Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/525
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorจิรภัคพงค์, ชลธิชา-
dc.contributor.authorพระครูปริยัติวรากร-
dc.contributor.authorกิตฺติวณฺโณ, พระอนุสรณ์-
dc.contributor.authorฟองคา, เกรียงศักดิ์-
dc.contributor.authorวูวงศ์, อรอนงค์-
dc.date.accessioned2022-03-21T03:33:57Z-
dc.date.available2022-03-21T03:33:57Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/525-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการสร้างสรรค์ผลงานผ้าด้นมือ สร้างสรรค์ผลงานศิลปะผ้าด้นมือนาไปสู่การยกระดับรายได้สู่เศรษฐกิจชุมชนและถ่ายทอดผลงานด้านศิลปะเชิงสร้างสรรค์ผ้าด้นมือสู่เยาวชนและผู้สูงอายุในกลุ่มจังหวัดล้านนา ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ รองประธานกลุ่ม ผู้ประกอบการผ้าด้นมือ ผู้นาชุมชน ปราชญ์ท้องถิ่น หอการค้าจังหวัดแพร่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สานักงานแพร่ พัฒนาชุมชน วัฒนธรรม อุตสาหกรรมจังหวัด ผู้รู้ในด้านสาขาศิลปะการออกแบบ เยาวชน และผู้สูงอายุ เครื่องมือที่ใช้การวิจัยเป็นแบบการสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม ชุดปฏิบัติการ และแบบประเมินความรู้ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาพิจารณาประเด็นหลักและแบ่งออกเป็นประเด็นย่อย ผลการวิจัยพบว่า ๑. กระบวนการสร้างสรรค์ผลงานผ้าด้นมือในกลุ่มจังหวัดล้านนา ประกอบด้วย (๑) การออกแบบผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้า (๒) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ในรูปแบบที่หลากหลาย ใช้ประโยชน์ได้หลายๆ อย่าง โดยไม่ทิ้งภูมิปัญญาดั้งเดิม (๓) การตลาดมีการจาหน่ายที่กลุ่มโดยตรง จัดงานแสดงสินค้า การส่งออกของพ่อค้าคนกลาง (๔) การเรียนรู้ให้ความรู้แก่ลูกหลาน การเรียนรู้ระหว่างสมาชิกหรือจากวิทยากร และจากหลักสูตรของโรงเรียน (๕) การสร้างเครือข่าย มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และช่วยเหลือกัน จาหน่ายโดยระบบเครือข่าย (๖) กระบวนการถ่ายทอดสืบต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ขยายไปในชุมชนใกล้เคียง และถ่ายทอดให้กับนักเรียน ๒. กระบวนการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะผ้าด้นมือเพื่อนาไปสู่การยกระดับรายได้สู่เศรษฐกิจชุมชนในกลุ่มจังหวัดล้านนา ควรมุ่งให้ความสาคัญของการนาภูมิปัญญาชาวบ้าน และทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่น มาพัฒนาและสร้างมูลค่าของผลิตภัณฑ์ให้สูงขึ้น มีคุณภาพ มีจุดเด่น มีเอกลักษณ์ ๓. การถ่ายทอดผลงานด้านศิลปะเชิงสร้างสรรค์ผ้าด้นมือสู่เยาวชนและผู้สูงอายุในกลุ่มจังหวัดล้านนา เป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคนิคกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานผ้าด้นมือจากกลุ่มสมาชิก แก่เยาวชนและผู้สูงอายุได้เรียนรู้ ทั้งนี้ควรนาภูมิปัญญาชาวบ้านมาผสมผสานกับแนวคิดศิลปะเชิงสร้างสรรค์ ส่งผลให้สามารถสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่มีเอกลักษณ์สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคนาไปสู่การยกระดับรายได้สู่เศรษฐกิจชุมชน ตลอดจนเกิดการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นของตนเองให้คงอยู่en_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectการส่งเสริมen_US
dc.subjectการเรียนรู้ด้านศิลปะเชิงสร้างสรรค์en_US
dc.subjectผ้าด้นมือen_US
dc.subjectเยาวชนและ ผู้สูงอายุen_US
dc.subjectกลุ่มจังหวัดล้านนาen_US
dc.titleการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านศิลปะเชิงสร้างสรรค์ผ้าด้นมือของเยาวชนและผู้สูงอายุในกลุ่มจังหวัดล้านนาen_US
dc.title.alternativeCreative Quilt Art Learning Enhancement for Youth and Elderlies in Lanna Provincesen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.