Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/532
Title: | การเสริมสร้างสัมมาชีพของคนเลี้ยงช้างในจังหวัดสุรินทร์ |
Other Titles: | Supporthelt of Right Livelihood of The Mahout Way of Life in Surin Province |
Authors: | กิตฺตวณฺโณ, พระอธิการเวียง พระครูปริยัติวิสุทธิคุณ พวงจันทร์, ธีรทิพย์ |
Keywords: | กระบวนการ สัมมาชีพ ความสุจริต คนเลี้ยงช้างในจังหวัดสุรินทร์ |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยเรื่อง “การเสริมสร้างสัมมาชีพของคนเลี้ยงช้างในจังหวัดสุรินทร์” มีวัตถุประสงค์ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาหลักสัมมาชีพของชุมชนคนเลี้ยงช้างในจังหวัดสุรินทร์ ๒) เพื่อศึกษารูปแบบและกระบวนการเสริมสร้างความสุจริตและความรับผิดชอบของชุมชนคนเลี้ยงช้างจังหวัดสุรินทร์ ๓) เพื่อวิเคราะห์รูปแบบและกระบวนการเสริมสร้างสัมมาชีพและความรับผิดชอบของชุมชนคนเลี้ยงช้างในจังหวัดสุรินทร์ ผลการวิจัยพบว่า งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) ศึกษาหลักสัมมาชีพของชุมชนคนเลี้ยงช้างในจังหวัดสุรินทร์ ๒) ศึกษารูปแบบและกระบวนการเสริมสร้างความสุจริตและความรับผิดชอบของชุมชนคนเลี้ยงช้างจังหวัดสุรินทร์ ๓) วิเคราะห์รูปแบบและกระบวนการเสริมสร้างความสุจริตและความรับผิดชอบของชุมชนคนเลี้ยงช้างในจังหวัดสุรินทร์ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แนวคิด ๑)หลักสัมมาชีพชุมชน ๒) รูปแบบและกระบวนการสร้างสัมมาชีพชุมชน ๓) ความรับผิดชอบของชุมชนเป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือชุมชนคนเลี้ยงช้างในตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ กลุ่มคนเลี้ยงช้าง ข้าราชการ ผู้นำท้องถิ่น ในตำบลกระโพรวม ๑๕ คน โดยใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี ๒ ชนิด คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกและแบบสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนพรรณาเชิงบรรยาย ผลการวิจัยพบว่า ๑.หลักสัมมาชีพคือการประกอบอาชีพอย่างสุจริตหรือที่เรียกว่าสัมมาชีวะในพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นองค์ธรรมหนึ่งในมรรค ๘ เป็นหนทางแห่งความพ้นทุกข์ การประกอบอาชีพด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ไม่คิดเบียดเบียนหรือคดโกงคนอื่นเป็นหนทางแห่งความพ้นทุกข์ของสังคม อาชีพคนเลี้ยงช้างของกลุ่มชาติพันธุ์กูยในจังหวัดสุรินทร์ เป็นอาชีพที่ต้องปฏิบัติตามความเชื่อและกฎเกณฑ์ที่ตั้งไว้คือหลักความเชื่อใน “ปะกำ” และหลักที่ต้องปฏิบัติคือ “คะลำ” สองหลักนี้ทำให้อาชีพคนเลี้ยงช้างเป็นสัมมาอาชีพ ๒.รูปแบบและกระวนการเสริมสร้างความสุจริตและความรับผิดชอบของคนเลี้ยงช้างจังหวัดสุรินทร์เริ่มตั้งแต่การไปคล้องช้างในป่า (ปัจจุบันไม่มีการไปคล้องช้างแล้ว) การนำช้างมาเลี้ยงไว้ในบ้านของตนเองการฝึกช้างให้ช่วยงานในด้านต่างๆ เช่นการแสดงของช้าง การใช้ช้างขนส่งสินค้าและผู้คนเป็นต้น กระบวนการที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นต้องทำไปตามหลักความเชื่อในปะกำและ คะลำทั้งสิ้น คนเลี้ยงช้างต้องประกอบด้วยคุณธรรมคือความซื่อสัตย์สุจริตและความเคารพในคูบาใหญ่ เวลาออกไปคล้องช้างต้องไม่พูดโกหก ไม่คล้องช้างที่มีลูกหรือไม่คล้องลูกช้างตัวเล็กที่ติดแม่ มีความเคารพเชื่อฟังผู้ อาวุโสตามลำดับชั้นต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ในเรื่องของปะกำ ถ้าฝ่าฝืนถือว่าผิดปะกำอาจมีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ แม้แต่ภรรยาหรือลูกที่อยู่บ้านขณะที่สามีออกไปคล้องช้างก็ต้องปฏิบัติตามหลักหรือกฎเกณฑ์ของปะกำเช่นเดียวกัน ๓. จากการวิเคราะห์รูปแบบและกระบวนการเลี้ยงช้างเพื่อเสริมสร้างความสุจริตแล้วเห็นว่า ชุมชนคนเลี้ยงช้างจังหวัดสุรินทร์ใช้กระบวนการความเชื่อในปะกำและคะลำเป็นกฎเกณฑ์ในการเลี้ยงช้าง เมื่อจะทำสิ่งใดที่เกี่ยวกับช้างเช่นออกไปคล้องช้าง นำช้างมาเลี้ยงฯลฯต้องมีการเซ่นไหว้ปะกำก่อน ต้องมีคะลำเช่นห้ามพูดคำหยาบ ด่าพ่อแม่และผิดลูกเมียคนอื่นเป็นต้น สิ่งเหล่านี้เรียกว่าคะลำ ถ้าไม่ปฏิบัติตามก็มีโทษทั้งแก่ตนเองและครอบครัว ทำให้ไม่เจริญในการประกอบอาชีพ |
URI: | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/532 |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2560-203พระอธิการเวียง กิตฺติวณฺโณ.pdf | 5.85 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.