Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/517
Title: การศึกษาแนวคิด ความเชื่อและหลักการปฏิบัติเพื่อความสุขของกลุ่มชาติพันธ์ ในกลุ่มจังหวัดสนุก
Other Titles: Study of Concept, Belief and Practice for happiness of The Ethnic Groups in the SNM Provinces’ Cluster
Authors: -, พระครูศรีปริยัติการ
Keywords: ญ้อ
ความสุข
ความเชื่อ
Issue Date: 2560
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องความสุข ๒) เพื่ออธิบายความเชื่อเกี่ยวกับความสุขและ ๓) เพื่อวิเคราะห์หลักการปฏิบัติเพื่อความสุขของชนเผ่าไทยญ้อในกลุ่มจังหวัดสนุก ได้แก่ ไทย้อบ้านโพน จังหวัดนครพนม ไทย้อบ้านกลาง จังหวัดสกลนคร ไทย้อบ้านเจริญสุข จังหวัดมุกดาหาร โดยการวิจัยเชิงคุณภาพวิเคราะห์เอกสารและสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informant) ข้อมูลในพื้นที่วิจัยจังหวัดละ ๑๕ รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า หลักแนวคิด ความเชื่อและหลักปฏิบัติเพื่อความสุขของชนเผ่าไทยญ้อ ในกลุ่มจังหวัดสนุก ได้แก่ สกลนคร นครพนมและมุกดาหาร มีความพันธ์กันในแง่ความเชื่อของชนเผ่าไทยญ้อทั้งสามกลุ่มมีความเป็นลักษณะเฉพาะ ได้แก่ ความเชื่อการตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัยใกล้แม่น้้า ความเชื่อและหลักปฏิบัติเพื่อความสุข เช่น การมีพ่อสื่อแม่สื่อที่เป็นหน่วยสังคมในการประคับประคองชีวิตครอบครัวของบุคคลที่ตนเองสื่อ ความเชื่อเรื่องหลักบ้านหรือหลักเมือง อัตลักษณ์ส้าคัญของชนเผ่าไทยญ้อคือภาษาและการแต่งกาย ความเชื่อดังกล่าวน้าไปสู่ความสุข ได้แก่ การมีสุขภาวะโดยเฉพาะด้านจิตใจที่ยึดมั่นในจารีตประเพณี ความศรัทธาในประเพณีสร้างแรงบันดาลใจและความเบิกบาน ความเชื่อเรื่องผีหลักเมือง การสร้างสังคมเข้มแข็ง การเชื่อเรื่องผีปู่ตาสร้างการรักษาสิ่งแวดล้อม การเชื่อผู้อาวุโสเป็นการสร้างระบบการให้ความร่วมมือในกิจกรรมของคนในชุมชน และอัตลักษณะทางประเพณีในปัจจุบัน ได้พัฒนาเป็นฐานเศรษฐกิจชุมชนคือการท่องเที่ยว ดังนั้น หลักความเชื่อและการปฏิบัติของชนเผ่าไทยญ้อเป็นฐานการสร้างความสุขในชนเผ่าไทยญ้อได้
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/517
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2560-130พระครูศรีปริยัติการ.pdf2.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.