Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/521
Title: การส่งเสริมการเรียนรู้ด้านศิลปะเชิงสร้างสรรค์ผ้าหม้อห้อมของเยาวชนและผู้สูงอายุใน กลุ่มจังหวัดล้านนา
Other Titles: Promotion of learning Creative Arts of Mohom Product of Youth and Aging in the Lanna province Group
Authors: อินนันใจ, สายัณห์
ศรีคำภา, รวีโรจน์
สุขไมตรี, พรสวรรค์
เมืองเอก, คำเกี้ยว
คุ้มถิ่นแก้ว, ธนนันท์
สวิ่ง, พูนศรี
Keywords: การส่งเสริม
การเรียนรู้ด้านศิลปะเชิงสร้างสรรค์
ผ้าหม้อห้อม
เยาวชนและ ผู้สูงอายุ
กลุ่มจังหวัดล้านนา
Issue Date: 2563
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: วิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษากระบวนการสร้างสรรค์ผลงานผ้าหม้อห้อมในกลุ่ม จังหวัดล้านนา ๒) เพื่อสร้างสรรค์ผลงานศิลปะผ้าหม้อห้อมนำไปสู่การยกระดับรายได้สู่เศรษฐกิจ ชุมชนในกลุ่มจังหวัดล้านนา ๓) เพื่อถ่ายทอดผลงานด้านศิลปะเชิงสร้างสรรค์ผ้าหม้อห้อมสู่เยาวชน และผู้สูงอายุในกลุ่มจังหวัดล้านนา การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยผสมผสานวิธี โดยมีทั้งการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) เชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และเชิงปฏิบัติการ (Action Research) โดยมีการ เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้องรวมถึงการเก็บข้อมูลเชิงปฏิบัติการ (Workshop เครื่องมือที่ ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย เครื่องมือการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interviews) และการสนทนากลุ่มย่อย (Focus Groups Discussion) มีตัวแทนหน่วยงานภาครัฐ และตัวแทนกลุ่มวิสาหกิจผ้าหม้อห้อม ชุดปฏิบัติการสร้างสรรค์ศิลปะบนผ้าหม้อห้อม และมีการ ประเมินก่อนและหลังชุด (Pre-test Post-test) ด้วยแบบประเมินก่อนและหลังชุดสร้างสรรค์ศิลปะ บนผ้าหม้อห้อม จากการวิจัยพบว่า สรุปผลการวิจัยที่เกี่ยวกับกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานผ้าหม้อห้อมใน กลุ่มจังหวัดล้านนามี ๖ ด้านมีประกอบไปด้วย ๑. ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ ๒. ด้านการพัฒนาด้าน การผลิตภัณฑ์ ๓. ด้านการตลาด ๔. ด้านการเรียนรู้ ๕. ด้านเครือข่าย ๖. ด้านการถ่ายทอด มี รายละเอียดดังนี้กล่าวโดยสรุปว่ากระบวนการถ่ายทอดผลิตภัณฑ์ผ้าหม้อห้อม จากผลิตภัณฑ์ที่ทำกัน ในครัวเรือนมีการถ่ายทอดจากพ่อแม่สู่ลูก เคล็ดลับในการผลิตถูกเปิดเผยจากพ่อแม่สู่บุตรหลาน ถือ ข เป็นมรดกตกทอดทางวัฒนธรรมที่มีการสืบทอดกันมาอย่างยาวนานมีการปฏิบัติตามประเพณีอย่าง เคร่งครัดในปัจจุบันการถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ผ้าหม้อห้อมได้มีกระบวนการถ่ายทอด เป็นทางการมีหลักสูตรในสถานศึกษาเพื่อถ่ายทอดให้แก่นักเรียนนักศึกษา ยังได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคนิควิธีการให้แก่ผู้ที่สนใจรวมทั้งนักท่องเที่ยวให้ได้เรียนรู้การย้อมผ้าหม้อห้อม สรุปการออกแบบผลิตภัณฑ์ผ้าหม้อห้อมเพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้าโดยการออกแบบ ผลิตภัณฑ์โดยใช้ผ้าฝ้ายธรรมชาติ สมารถย้อมสีธรรมชาติด้วยสีของห้อม ย้อมสีแบบวิทยาศาสตร์ และ ย้อมสีพิมพ์เทียน พร้อมนำผ้าชนิดอื่นและวัสดุอื่นมาประดับให้เกิดลวดลายที่สวยงามน่าสนใจ เพราะ ผ้าหม้อห้อมเดิมมีสีพื้น คือ สีห้อม หรือ สีคราม พร้อมนำไปจำหน่ายที่หน้าร้านในย่านชุมชน และใช้ วิธีการขายออนไลน์ มีการเล่าเรื่องราวผ่านสินค้า “Story Product” เพื่อให้คนทั่วไปได้จดจำสินค้าได้ ดี มีการพัฒนาชุดเคหภัณฑ์หม้อห้อมสุขใจ ประกอบไปด้วยหมอนอิงใบใหญ่ ๑ ใบ หมอนอิงใบเล็ก ๔ ใบ เบาะนั่ง ๔ ผืน กล่องกระดาษชำระ ๒ อัน ผ้าปูโต๊ะ ๑ ผืน การถ่ายทอดผลงานด้านศิลปะเชิงสร้างสรรค์ผ้าหม้อห้อมสู่เยาวชนและผู้สูงอายุในกลุ่ม จังหวัดล้านนา มีกิจกรรมการถ่ายทอดผลงานด้วยปราชญ์ชาวบ้านที่เชี่ยวชาญเป็นผู้ถ่ายทอดให้ความรู้ การใช้เทคนิคการเขียนเทียนหรือพิมพ์เทียน มีการพิมพ์เทียนขี้ผึ้งลงบนพื้นผ้า ตามลวดลายโดยใช้ แม่พิมพ์ เริ่มตั้งแต่การเตรียมวัสดุโดยนำขี้ผึ้งไปต้มละลายและรอให้เดือด จากนั้นนำแม่พิมพ์ส่วนตรงที่ เป็นลายจุ่มลงไปในหม้อขี้ผึ้งเดือด จากนำมาปั้มลงบนผ่าที่เตรียมไว้รอให้แห้ง นำไปย้อมห้อมทิ้งไว้ให้ แห้งนำไปตากในที่ร่ม เพื่อไม่ให้เทียนละลายทำให้ลายผ้าเลอะ นำไปย้อมและตากประมาน ๓ รอบ เพื่อให้สีผ้าเข้มของห้อม จากนั้นก็ต้มในน้ำเดือด เพื่อละลายเทียน แล้วเอาไปตากแดดต่อจนแห้งเป็น อันเสร็จการย้อมเทียน สรุปความคิดเห็นเกี่ยวกับของผู้สูงอายุในกลุ่มจังหวัดล้านนาของเยาวชนและ ผู้สูงอายุ ในการถ่ายทอดผลงานรวมด้าน พบว่า ในภาพรวมก่อนเข้ารับการถ่ายทอดระดับปาน ส่วน หลังการรับถ่ายทอดระดับมาก
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/521
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.