Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/520
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ขอนวงค์, สมจิต | - |
dc.contributor.author | สุนันตา, ปัญญา | - |
dc.contributor.author | มงคลพิพัฒน์พร, ปุญยวีร์ | - |
dc.contributor.author | หมายดี, ดำเนิน | - |
dc.contributor.author | รัตนวงศ์, นพรัตน์ | - |
dc.date.accessioned | 2022-03-21T03:15:29Z | - |
dc.date.available | 2022-03-21T03:15:29Z | - |
dc.date.issued | 2563 | - |
dc.identifier.uri | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/520 | - |
dc.description.abstract | การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษากระบวนการสร้างสรรค์ผลงานผ้าทอในกลุ่มจังหวัดล้านนา ๒) เพื่อสร้างสรรค์ผลงานศิลปะผ้าทอนำไปสู่การยกระดับรายได้สู่เศรษฐกิจชุมชนในกลุ่มจังหวัดล้านนา ๓) เพื่อถ่ายทอดผลงานด้านศิลปะเชิงสร้างสรรค์ผ้าทอสู่เยาวชนและผู้สูงอายุในกลุ่มจังหวัดล้านนา เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed method research) ทั้งวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ผลการศึกษาพบว่า ๑. กระบวนการสร้างสรรค์ผลงานผ้าทอในกลุ่มจังหวัดล้านนา เป็นกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานผ้าทอในกลุ่มจังหวัดล้านนา พื้นที่บ้านค้างใจ ตำบลแม่เกิ๋ง อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ ทีมวิจัยได้ลงพื้นที่ศึกษา การออกแบบผลิตภัณฑ์เป็นรูปแบบเดิมที่ได้รับการสืบทอดมาตั้งแต่รุ่นพ่อแม่ การทอผ้าด้วยกี่เอวและนำผืนผ้าที่ได้มาตัดเย็บให้เกิดเป็นเครื่องนุ่งห่ม นำลูกเดือยที่เป็นพืชในพื้นที่มาตกแต่งบนผืนผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่เข้ามาให้ความรู้ในการสร้างผลงาน ด้านการทอผ้าซึ่งปัจจุบันมีการประยุกต์ใช้หูก (อุปกรณ์ทอผ้า) แทนที่กี่เอวแต่ก็ยังคงรักษาความเป็นเอกลักษณ์การทอผ้าด้วยกี่เอว และลวดลายผลิตภัณฑ์ได้เป็นอย่างดี ด้านการตลาด ผ้าทอกะเหรี่ยงบ้านค้างใจได้รับโอกาสนำเสนอผลิตภัณฑ์จากทางภาครัฐส่งเสริมสนับสนุนจัดเวทีแสดงสินค้า ในช่วง ๒-๓ ปีที่ผ่านมามีผู้สนใจเดินทางเข้ามาเยี่ยมชมและเลือกซื้อผลิตภัณฑ์มากยิ่งขึ้น ด้านการเรียนรู้และการถ่ายทอดความรู้โดยครอบครัวหรือเครือญาติ วิทยากรจากปราชญ์ชาวบ้าน กลุ่มสมาชิกผ้าทอ เพื่อน การออกแบบลวดลายได้มีการแลกเปลี่ยนแนวคิดกับกลุ่มเครือข่ายใกล้เคียง ในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ เช่น แม่ครูประนอม ทาแปง ที่ได้ให้คำปรึกษาทางด้านผ้าทอกับกลุ่มผ้าทอบ้านค้างใจ หน่วยงานราชการส่งวิทยากรเชี่ยวชาญด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์มาให้ความรู้ กระบวนการคิดและออกแบบการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์เพื่อให้ตอบรับกับความต้องการของคนร่วมสมัยและการหาพื้นที่ให้กับผ้าทอกะเหรี่ยงได้นำเสนอผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง ข ๒. การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะผ้าทอนำไปสู่การยกระดับรายได้สู่เศรษฐกิจชุมชนในกลุ่มจังหวัดล้านนา มุ่งให้กลุ่มผู้ผลิตผ้าทอกะเหรี่ยงเห็นความสำคัญของการนำภูมิปัญญาชาวบ้าน และทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่น มาพัฒนาลวดลายประยุกต์ในผืนผ้าให้เกิดแนวคิดใหม่ที่สร้างสรรค์และเกิดความสวยงามตามยุกต์สมัย สร้างมูลค่าของผลิตภัณฑ์ให้สูงขึ้น มีคุณภาพ มีจุดเด่น มีเอกลักษณ์ มีการพัฒนาท้องถิ่น สร้างชุมชนให้เข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ สร้างงาน สร้างรายได้ ตลอดจนได้รับมาตรฐานชุมชน พัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ชุมชนให้ได้รับการรับรองและแสดงเครื่องหมายการรับรอง เพื่อส่งเสริมด้านการตลาดของผลิตภัณฑ์ ให้เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคและสร้างความมั่นให้กับผู้บริโภคในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อยกระดับรายได้ให้สูงขึ้น ๓. การถ่ายทอดผลงานด้านศิลปะเชิงสร้างสรรค์ผ้าทอสู่เยาวชนและผู้สูงอายุในกลุ่มจังหวัดล้านนา เป็นการถ่ายทอดผลงานด้านศิลปะเชิงสร้างสรรค์ผ้าทอสู่เยาวชนและผู้สูงอายุในกลุ่มจังหวัดล้านนา โดยเริ่มต้นจากการเรียนรู้ในเรื่องของผ้าทอมือ ศิลปะ รูปแบบของผลิตภัณฑ์ แนวทางในการพัฒนาศิลปะในผืนผ้า การปฏิบัติออกแบบงานศิลปะบนผืนผ้า โดยนำความรู้ทางด้านศิลปะ วิถีชีวิตของชุมชน มาประยุกต์เพื่อออกแบบลวดลายผลิตภัณฑ์ กำหนดประเภทของผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ ที่ให้กลุ่มเป้าหมายออกแบบและปฏิบัติ เช่น ของใช้ในชีวิตประจำวัน เครื่องประดับ เครื่องนุ่งห่ม ผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าสำเร็จรูปและย่าม ผ้าคลุมโต๊ะ และการคัดเลือกผลงานที่มีความคิดสร้างสรรค์ สวยงาม และประเมินผลการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านศิลปะเชิงสร้างสรรค์ผ้าทอมือของเยาวชนและผู้สูงอายุในกลุ่มล้านนา คิดเห็นเกี่ยวกับความรู้ที่ได้รับจากการส่งเสริมการเรียนรู้ ด้านศิลปะเชิงสร้างสรรค์ผ้าทอมือของเยาวชนและผู้สูงอายุในจังหวัดล้านนาก่อนการอบรมและหลังการอบรม พบว่า มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑ โดยความรู้หลังการอบรมมีระดับความคิดเห็นมากกว่าก่อนการอบรม | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | การส่งเสริม | en_US |
dc.subject | การเรียนรู้ด้านศิลปะเชิงสร้างสรรค์ | en_US |
dc.subject | เยาวชนและผู้สูงอายุ | en_US |
dc.subject | กลุ่มจังหวัดล้านนา | en_US |
dc.title | การส่งเสริมการเรียนรู้ด้านศิลปะเชิงสร้างสรรค์ผ้าทอของเยาวชนและผู้สูงอายุในกลุ่มจังหวัดล้านนา | en_US |
dc.title.alternative | Promotion of learning Creative Arts of Woven Product of Youth and Aging in the Lanna Province Group | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2563-055ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมจิต ขอนวงค์.pdf | 8.49 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.