Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/535
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorวรุณดี, คิด-
dc.date.accessioned2022-03-21T14:27:18Z-
dc.date.available2022-03-21T14:27:18Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/535-
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพครั้งนี้คือ ๑) เพื่อศึกษาปัญหาธุรกิจในการพัฒนารูปแบบเศรษฐกิจที่เป็นธรรมของชุมชนริมฝั่งแม่น้ำโขงอำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย ๒) เพื่อทราบสาเหตุการดำเนินการรูปแบบเศรษฐกิจที่เป็นธรรม อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย และ ๓) เพื่อพัฒนารูปแบบเศรษฐกิจที่เป็นธรรมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนริมฝั่งแม่น้ำโขง อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย ขอบเขตของการวิจัย คือ เขตพื้นที่อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย และประชากรที่อยู่ในอำเภอเมืองหนองคาย ในการศึกษาการวิจัยครั้งนี้คือ ประชากรในชุมชนริมฝั่งแม่น้ำโขงในเขตเทศบาลเมืองหนองคายซึ่งประกอบด้วย ตลาดอินโดจีน ซึ่งตั้งอยู่ในเขตพื้นที่อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย โดยกำหนดเนื้อหาของการวิจัยเป็นการศึกษารูปแบบเศรษฐกิจที่เป็นธรรมในชุมชนริมฝั่งแม่น้ำโขงใน อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสังเกตที่ไม่มีโครงสร้าง และแบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนารูปแบบเศรษฐกิจที่เป็นธรรมของอำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย มีการรณรงค์ในการปรับปรุงด้านอาคารสถานที่ที่เป็นรูปธรรมและการซื้อขายโดยเน้นเรื่องของคุณธรรมโดยให้บริการสินค้าให้มีคุณภาพตามราคาไม่เอาเปรียบผู้บริโภค และได้พบว่าการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนและประชาชนได้แสดงออกถึงการมีส่วนร่วมในลักษณะการให้คำแนะนำและ หน่วยงานภาครัฐให้การสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการดูแลสถานที่และตรวจดูแลความสะอาดให้เป็นไปตามสุขอนามัย โดยมีการประชาสัมพันธ์เพื่อการรณรงค์ใช้แต่สินค้าที่มีคุณภาพที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนคือการรับฟังจากสื่อต่าง ๆ เกี่ยวกับสถานการณ์ของบ้านเมืองที่ทำให้ประชาชนได้รับรู้ถึงความไม่เป็นธรรมและปัญหาอุปสรรค์การมีส่วนร่วมในทางใช้จ่ายซื้อสินค้าต่างๆ ของชุมชนและการซื้อสินค้าและบริการจะทำอย่างไรจึงจะมีความยุติธรรมกันในชุมชน ข จากผลการศึกษาวิจัย พบว่าแนวทางในการพัฒนารูปแบบเศรษฐกิจที่เป็นธรรมคือให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจร่วมกันในชุมชนและมีการดำเนินการอย่างโปร่งใสตลอดถึงการได้รับผลประโยชน์ที่เป็นธรรมและมีการตรวจสอบให้มีคุณภาพตลอดถึง หน่วยงานภาครัฐให้การสนับสนุนมากขึ้นในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในทางเศรษฐกิจทุก ๆ ด้านโดยเฉพาะเศรษฐกิจชุมชนควรให้ความสำคัญต่อชุมชนในเรื่องสุขอนามัยการบริโภคและการใช้จ่ายซื้อสินค้าที่ได้คุณภาพและเป็นธรรม มีการส่งเสริมให้กลุ่มคนเหล่านี้ได้มีโอกาสแสดงบทบาทของตนเองเพิ่มมากขึ้น ผู้นำชุมชน ผู้บริหารชุมชน และพัฒนากร ได้เปิดโอกาสให้ประชาชนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อีกทั้งมีผลจากการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจ สำนักงานเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนมาใช้ในการพัฒนาชุมชนทำให้เกิดผลในการพัฒนารูปแบบเศรษฐกิจที่เป็นธรรมของชุมชนในทุกๆ ด้านและไม่ให้มีปัญหาอุปสรรคใดๆ กับมีข้อเสนอแนะและเพื่อปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพในการมีส่วนร่วมของประชาชนทั้งในการพัฒนาเศรษฐกิจในรูปแบบความเป็นธรรม เพื่อความ“อยู่เย็น เป็นสุข”ของประชาชนในชุมชนอย่างยั่งยืนen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectการพัฒนารูปแบบen_US
dc.subjectเศรษฐกิจที่เป็นธรรมen_US
dc.subjectการมีส่วนร่วมen_US
dc.subjectชุมชนริมen_US
dc.subjectฝั่งแม่น้ำโขงen_US
dc.subjectอำเภอเมืองหนองคายen_US
dc.subjectจังหวัดหนองคายen_US
dc.titleการพัฒนารูปแบบเศรษฐกิจที่เป็นธรรมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนริมฝั่งแม่น้ำโขง กรณีศึกษา อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคายen_US
dc.title.alternativeThe Development of Righteous Economic form by Participatory Action of Mekong River Side Community: A case study of Muang Nongkhai, Nongkhai Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2561-023ดร.คิด วรุณดี.pdf2.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.