Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/531
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสินทับศาล, ภูวเดช-
dc.contributor.author-, พระครูปลัดสุวัฒนพุทธคุณ-
dc.contributor.authorคมฺภีรปญฺโญ, พระสันต์ทัศน์-
dc.contributor.authorนามสง่า, ปัญญา-
dc.contributor.authorสุขทรัพย์ทวีผล, สุนทร-
dc.contributor.authorทองสุข, ชัยรัตน์-
dc.date.accessioned2022-03-21T04:21:32Z-
dc.date.available2022-03-21T04:21:32Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/531-
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยเรื่อง พุทธจริยศาสตร์ : แนวคิดและหลักการเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวและสังคมไทยในศตวรรษที่ ๒๑ มีวัตถุประสงค์ (๑) เพื่อศึกษาแนวคิดและหลักการเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวและสังคมไทยในศตวรรษที่ ๒๑ (๒) เพื่อศึกษาแนวคิดและหลักการเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวและสังคมตามหลักพุทธจริยศาสตร์ (๓) เพื่อ บูรณาการหลักการเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวและสังคมตามหลักพุทธจริยศาสตร์ การศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นกาวิจัยทั้งแบบเอกสาร และศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า ครอบครัว คือ กลุ่มบุคคลที่มีความผูกพันและใช้ชีวิตร่วมกัน เป็นสถาบันหลักของสังคมซึ่งเป็นรากฐานสำคัญยิ่งต่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ ๒๑ ครอบครัวในปัจจุบันมีหลากหลายรูปแบบเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพสังคม เศรษฐกิจ ประกอบด้วยครอบครัวเดี่ยว มีสมาชิกในครอบครัวพ่อแม่ลูก และกลายเป็นครอบครัวขยายเมื่อลูกแต่งงานและอยู่กับพ่อแม่ในระยะแรกของการใช้ชีวิตคู่แล้วแยกตัวออกไปสร้างครอบครัวใหม่ที่กลายเป็นครอบเดี่ยวถือว่าเป็นลักษณะวงจรชีวิตครอบครัวในยุกปัจจุบัน บทบาทหน้าที่ของสถาบันครอบครัวและสังคมไทยกับการเสริมสร้างความเข้มแข็ง ประกอบด้วยการส่งเสริมสัมพันธภาพที่ดีในครอบครัว สร้างความรัก ความอบอุ่น และความเข้าใจภายในครอบครัว การปลูกฝังให้มีวิถีการดำเนินชีวิตที่ดีและถูกต้อง มีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคม ไม่สร้างปัญหาให้ครอบครัวและสังคม ทุกคนในครอบครัวมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น การเสริมสร้างความเข้มแข็งตามหลักพุทธจริยศาสตร์ ใช้หลักสมาชีวิธรรม เป็นหลักธรรมของคู่ชีวิตที่มุ่งเน้นความประพฤติที่สมํ่าเสมอกลมกลืนกัน ซึ่งส่งผลถึงความสงบเรียบร้อยดีงามในสังคมไทย สมาชิกทุกคนต้องมีคุณธรรมซึ่งถือว่าเป็นหลักพุทธจริยศาสตร์ที่ สำคัญและจำเป็น ๔ ประการ (๑) สมศรัทธา การมีศรัทธาเสมอกัน (๒) สมสีลา การมีศีลเสมอกัน (๓) สมจาคา การมีความเสียสละเสมอกัน และ (๔) สมปัญญา การมีปัญญาสามารถแยกถูกผิดชั่วดีเสมอกัน พุทธจริยศาสตร์สามารถบูรณาการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ครอบครัวและสังคมไทยในการดำเนินชีวิต ๓ ระดับ ประกอบด้วย (๑) ระดับพื้นฐาน ศีล ๕ กับ ธรรม ๕ เป็นพี้นฐานความสงบเรียบร้อยดีงามของทุกคนในสังคม (๒) ระดับกลาง สังคหวัตถุ ๔ และทิศ ๖ บุคคลในครอบครัวย่อมมีหน้าที่ต้องปฏิบัติต่อบุคคลต่าง ๆ ในสังคมอันเปรียบเสมือนทิศทั้ง ๖ ทำให้เกิดผลดีในระดับปัจเจกชนและระดับสังคม (๓) ระดับสูง ธรรมคุ้มครองโลก ๒ และมรรคมีองค์ ๘ หลักจริยธรรมขั้นสูงนี้เหมาะสำหรับการฝึกอบรมยกระดับจิต ความละอายชั่วกลัวบาปเป็นหนทางนำไปสู่อริยบุคคล ซึ่งหลักพุทธจริยศาสตร์ระดับต้นและระดับกลาง ถือว่าเป็นองค์ความรู้ที่สามารถบูรณาการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับสถาบันครอบครัวและ สังคมไทยปกติสุข สงบเรียบร้อยดีงาม ส่วน จริยศาสตร์ระดับสูงเหมาะสำหรับผู้ออกจากเรือน ปฏิบัติธรรมเพื่อแสวงหาความหลุดพ้นตามนัยทางพุทจริยศาสตร์en_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectพุทธจริยศาสตร์en_US
dc.subjectแนวคิดและหลักการen_US
dc.subjectการเสริมสร้างความเข้มแข็งen_US
dc.subjectครอบครัวและสังคมไทยen_US
dc.subjectศตวรรษที่ ๒๑en_US
dc.titleพุทธจริยศาสตร์ : แนวคิดและหลักการเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวและสังคมไทยในศตวรรษที่ ๒๑en_US
dc.title.alternativeBuddhist Ethics : The Concepts and Principles to Strengthen of Strong Family and Social Thailand in the 21St Centuryen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2561-170ดร.ภูวเดช สินทับศาล.pdf3.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.