Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/537
Title: | รูปแบบการจัดการความรู้การแพทย์แผนไทยของพระสงฆ์ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี |
Other Titles: | Knowledge Management Model of Monks Thai Traditional Medicine in Surat Thani |
Authors: | พันธวงศ์, ประสิทธิ์ ฐิตจาโร, พระมหาดิลกรัศมี ครุฑคง, บุญรัตน์ พัฒนพงศ์, วิสัย, ชูช่วยสุวรรณ, จำเริญ |
Keywords: | การจัดการความรู้, การแพทย์แผนไทยของพระสงฆ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยา่ลัย |
Abstract: | การศึกษาวิจัยเรื่อง “รูปแบบการจัดการความรู้การแพทย์แผนไทยของพระสงฆ์ในจังหวัด สุราษฎร์ธานี” มีวัตถุประสงค์ดังนี้ (๑) เพื่อค้นหาความรู้การแพทย์แผนไทยของพระสงฆ์ในจังหวัด สุราษฎร์ธานี (๒) เพื่อจัดการกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การแพทย์แผนไทยของพระสงฆ์ในจังหวัด สุราษฎร์ธานี (๓) เพื่อถอดบทเรียนกระบวนการจัดการความรู้การแพทย์แผนไทยของพระสงฆ์ในจังหวัด สุราษฎร์ธานี โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ลงพื้นที่เก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก จ านวน ๑๙ รูป/คน และสนทนากลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียนจ านวน ๑๘ รูป/คน น าเสนอ ผลโดยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการจัดการความรู้การแพทย์แผนไทยของพระสงฆ์ในจังหวัด สุราษฎร์ธานี เป็นกระบวนการและการสร้างการจัดการความรู้ซึ่งประกอบด้วย (๑) ค้นหาความรู้การแพทย์ แผนไทยของพระสงฆ์ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี พบว่า การจัดการความรู้แบ่งออกเป็น ๓ ระดับ คือ ๑) ความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ไม่สามารถหาหลักฐานที่ชัดเจนได้ ๒) ความรู้ที่มีอยู่ในหนังสือบุดด า บุด ขาว ใบลาน หนังสือ ต าราต่าง ๆ ซึ่งมีหลักฐานยืนยันที่ชัดเจน ๓) องค์กรที่รับผิดชอบในเรื่องของสมุนไพร ซึ่งเป็นการเก็บรวบรวมไว้เป็นหมวดหมู่ที่ชัดเจนและค้นหาได้สะดวกรวดเร็ว (๒) กระบวนการแลกเปลี่ยน เรียนรู้การแพทย์แผนไทยของพระสงฆ์ในจังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นเวทีการแชร์ประสบการณ์ พอน า ประสบการณ์มาแชร์กันแล้ว พบว่า มีจุดเหมือนและต่างกันจะท าให้เกิดการสร้างพื้นที่ให้ความรู้ สามารถ ท าเป็นชุดน าเสนอแหล่งข้อมูลที่มีการอ้างอิงไปสู่แหล่งเรียนรู้ต่อไป (๓) ถอดบทเรียนกระบวนการจัดการ ความรู้การแพทย์แผนไทยของพระสงฆ์ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี พบว่า เป็นการน าจุดเด่นของการแพทย์แผน ไทยของพระสงฆ์มาใช้เป็นประโยชน์สู่สาธารณะ ความรู้ของการสื่อสารที่เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และ สามารถต่อยอดองค์ความรู้ไปสู่รุ่นต่อรุ่น โดยการขับเคลื่อนผ่านกิจกรรมและโครงการแผนพัฒนาสมุนไพร จังหวัดสุราษฎร์ธานีสืบต่อไป |
URI: | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/537 |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2561-115 ประสิทธิ์ พันธวงษ์.pdf | 3.75 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.