Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/528
Title: | การพัฒนาศักยภาพการรองรับนักท่องเที่ยวสาธารณรัฐประชาชนจีนของผู้ประกอบการ และชุมชนในจังหวัดเชียงราย |
Other Titles: | The Development Potential of China's Tourists, Entrepreneurs and Communities in Chiang Rai |
Authors: | บุญเลิศ, นเรศร์ |
Keywords: | การพัฒนาศักยภาพ การรองรับนักท่องเที่ยวสาธารณรัฐประชาชนจีน ผู้ประกอบการ ชุมชน จังหวัดเชียงราย |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาศักยภาพการรองรับนักท่องเที่ยวสาธารณรัฐประชาชนจีนของ คือ ๑.เพื่อศึกษาแนวคิดที่เกี่ยวข้องเกี่ยวข้องการท่องเที่ยวของผู้ประกอบการและชุมชนในจังหวัดเชียงราย ๒. เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพการรองรับนักท่องเที่ยวสาธารณรัฐประชาชนจีนของผู้ประกอบการและชุมชนในจังหวัดเชียงราย ๓. เพื่อได้แนวทางในการพัฒนาศักยภาพของการจัดการท่องเที่ยวเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวสาธารณรัฐประชาชนจีน การศึกษาเชิงสำรวจโดยใช้วิธีการศึกษาผสมผสานทั้งการสำรวจ ศึกษาเอกสาร ศึกษาแผนพัฒนาตำบล โดยการสนทนากลุ่มกับองค์การบริหารส่วนตำบลและการสัมภาษณ์ จากกลุ่มประชาชน อำเภอแม่จัน จำนวน ๕ คน อำเภอแม่สาย จำนวน ๕ คน อำเภอเชียงแสน จำนวน ๕ คน อำเภอเชียงของ จำนวน ๕ คน ผู้นำท้องถิ่น อำเภอแม่จัน จำนวน ๑ คน อำเภอแม่สาย จำนวน ๑ คน อำเภอเชียงแสน จำนวน ๑ คน อำเภอเชียงของ จำนวน ๑ คน ผู้ประกอบการ ภาครัฐและเอกชน อำเภอแม่จัน จำนวน ๑ คน อำเภอแม่สาย จำนวน ๑ คน อำเภอเชียงแสน จำนวน ๑ คน อำเภอเชียงของ จำนวน ๑ คน รวม ๒๘ คน นำข้อมูลมาวิเคราะห์ใน ๓ ประเด็นที่ศึกษา ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาศักยภาพการรองรับนักท่องเที่ยวสาธารณรัฐประชาชนจีนของผู้ประกอบการและชุมชนในจังหวัดเชียงราย ๑. แนวคิดการส่งเสริมคนในพื้นที่ในการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นของตนเองเป็นเครื่องมือในการสร้างคนในสังคม โดยเฉพาะคนในพื้นที่จะได้ผลประโยชน์ตลอดจนผลกระทบในทุกด้าน ขยายเศรษฐกิจเครือข่ายในชุมชนใกล้เคียงที่รวมอยู่ในภาคีเพื่อค้นหาความรู้ร่วมกันบนพื้นฐานการปฏิบัติการจัดการบริหารส่วนท้องถิ่นด้านที่เกี่ยวกับต้นทุนทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทุนการจัดการการมีส่วนร่วมน้อย และการค้นหารูปแบบการจัดการการบริหารจัดการโดยคนในชุมชนและการอยู่ร่วมกับชุมชนอื่น ๆ ที่มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน การเชื่อมโยงเครือข่ายและการเปลี่ยนแปลงทางนโยบายของรัฐ องค์กรส่วนท้องถิ่น การสร้างเครือข่ายชุมชน จังหวัด การพัฒนาอย่างยั่งยืนจะต้องตะหนักถึงขีดความรู้ความสามารถของคนในชุมชนในทุกด้าน ๒. ศักยภาพการรองรับนักท่องเที่ยว การบริหารการจัดการท่องเที่ยวในพื้นที่ การจัดสรรงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีน้อย การพัฒนาด้านการท่องเที่ยวจึงไม่เป็นรูปธรรมที่ชัดเจนในการนำมาปฏิบัติให้เกิดกับคนในพื้นที่มากนัก การแก้ไขปัญหา การบริหารจัดการท่องเที่ยวชุมชน การคมนาคมไม่สะดวก สาธารณูปโภค เช่น ไฟฟ้า สถานที่สาธารณะ ที่จะนำเข้ามาในชุมชมและให้ชุมชนมีส่วนร่วมค่าใช้จ่ายในบ้างส่วน ปัญหาการขยายพื้นที่ หรือการขายพื้นที่ให้กับนักธุรกิจในการสร้างที่พักในการรองรับนักท่องเที่ยวที่จะเข้ามาในพื้นที่ ปัญหาผลกระทบทางด้านเสียง มลพิษต่าง ๆ ที่เกิดจากการที่นักท่องเที่ยวเข้ามาใช้พื้นที่ และชุมชนขาดการรองรับที่มีระบบจะเป็นการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างมาก ๓. การพัฒนาศักยภาพของการจัดการท่องเที่ยว ด้านการพัฒนาศักยภาพของการจัดการท่องเที่ยวเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวสาธารณรัฐประชาชนจีน องค์การบริหารงบประมาณประจำปี บุคลากรในการให้บริการจัดการด้านกาท่องเที่ยวชุมชมได้อย่างมีระบบ ตามแผนพัฒนา การส่งเสริมและให้ความรู้บุคลากรเพื่อมีการพัฒนาศักยภาพในการการจัดการท่องเที่ยว ความเข้าใจกฎหมาย กฎระเบียบข้อบังคับ การบังคับใช้กฎหมายในเขตพื้นที่ การปฏิบัติหน้าที่ดูแลความสงบ ปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยว การบริหารงานด้วยความเป็นมิตร การรณรงค์การทำงานเป็นทีมให้เกิดประสิทธิภาพ การสร้างเครือข่ายร่วมมือกันในการบริหารจัดการที่มีความเกี่ยวข้อง หรือสอดคล้องกันเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน ร่วมกันจัดตั้งศูนย์กลางการประสานเฉพะกิจหรือการจัดตั้งศูนย์ประสานงานระหว่างหน่วยงาน |
URI: | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/528 |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2561-134นเรศร์ บุญเลิศ.pdf | 1.58 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.