่าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มยุทธศาสตร์ที่ ๓ : ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงพุทธของพระสงฆ์สายวัดป่าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มยุทธศาสตร์ที่ ๔ : ยุทธศาสตร์ด้านการบูรณาการการท่องเที่ยวเชิงพุทธของพระสงฆ์สายวัดป่าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มยุทธศาสตร์ที่ ๕ : ยุทธศาสตร์ด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในรูปของการท่องเที่ยวเชิงพุทธของพระสงฆ์สายวัดป่าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และกลุ่มยุทธศาสตร์ที่ ๖ : ยุทธศาสตร์ด้านการเฝ้าระวังปัญหาจากการท่องเที่ยวเชิงพุทธของพระสงฆ์สายวัดป่าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงพุทธ | en_US |
dc.subject | พระสงฆ์สายวัดป่าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย | en_US |
dc.title | รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงพุทธของพระสงฆ์สายวัดป่าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย | en_US |
dc.title.alternative | The form of Buddhist Tourism of Monk The forest Temples in the North eastern Part of Thailand | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2560-180 พระมหาณัฐกิตติ อนารโท, ดร..pdf | 16.65 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.