Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/519
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.author-, พระครูโสภณกิตติบัณฑิต-
dc.contributor.authorเรืองปัญญารัตน์, พระอนุสรณ์-
dc.contributor.authorผาสุก, พระมหาฐิติพงษ์-
dc.contributor.authorสุขไมตรี, พรสวรรค์-
dc.contributor.authorโชติรัตน์, สรัญญา-
dc.date.accessioned2022-03-21T03:00:48Z-
dc.date.available2022-03-21T03:00:48Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/519-
dc.description.abstractแผนงานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ความรู้และพัฒนานวัตกรรมการป้องกันและการเสริมสร้างสุขภาพของพระสงฆ์เกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรังแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในภาคเหนือ 2) เพื่อป้องกันและเสริมสร้างสุขภาพของพระสงฆ์เกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและประเมินประสิทธิผลของนวัตกรรมการป้องกันและการเสริมสร้างสุขภาพสุขภาพของพระสงฆ์เกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรังแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในภาคเหนือ 3) เพื่อจัดการองค์ความรู้การป้องกันและการเสริมสร้างสุขภาพสุขภาพของพระสงฆ์เกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรังแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในภาคเหนือ 4) เพื่อเสนอเป็นนโยบายสาธารณะต่อองค์กรภาครัฐ เอกชน และชุมชนในการป้องกันและการเสริมสร้างสุขภาพสุขภาพของพระสงฆ์เกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรังแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในภาคเหนือ เป็นการวิจัยแบบวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ทั้งวิจัยในเชิงเอกสาร และการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In–depth Interviews) จากผู้ให้ข้อมูลสาคัญ (Key Informant) คือ ผู้รักษาการเจ้าคณะภาค เจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะอาเภอ เจ้าคณะตาบล เจ้าอาวาส พระสงฆ์ และผู้เกี่ยวข้อง ของจังหวัดแพร่และน่าน จานวน 32 รูป/คน ได้แก่ จังหวัดแพร่ 23 รูป/คน และจังหวัดน่าน 9 รูป/คน และการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) จากผู้ให้ข้อมูลสาคัญ ได้แก่ผู้บริหารสาธารณสุข พระสงฆ์ เจ้าหน้าที่ของรัฐ จานวน 32 รูป/คน โดยมีจังหวัดแพร่ 20 รูป/คน และจังหวัดน่าน 12 รูป/คน การวิจัยและพัฒนาเพื่อพัฒนานวัตกรรมชุดความรู้ฯ การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) โดยดาเนินการจัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการโดยการอบรม กลุ่มตัวอย่างอย่างที่เป็นพระสงฆ์ทั้งในจังหวัดแพร่ จานวน 100 รูป และจังหวัดน่าน จานวน 100 รูป รวม 200 รูป โดยใช้วิธีการกาหนดกลุ่มตัวอย่างตามสัดส่วนของแต่ละจังหวัดในพื้นที่ 2 จังหวัด โดยวิธีสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบโควต้า (Quota Sampling) และการสัมมนาวิชาการพระสงฆ์ จานวน 100 รูป วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาความ ส่วนในเชิงปริมาณวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ข 1.องค์ความรู้ที่สาคัญสรุปได้ดังนี้ 1) สถานการณ์โรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่นับวันพระสงฆ์จะป่วยเป็นโรคนี้เพิ่มมากขึ้นและพระสงฆ์ขาดความรู้ในการดูแลสุขภาพอย่างถูกวิธี ปัญหาด้านการฉันอาหาร ปัญหาด้านพฤติกรรมการออกกาลังกาย 2) โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นโรคที่พบบ่อยและพระสงฆ์มีปัญหาสุขภาพที่สาคัญ มี 4 โรค คือ โรคอ้วนลงพุง โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน 3) การป้องกันและการเสริมสร้างสุขภาพของพระสงฆ์ด้วยการให้ความรู้ การจัดทาสื่อในรูปสื่อดิจิดอล และการสร้างเครือข่ายในการป้องกันและสร้างเสริมสุขภาพ และผลจากการพัฒนานวัตกรรมพบว่าได้ชุดความรู้การป้องกันและการเสริมสร้างสุขภาพของพระสงฆ์เกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรังแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในภาคเหนือ ซึ่งเป็นนวัตกรรมเชิงกระบวนการในการป้องกันและเสริมสร้างสุขภาพของพระสงฆ์เกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อโดยการพัฒนากระบวนการตามหลัก PDCA 2. การป้องกันและเสริมสร้างสุขภาพของพระสงฆ์เกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรังทั้ง 4 โรค คือ โรคภาวะอ้วนลงพุง โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน พระสงฆ์ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ใช้หลัก 3อ 3ส ให้งดรับประทานอาหารหวาน มัน และเค็ม และยาบางชนิด งดดื่มสุรา ไม่เครียด ออกกาลังกายอย่างสม่าเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ และพระสงฆ์มีความรู้ในการป้องกันและการเสริมสร้างสุขภาพของพระสงฆ์ด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หลังจากได้รับฟังการถวายความรู้มีค่าเฉลี่ยดีขึ้นทุกโรค 3. ก่อนการจัดการความรู้พระสงฆ์มีปัญหาคือ 1. พระสงฆ์ไม่มีความรู้เรื่องโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ไม่ตระหนักถึงโรคเหล่านี้ ไม่มีการตรวจสุขภาพ 2. พระสงฆ์มีศาสนกิจมาก จึงไม่มีเวลาในการออกกาลังกาย ไม่สามารถเลือกรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพได้ และ 3. ความเชื่อ และค่านิยม ของชุมชน และหลังจากได้พัฒนาการจัดการองค์ความรู้การป้องกันและการเสริมสร้างสุขภาพด้านโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของพระสงฆ์แล้วพระสงฆ์มีการตื่นรู้เรื่องโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และให้ความสาคัญของโรคนี้ มากขึ้น และได้กระบวนการในการเสริมสร้างเครือข่ายในการป้องกันและการเสริมสร้างสุขภาพด้านโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของพระสงฆ์ที่สาคัญคือ 1.การเพิ่มสมรรถนะแห่งตน 2.การสร้างบุคคลต้นแบบ 3.สร้างสื่อที่ทันสมัย และ 4.การสร้างข้อตกลงร่วมกัน 4. การนาเสนอนโยบายในการป้องกันและการเสริมสร้างสุขภาพสุขภาพของพระสงฆ์เกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรังแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในภาคเหนือ กาหนดให้มีนโยบายการป้องกันและการเสริมสร้างสุขภาพสุขภาพของพระสงฆ์เกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอย่างชัดเจนในการจัดทาแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการในการป้องกันและเสริมสร้างสุขภาพของพระสงฆ์ในระดับภาค ระดับจังหวัด ให้เกิดเป็นรูปธรรมร่วมกับภาคีเครือข่ายในภาคเหนือได้เข้ามามีส่วนร่วมตามธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ พ.ศ. 2560en_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectโรคไม่ติดต่อเรื้อรังen_US
dc.subjectการป้องกันและเสริมสร้างสุขภาพen_US
dc.subjectการมีส่วนร่วมen_US
dc.subjectภาคีเครือข่ายen_US
dc.titleโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง : การป้องกันและเสริมสร้างสุขภาพของพระสงฆ์แบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในภาคเหนือen_US
dc.title.alternativeNon-Communicable Disease : Health Promotion and Disease Prevention of Buddhist Monks by Network’s Participation in the North of Thailanden_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2563-053พระครูโสภณกิตติบัณฑิต,ผศ.ดร..pdf9.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.