Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/534
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | โยธิโก, พระมหาโยธิน | - |
dc.contributor.author | ไกรราช, ทักษิณาร์ | - |
dc.contributor.author | โพธิ์ไพจิตร์, นาฏนภางค์ | - |
dc.contributor.author | แสงเดือนฉาย, ฤดี | - |
dc.contributor.author | มอบสันเทียะ, ณรงฤทธิ์ | - |
dc.date.accessioned | 2022-03-21T14:23:46Z | - |
dc.date.available | 2022-03-21T14:23:46Z | - |
dc.date.issued | 2561 | - |
dc.identifier.uri | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/534 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยเรื่อง “การสร้างความสมดุลและการรักษาต้นทุนทางธรรมชาติเชิงพุทธของเครือข่ายป่าชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิดและกระบวนทัศน์การสร้างความสมดุลและการรักษาต้นทุนทางธรรมชาติเชิงพุทธ (๒) เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการสร้างความสมดุลและการรักษาต้นทุนทางธรรมชาติเชิงพุทธ ๓) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและแนวทางการสร้างความสมดุลและการรักษาต้นทุนทางธรรมชาติเชิงพุทธของเครือข่ายป่าชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผู้วิจัยเลือกใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการใช้วิธีการสัมภาษณ์ (Interview) การสังเกตการณ์ (Observation) และการสนทนากลุ่ม จากกลุ่มตัวอย่างประชากร จากป่าชุมชนทั้ง 6 แห่ง ใช้กลุ่มตัวอย่างประชากร คือ พระสงฆ์ เครือข่ายป่าชุมชน ตัวแทนข้าราชการในพื้นที่ ผู้นาชุมชน และประชาชนทั่วไป ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จานวน 72 รูป/คน แล้วนาข้อมูลมาเขียนพรรณนาเชิงวิเคราะห์ ผลการวิจัย พบว่า ๑) แนวคิดและกระบวนทัศน์การสร้างความสมดุลและการรักษาต้นทุนทางธรรมชาติเชิงพุทธเกี่ยวข้องกับ (๑) หลักกตัญญู คือการสอนให้มนุษย์มีทัศนคติและการปฏิบัติด้วยท่าทีที่ถูกต้องต่อธรรมชาติ รู้จักตระหนักในคุณของธรรมชาติสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างยิ่ง (๒) หลักสันโดษ ใช้เป็นหนทางในการเยียวยาธรรมชาติทั้งภายในและภายนอกตัวมนุษย์ ทาให้ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เพราะมนุษย์ ธรรมชาติ และสังคม ต้องประสานและเกื้อกูลกัน (๓) และหลักมัชฌิมาปฏิปทาใช้เป็นหลักการใช้สอยทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างมีคุณค่า เพื่อปลูกฝังจิตสานึกให้ประชาชนได้เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม และวิธีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้ยั่งยืน ๒) รูปแบบและกระบวนการสร้างความสมดุลและการรักษาต้นทุนทางธรรมชาติ มี ๔ ประการ ได้แก่ การใช้กฎระเบียบทางสังคมการมีส่วนร่วมเครือข่ายขององค์กรต่างๆ การอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพป่าชุมชน และการจัดสรรผลประโยชน์จากป่าชุมชน ๓) ปัญหาอุปสรรคและแนวทางการสร้างความสมดุลและการรักษาต้นทุนทางธรรมชาติ ขาดการใช้ประโยชน์จากป่าอย่างเกื้อกูลและการประยุกต์ใช้ความเชื่อพิธีกรรมทางศาสนา การสร้างเทคโนโลยีการจัดการป่า เช่น การปลูกป่า ๓ อย่าง เพื่อประโยชน์ ๔ อย่าง และขาดการสร้างเครือข่ายกับองค์กรหรือชุมชนนอกพื้นที่ และการส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาอนุรักษ์ป่าชุมชนบนฐานเศรษฐกิจพอเพียง จึงควรมีแนวทางการส่งเสริมบทบาทพระสงฆ์ในการบูรณาการหลักศาสนธรรม ศาสนพิธี และเครือข่ายการสร้างกระบวนการทางสังคมเพื่อการเรียนรู้ ให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้การจัดการป่าชุมชน ให้มีผลต่อการผลักดันต้นทุนทางทรัพยากรธรรมชาติทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ให้มั่นคงและยั่งยืน | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | การสร้างความสมดุล | en_US |
dc.subject | การรักษาต้นทุนทางธรรมชาติ | en_US |
dc.subject | เชิงพุทธ | en_US |
dc.subject | เครือข่ายป่าชุมชน | en_US |
dc.subject | ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | en_US |
dc.title | การสร้างความสมดุลและการรักษาต้นทุนทางธรรมชาติเชิงพุทธ ของเครือข่ายป่าชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | en_US |
dc.title.alternative | Creating Buddhist Ecological Balance and Maintaining Natural Capital of the Community Forest Networks in the Northeastern of Thailand | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2561-075พระมหาโยธิน-โยธิโก.pdf | 5.49 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.