Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/523
Title: การจัดการองค์ความรู้การป้องกันและเสริมสร้างสุขภาพด้านโรคไม่ติดต่อเรื้องรังของพระสงฆ์ แบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือในข่ายภาคเหนือ
Other Titles: Knowledge Management about Health Promotion and Disease Prevention of Non-Communicable Disease in Buddhist Monks by North Partnership Networking’s Participation
Authors: เกตุวีระพงศ์, พูนทรัพย์
พระครูปริยัติวรากร
จันทร์จารัส, ธีรวัฒน์
อินศรีชื่น, สายฝน
อิกำเหนิด, เจษฎาภรณ์
Keywords: การจัดการ
การป้องกันและเสริมสร้างสุขภาพ
โรคไม่ติดต่อเรื้องรัง
ภาคีเครือข่ายภาคเหนือ
Issue Date: 2563
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) วิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยเน้นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) และการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ศึกษาเอกสาร (Documentary Research) วัตถุประสงค์ 1)เพื่อพัฒนา และการประเมินผลการจัดการองค์ความรู้การป้องกันและแนวปฏิบัติการเสริมสร้างสุขภาพด้านโรคไม่ ติดต่อเรื้อรังของพระสงฆ์2)เพื่อเสริมสร้างเครือข่ายในการป้องกันและการเสริมสร้างสุขภาพด้านโรคไม่ ติดต่อเรื้อรังของพระสงฆ์ พื้นที่ในการวิจัย คือแพร่และน่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบสอบถาม (questionnaire) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) การสนทนากลุ่ม(Focus Groups Discussion) กลุ่มตัวอย่างจานวน 230 คน ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลการศึกษาการ วัตถุประสงค์การวิจัย ข้อที่ 1 สะท้อนผลการรวบรวมและวิเคราะห์การ จัดการองค์ความรู้ โดยกระบวนการ KM (Knowledge Management) ในกิจกรรม 4 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 พบว่า พระสงฆ์มีการแลกเปลี่ยนรู้ระหว่างพระสงฆ์ พระคิลานุปัฎฐาก รพ. สต.อสม.และ ขั้นตอนที่ 2, 3, 4 ผลการศึกษา เป็นชุดกิจกรรมจานวน 2 ชุด ดังนี้ ชุดกิจกรรมที่ 1 พบว่า มีการเพิ่มความรู้ โดยแพทย์ ได้แนวปฏิบัติ 4 หลัก คือ ตื่นรู้เรื่องโรค คือ มีการตื่นรู้ว่าโรคไม่ติดต่อรื้อรังเป็นโรคที่ที่ไม่สามารถแพร่เชื้อไปสู่อีกคนหนึ่ง ไม่เป็นอันตรายต่อสังคม เป็นภัยเงียบจากอาหาร ตื่นรู้เรื่องการเตือนตน า มีการชี้ให้เห็นถึงผลที่ ตามมาของการฉันอาหาร การปรับพฤติกรรมการฉันอาหาร ตื่นรู้เรื่องปรับเปลี่ยน การปรับความเชื่อ ของชาวบ้านในการถวายอาหารแก่พระสงฆ์ ตื่นรู้วิธีปฏิบัติ การเปลี่ยนทัศนคติ แทรกความรู้ในการ เทศนาธรรมเรื่อง 3 อ 2 ส จากกิจกรรมชุดที่ 2 มีการศึกษาค้นคว้าจากอินเตอร์เน็ต แผ่นพับ จากสื่อ ต่างๆ วิธีการป้องกันตัวเรา/ เขา/ ท่าน ให้ห่างไกลโรค เกิดแนวปฏิบัติ ตามหลัก 4 ป “ป ที่ 1” “ปรับ” การเปลี่ยนทัศนคติของชาวบ้านและพระสงฆ์“ป ที่ 2” “เปลี่ยน” พระสงฆ์จะต้องเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ตระหนักในการป้องกันและการเสริมสร้างสุขภาพ “ป ที่ 3” “ปฏิบัติ” พระสงฆ์จะต้องปฏิบัติตนอย่างถูกต้อง การออกกาลังกาย การตรวจสุขภาพ ประจาปี “ป ที่ 4” “ประจา” มีการปฏิบัติตนที่เหมาะสมเป็นประจา 2 ผลการประเมินรูปแบบการจัดการองค์ความรู้การป้องกันและการเสริมสร้างสุขภาพ ข ด้านโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของพระสงฆ์ เชิงปริมาณ พบว่า พระสงฆ์ในจังหวัดแพร่ และจังหวัดน่าน หลัง ได้รับกิจกรรม มีการจัดการองค์ความรู้ ดีกว่าก่อนการได้รับกิจกรรมการจัดการองค์ความรู้อย่างมี นัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ผลของการศึกษาตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 การแลกเปลี่ยนและแสดงความคิดเห็นการ เสริมสร้างเครือข่าย ตามหลัก 4 ส พบว่า ส ที่ 1 “สมรรถนะแห่งตน” ความสามารถของพระสงฆ์ ประชาชนในพื้นที่ หน่วยงานรัฐ เอกชน เข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตน การประชาคมผ่าน/สื่อ/ ภาครัฐ/รพ.สต/อสม. ส ที่ 2 “การสร้างบุคคลต้นแบบ” มีการสร้างแรงบันดาลใจ การเปิดตัวพระคิ ลานุปัฐาก และกลุ่มสนับสนุนสุขภาพในชุมชน คือ รพ.สต. อส.ม.ส ที่ 3 “สื่อที่ทันสมัย” การใช้สื่อจะ ช่วยในการประชาสัมพันธ์ให้ได้หลากหลายรูปแบบ ส ที่ 4 “สร้างข้อตกลงร่วม” มีการสร้าง ข้อตกลงร่วมและ สร้างเครือข่ายด้วยการทา MOU ร่วมกับคณะสงฆ์ มจร.รพสต. ทุกตาบล อสม.ผู้นา ชุมชน ทาเป็นเชิงนโยบายสู่กระบวนการสร้างเครือข่ายในชุมชน
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/523
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.