Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/529
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorแกมนาค, ฤทธิชัย-
dc.contributor.authorพระครูวิมลศิลปกิจ-
dc.contributor.authorพันเลิศพาณิชย์, สุภัชชา-
dc.date.accessioned2022-03-21T03:49:07Z-
dc.date.available2022-03-21T03:49:07Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/529-
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ๑. เพื่อศึกษาลักษณะการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นสมุนไพรพื้นบ้านของชุมชนบ้านหัวฝาย ตำบลสันกลาง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ๒. เพื่อศึกษากระบวนการสร้างมูลค่าเพิ่มของสมุนไพรพื้นบ้านชุมชนวัดหัวฝาย ตำบลสันกลาง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย และ๓. เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรพื้นบ้านชุมชนวัดหัวฝาย ตำบลสันกลาง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์และสนทนากลุ่ม จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน ๒๐ รูป/คน ดังนี้ ผู้บริหารกลุ่มรักษ์สมุนไพร หน่วยงานภาครัฐที่มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สมุนไพร และสมาชิกกลุ่มรักษ์สมุนไพร ผลการวิจัย พบว่า สมุนไพรพื้นบ้านที่ใช้ในชุมชนบ้านหัวฝาย มี ๒ ประเภท ๑) สมุนไพรพื้นบ้านที่นำมาใช้ในการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรในชุมชนบ้านหัวฝาย จำนวน ๑๑ ชนิด ๒) สมุนไพรที่นำมาใช้เป็นอาหารหรือเป็นส่วนผสมในการปรุงอาหาร จำนวน ๒๙ ชนิด วิธีการอนุรักษ์สมุนไพรพื้นบ้านมี ๔ วิธี ๑) การปลูกจิตสำนึกให้คนในชุมชนตระหนักถึงคุณค่าความสำคัญในนำสมุนไพรพื้นบ้านมาใช้ประโยชน์ ๒) การปลูกสมุนไพรพื้นบ้าน ๓) การฟื้นฟู ปรับปรุงภูมิปัญญาในการใช้สมุนไพรพื้นบ้านให้เหมาะสมกับยุคสมัยและเกิดประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวัน และ๔) การเผยแพร่และแลกเปลี่ยนภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรพื้นบ้านอย่างกว้างขวางโดยการใช้สื่อและวิธีการต่าง ๆ กระบวนการสร้างมูลค่าเพิ่มของสมุนไพรพื้นบ้านชุมชนบ้านหัวฝาย แบ่งออกเป็น ๔ ขั้นตอน ๑)กระบวนการผลิต การเพิ่มมูลค่าให้กับสมุนไพรพื้นบ้านชุมชนบ้านหัวฝาย เริ่มต้นจากกระบวนการผลิตวัตถุดิบที่ได้มาตรฐาน เพื่อให้ได้สมุนไพรที่มีคุณภาพ โดยเน้นเรื่องคุณภาพและมาตรฐานของวัตถุดิบ ๒) นวัตกรรม เพื่อเป็นการทำให้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรของชุมชนบ้านหัวฝาย มีคุณภาพและได้มาตราฐาน จึงไปศึกษาดูงานวิธีการสกัดน้ำมันสมุนไพรและวิธีการผลิตสมุนไพร การปลูกสมุนไพร ที่ไม้หมอนฟาร์ม นำมาช่วยในการผลิตสมุนไพรให้ได้มาตราฐาน ๓) การตลาดและประชาสัมพันธ์ เพื่อ เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์สมุนไพร ชุมชนบ้านหัวฝาย มีการจัดการด้านการส่งเสริมการตลาด การนำผลิตภัณฑ์สมุนไพรออกจำหน่ายแก่ผู้สนใจตามช่องต่าง ๆ และช่องทางการตลาด จำหน่ายภายในประเทศและต่างประเทศและ๔) ผลลัพธ์ ๑) เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการปลูกสมุนไพรพื้นบ้าน ๒) มูลค่าการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสมุนไพรเพิ่มขึ้นและ๓) เป็นการทดแทนพืชเศรษฐกิจที่มีปัญหา การพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรพื้นบ้านชุมชนบ้านหัวฝาย พบว่า ขั้นตอนการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรพื้นบ้าน มี ๕ ขั้นตอน ดังนี้ ๑) การรวบรวมข้อมูลเบื้องต้น พบว่าสมุนไพรส่วนใหญ่ที่กลุ่มรักษ์สมุนไพร นำมาใช้เป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์สมุนไพรนั้น เป็นสมุนไพรที่สมาชิกปลูกและนำมาจำหน่ายที่ “ธนาคารสมุนไพร” ของวัดหัวฝาย จำนวน ๗ ชนิด ๒) การสร้างแนวคิด สมาชิกกลุ่มรักษ์สมุนไพร มีความสามัคคีในการทำงานมีความมุ่งมั่นตั้งใจทำงานและการนำผลิตภัณฑ์เข้าสู่กระบวนการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อสร้างจุดแข็งของผลิตภัณฑ์ที่สามารถแข่งขันทางการตลาดทั้งระดับจังหวัดและระดับประเทศ ๓) การประเมินแนวความคิด กลุ่มรักษ์สมุนไพร มีความพร้อมในการดำเนินการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ๓ ชนิด ลูกประคบสมุนไพร น้ำมันนวดสมุนไพร และน้ำมันมนต์สมุนไพร ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำไปพัฒนาเพื่อเข้าสู่กระบวนการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ๔) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะแก่การพัฒนาคือ ลูกประคบสมุนไพร และ๕ การนำผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด ๓ ช่องทาง ดังนี้ ๑)คณะผู้ที่เดินทางมาศึกษาดูงานด้านโรงเรียนผู้สูงอายุวัดหัวฝาย ๒) งานที่หน่วยงานต่าง ๆ จัดขึ้น ๓)จัดจำหน่ายในต่างประเทศ โดยผ่านลูกค้าคนไทยที่เคยใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectการส่งเสริมen_US
dc.subjectอนุรักษ์en_US
dc.subjectภูมิปัญญาไทยสมุนไพรพื้นบ้านen_US
dc.subjectชุมชนบ้านหัวฝายen_US
dc.subjectจังหวัดเชียงรายen_US
dc.titleการส่งเสริมและอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทยสมุนไพรพื้นบ้านของชุมชนen_US
dc.title.alternativeEnhancing and Preservation of Thai’s Herbal Wisdom by Localen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2561-141 ผศ.ดร.ฤทธิชัย.pdf4.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.