Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/514
Title: การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดชลบุรีตามแนวพระพุทธศาสนา
Other Titles: The Development Quality of Life of the Elderly on base Buddhist in Chonburi Province
Authors: พิทักราษฎร์, เขมจิรา
Keywords: ผู้สูงอายุ
คุณภาพชีวิต
ไตรสิกขา
แนวพระพุทธศาสนา
จังหวัดชลบุรี
Issue Date: 2560
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดชลบุรี เพื่อนาข้อมูลมาพัฒนารูปแบบกิจกรรมส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดชลบุรี ตามแนวพระพุทธศาสนา และทาการศึกษาผลการพัฒนารูปแบบกิจกรรมส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดชลบุรี ตามแนวพระพุทธศาสนา ได้แก่ การวิเคราะห์กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่มีอายุ ๖๐ ปีขึ้นไป ที่พักอาศัยในอาเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี จานวน ๓๐ คน ได้จากการคัดเลือกแบบเจาะจง ใช้ระยะเวลาในการทดลองกิจกรรมที่สร้างขึ้น ๑๖ สัปดาห์ เครื่องมือในการวิจัยโดยใช้แบบวัดระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ขององค์การอนามัยโลกชุดย่อฉบับภาษาไทย (WHOQOL–BREF–THAI) และใช้การสัมภาษณ์เพื่อติดตามผลการก่อนและหลังกิจกรรมส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดชลบุรี ตามแนวพระพุทธศาสนาผลการวิจัยพบว่า ๑. ปัญหาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ จะเป็นปัญหาทางกายหรือปัญหาทางจิตใจ ๒. ผลของการพัฒนากิจกรรมส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายในจังหวัดชลบุรี ตามแนวพระพุทธศาสนา แบ่งกิจกรรมออกเป็น ๓ กิจกรรมหลัก ประกอบด้วย กิจกรรมฐานศีล กิจกรรมฐานสมาธิ และกิจกรรมฐานปัญญา ๓. ระดับคุณภาพของผู้สูงอายุที่พักอาศัยอยู่ในจังหวัดชลบุรี ก่อนการใช้กิจกรรมส่งเสริมคุณภาพชีวิตตามแนวพระพุทธศาสนา โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (= ๒.๗๓) หลังการใช้กิจกรรมส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุตามแนวพระพุทธศาสนา โดยรวมอยู่ในระดับดี (= ๓.๕๘) ๔. การคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดชลบุรีโดยรวม พบว่า ระดับคุณภาพชีวิตก่อนและหลังใช้กิจกรรมส่งเสริมคุณภาพชีวิตโดยใช้หลักไตรสิกขาแตกต่างกัน โดยหลังใช้กิจกรรมส่งเสริมคุณภาพชีวิตโดยใช้หลักไตรสิกขาที่พัฒนาขึ้นมีระดับคุณภาพชีวิตสูงกว่าก่อนใช้กิจกรรมอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ระดับคุณภาพชีวิตทั้งด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านสัมพันธภาพทางสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม ก่อนใช้กิจกรรมและหลังใช้กิจกรรมส่งเสริมคุณภาพชีวิตตามแนวพระพุทธศาสนา แตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/514
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2560-282นางสาวเขมจิรา พิทักราษฎร์.pdf2.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.