Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/533
Title: ฮูปแต้มอีสาน : การจัดการของชุมชน เพื่อการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรม
Other Titles: Painting Isan : Community Management for Buddhist and Culture Tourism
Authors: หลานวงค์, อดุลย์
โยธิโก, พระมหาโยธิน
จนฺทวฑฺฒโน, พระภาณุวัฒน์
Keywords: ฮูปแต้มอีสาน
การจัดการของชุมชน
การท่องเที่ยว
ทางพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรม
Issue Date: 2561
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ข้อ คือ ๑) เพื่อศึกษาเส้นทางและแหล่งท่องเที่ยวด้าน พุทธศิลป์ประเภทฮูปแต้มของวัดในภาคอีสาน ๒) เพื่อศีกษาการมีส่นร่วมของชุมชนในการจัดการ แหล่งท่องเที่ยวด้านพุทธศิลปของวัดในภาคอีสาน และ ๓) เพื่อวิเคราะห์การจัดการแบบมีส่วนร่วม ของชุมชนและผลกระทบของการท่องเที่ยวที่มีต่อพุทธศิลป์ในภาคอีสาน เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพซึ่ง ใช้การเก็บข้อมูลทั้งจากเอกสาร งานวิจัยและข้อมูลภาคสนามโดยกาหนดพื้นที่ ๑๒ วัด ในภาคอีสาน ตอนกลาง ๓ จังหวัด คือ ๑) จังหวัดขอนแก่น จานวน ๔ วัด ๒) จังหวัดมหาสารคาม จานวน ๔ วัด และ ๓) จังหวัดร้อยเอ็ด จานวน ๔ วัด รวมทั้งสิ้น ๑๒ แห่ง ผลจากการศึกษาพบว่า แหล่งวัฒนธรรมในพื้นที่อีสานตอนกลางโดยเฉพาะแหล่งวัฒนธรรมที่มีความเกี่ยวข้องกับ พระพุทธศาสนาประเภทฮูปแต้มที่มีอายุก่อนพุทธศักราช ๒๕๐๐ ปี ถือว่าได้รับอิทธิพลจากพุทธ ศาสนาแบบล้านช้างที่มีการผสมผสานกับคติความเชื่อแบบชาวบ้าน สาหรับเส้นทางและแหล่งพุทธ ศิลป์ในพื้นที่อีสานตอนกลางมีลักษณะที่เป็นภูมิศาสตร์เชิงนิเวศวิทยาศาสนา ซึ่งจัดเป็นภูมิทัศน์ วัฒนธรมที่เชื่อมโยงถึงกันอย่างชัดเจน และแหล่งท่องเที่ยวด้านพุทธศิลป์พื้นที่อีสานตอนกลางที่ เกี่ยวกับสิม ถือว่าทั้ง ๑๒ แห่ง มีความโดดเด่นที่ไม่ต่างกันมากนัก แต่สิมบางแห่งอาจจะมีความโดด เด่นในด้านภาพจิตรกรรมที่มีความชัดเจนและมีความหลากหลาย แต่ทั้งหมดสามารถกล่าวได้ว่าเรื่อง เล่าที่เกี่ยวข้องกับพุทธศิลป์ประเภทฮูปแต้มในพื้นที่อีสานตอนกลางนั้น มีความเกี่ยวข้องกับพุทธ ประวัติชาดกหรือพระเจ้าสิบชาติชาดกนอกนิบาต ไตรภูมิ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีจิตกรรมฝาผนังที่ไม่ เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาโดยตรงคือเรื่องพระลักพระลาม และรวมถึงจิตรกรรมฝาผนังที่เป็นวิถี ชีวิตชิงวัฒนธรรมของชุมชน สาหรับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการแหล่งท่องเที่ยวด้านพุทธศิลป์ของวัดในภาค อีสานสามารถแบ่งออกเป็น ๓ กลุ่ม คือ ๑) กลุ่มที่มีการจักการแบบมีส่วนร่วมผ่านศูนย์การเรียนรู้ ภูมิปัญญา ๒) กลุ่มที่มีการจัดการร่วมกันองค์กรภายนอกและภายในชุมชน และ ๓) กลุ่มที่ยังขาดการ จัดการอย่างเป็นรูปธรรม ส่วนผลกระทบของการท่องเที่ยวที่มีต่อพุทธศิลป์ในภาคอีสานงานวิจัยนี้ได้นาเสน อ ผลกระทบ ๒ ด้าน คือ ผลกระทบด้านการท่องเที่ยวและผลกระทบด้านวัฒนธรรม ผลกระทบด้าน การท่องเที่ยว เป็นผลกระทบที่ชุมชนรวมทั้งหน่วยงานภายในและภายนอกชุมชนต้องการให้เกิดขึ้น ได้แก่ ผลกระทบเชิงการท่องเที่ยวประเภทเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมสาหรับเยาวชนหรือนักเรียน การท่องเที่ยวเชิงทัศนศึกษาของนิสิต นักศึกษาหรือนักวิชาการเป็นหลัก ซึ่งถือว่าชุมชนอาจจะไม่มี ส่วนได้อะไรมากนักจากการท่องเที่ยวดังกล่าว เป็นเพียงแต่ผู้ให้บริการเท่านั้น ส่วนผลกระทบด้าน วัฒนธรม มีทั้งด้านบวกและด้านที่จะต้องพัฒนา ด้านบวกนั้น จะเห็นได้จากชุมชนบางแห่งได้ผนวก รวมการจัดประเพณีวัฒนธรรม เช่น สงกรานต์ และงานบุญต่าง ๆ เป็นต้น โดยใช้พื้นที่สิมเพื่อ นาเสนออัตลักษณ์ในด้านการท่องเที่ยว ส่วนผลกระทบด้านที่จะต้องพัฒนานั้น เป็นผลที่เกิดขึ้นในเชิง วัฒนธรรมที่เป็นรูปธรรมที่นักท่องเที่ยวหรือแม้แต่ชุมชนที่อาจขาดองค์ความรู้อย่างเหมาะสมในการ เที่ยวชมอาจเป็นสาเหตุทาให้จิตรกรรมเหล่านั้น
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/533
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2561-059ดร.อดุลย์ หลานวงค์.pdf10.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.