Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/522
Title: นวัตวิถีวัฒนธรรมชุมชนกับการสำรวจวรรณกรรมใบลานลุ่มแม่น้ำโขง
Other Titles: The Community culture and blooming literature survey Mekong River Basin
Authors: อุดมโชคนามอ่อน, ไชยสิทธิ์
Keywords: นวัตวิถี
วัฒนธรรมชุมชน
การสำรวจ
วรรณกรรมใบลาน
ลุ่มแม่น้ำโขง
Issue Date: 2563
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเรื่อง “นวัตวิถีวัฒนธรรมชุมชนกับการสำรวจวรรณกรรมใบลาน ลุ่มแม่น้ำโขง ” มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการคือ ๑) นวัตวิถีวัฒนธรรมชุมชนกับการสำรวจวรรณกรรมใบลาน ในเขตลุ่มแม่น้ำ โขงตอนบน ๒) นวัตวิถีวัฒนธรรมชุมชนกับการสำรวจวรรณกรรมใบลาน ในเขตลุ่มแม่น้ำโขงตอนกลาง และ ๓) นวัตวิถีวัฒนธรรมชุมชนกับการสำรวจวรรณกรรมใบลาน ในเขตลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง การวิจัยครั้งนี้เป็น การวิจัย แบบผสมผสานทั้งวิจัยในเชิงเอกสาร (Documentary Research) การวิจัยเชิงคุณภาพใน ภาคสนาม (Qualitative Research) และ การวิจัยเชิงปฏิบัติการสร้างเครือข่ายแบบมีส่วนร่วม (PAR) ซึ่งผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยตามลำดับสามารถสรุปผลการวิจัยได้ดังนี้ สรุปผลการวิจัย ผลการศึกษานวัตวิถีวัฒนธรรมชุมชนกับการสำรวจวรรณกรรมใบลาน ในเขตลุ่มแม่น้ำโขง ตอนบน ตอนกลาง และตอนล่าง พบว่า การวิจัยเรื่อง “นวัตวิถีวัฒนธรรมชุมชนกับการสำรวจวรรณกรรม ใบลาน ในเขตลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน” ผู้วิจัยนำเสนอผลการวิจัยโดยตอบคำถามการวิจัยและวัตถุประสงค์ ของการวิจัย ๔ ข้อโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก และ การใช้ชุดปฏิบัติการสร้างเครือข่ายแบบมีส่วนร่วม (PAR) ผลการวิจัยสรุปผลได้ดังนี้ กระบวนการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลาน และ จำนวนวรรณกรรมใบลานในกลุ่มจังหวัดลุ่มแม่น้ำโขง ตอนบนของประเทศไทย ๑.๑ กระบวนการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลาน ในกลุ่มจังหวัดลุ่มแม่น้ำโขงตอนบนของ ประเทศไทยผลการวิจัย พบว่า มีกระบวนการอนุรักษ์ ๗ กระบวนการ ได้แก่ ๑) กระบวนการสืบค้นและให้ ความรู้ ๒ ) กระบวนการพัฒนากิจกรรมการอนุรักษ์ ๓ ) กระบวนการปฏิบัติการการอนุรักษ์ ๔) กระบวนการสร้างการมีส่วนร่วม ๕) กระบวนการพัฒนาความรู้ ๖) กระบวนการสร้างศูนย์เรียนรู้ และ ๗) กระบวนการเผยแพร่สู่สาธารณะ โดยมีรายละเอียดดังนี้ กระบวนการที่ ๑ กระบวนการสืบค้นและให้ ความรู้ งานปริวรรตเนื้อหาวรรณกรรมใบลานที่สำคัญในกลุ่มจังหวัดลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน ตอนกลาง และ ตอนล่าง ของประเทศไทย ได้ปริวรรตจำนว ๓ เรื่อง ตอนบน เรื่องพระเวสสันดรชาดก ตอนกลาง เรื่องกำพร้าปลาแดง และตอนล่าง เรื่องเสียวสวาสดิ์ ส่วนประโยชน์ของวรรณกรรมใบลานที่สำคัญทีมีต่อ ชุมชน ในกลุ่มจังหวัดลุ่มแม่น้ำโขงตอนบนของประเทศไทย ผลการวิจัยพบว่า ได้วิเคราะห์ประโยชน์ของ วรรณกรรมมหาเวสสันดรชาดกซึ่งเป็นวรรณกรรมที่ได้คัดเลือกมาปริวรรต เนื่องจากเป็นวรรณกรรมใบลาน ข ที่เป็นที่นิยมถวายมากที่สุดในกลุ่มจังหวัดลุ่มแม่น้ำโขงตอนบนของประเทศไทย ได้สามารถจำนวนประโยชน์ ที่มีผลต่อชุมชนได้ ๕ ด้าน ได้แก่ ๑) ด้านสังคม ๒) เศรษฐกิจ ๓) ด้านสิ่งแวดล้อม ๔) ด้านพุทธศิลปกรรม และ ๕) ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นและเครือข่ายชุมชนอนุรักษ์วรรณกรรมใบลานในกลุ่มจังหวัดลุ่มแม่น้ำโขง ตอนบนของประเทศไทย ผลการวิจัยพบว่า ประกอบด้วย ๒ เครือข่ายใหญ่ ได้แก่ ๑) เครือข่ายชุมชน อนุรักษ์วรรณกรรมใบลาน ๕ จังหวัดลุ่มแม่น้ำโขงตอนบนของประเทศไทย และ ๒) เครือข่ายการอนุรักษ์ วรรณกรรมใบลานอย่างสร้างสรรค์ เขตลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน ตอนกลาง และ ตอนล่าง ของประเทศไทย โดยมีกระบวนการ ประกอบด้วย ๔ ขั้นตอนในการสร้างเครือข่าย ได้แก่ ๑) การทำ MOU แต่ละจังหวัดใน เขตลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน ๒) พัฒนาชุมชนเครือข่ายอนุรักษ์คัมภีร์ใบลานต้นแบบประจำจังหวัด ๓) การพัฒนาชุมชนอนุรักษ์คัมภีร์ใบลานต้นแบบประจำกลุ่มจังหวัดลุ่มแม่นำโขงตอนบน และ ๔) การทำ MOU กับ เครือข่ายการอนุรักษ์วรรณกรรมใบลานอย่างสร้างสรรค์ เขตลุ่มแม่น้ำโขงตอนกลาง และ ตอนล่าง ของประเทศไทย และการทำ MOU กับ เครือข่ายการอนุรักษ์วรรณกรรมใบลานอย่างสร้างสรรค์ เขตลุ่มแม่น้ำ โขงตอนกลาง และ ตอนล่าง ของประเทศไทย โดยจัดเสวนาการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลาน และ ประโยชน์ของ วรรณกรรมสำคัญที่มีต่อชุมชน ในกลุ่มจังหวัดลุ่มแม่น้ำโขงตอนบนของประเทศไทย จำนวน ๕ จังหวัด ร่วมกับ เครือข่ายการอนุรักษ์วรรณกรรมใบลานอย่างสร้างสรรค์ เขตลุ่มแม่น้ำโขงตอนกลาง และ ตอนล่าง ของประเทศไทย ณ วัดสูงเม่น อำเภอสูงเม่น จัดหวัดแพร่ และ จัดพิธีร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ในการเป็นเครือข่ายการอนุรักษ์วรรณกรรมใบลานอย่างสร้างสรรค์ กับ ชุมชนต้นแบบการอนุรักษ์คัมภีร์ อนุรักษ์วรรณกรรมใบลานในเขตุลุ่มแม่น้ำโขงตอนกลาง และ ตอนล่าง ของประเทศไทย ประกอบด้วย กลุ่มจังหวัดลุ่มแม่น้ำโขงตอนกลาง จำนวน ๔ จังหวัดได้แก่ ๑) ชุมชนวัดสุทธิวนาราม อำเภอปากคาด จังหวัดบึงกาฬ ๒) ชุมชนวัดอุดมเขต(นาคลอง) อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย ๓) ชุมชนวัดโพธิ์ศรี อำเภอนครพนม จังหวัดนครพนม ๔) ชุมชนวัดวัดโพธิ์ไทร อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร และ กลุ่มจังหวัดลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง จำนวน ๒ จังหวัด ได้แก่ ๑) ชุมชนวัดมณีวนาราม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี และ ๒) ชุมชนวัดโนนดู่ อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจ เจริญ รวมทั้ง ๓ พื้นที่แล้ว เป็น ๑๑ จังหวัด และ ได้กำหนดให้ วัดสูงเม่น เป็น ศูนย์อนุรักษ์วรรณกรรมใบลานเชิง สร้างสรรค์ต้นแบบ ในกลุ่มจังหวัดลุ่มแม่น้ำโขง ของประเทศไทย โดยมี พิธีเปิดป้ายศูนย์อนุรักษ์วรรณกรรม ใบลานเชิงสร้างสรรค์ต้นแบบ ในกลุ่มจังหวัดลุ่มแม่น้ำโขง ของประเทศไทย อย่างเป็นทางการ ณ วัดสูงเม่น อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ โดยได้จัดงานขึ้นในวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๖๓ ที่ผ่านมา มีผู้เข้าร่วมงานกว่า ๒๐๐ รูป/คน
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/522
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.