Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/511
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ผกาทอง, กิตติทัศน์ | - |
dc.date.accessioned | 2022-03-21T02:29:50Z | - |
dc.date.available | 2022-03-21T02:29:50Z | - |
dc.date.issued | 2560 | - |
dc.identifier.uri | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/511 | - |
dc.description.abstract | การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบทบาทของพระสงฆ์กับการพัฒนาสังคม ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเศรษฐกิจแนวพุทธในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนล่าง 2) ศึกษาวิเคราะห์บทบาทพระสงฆ์ในการพัฒนาสังคมสู่ความสมดุล มั่นคง และยั่งยืน ตาม แนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และ 3) ศึกษาวิเคราะห์ ปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับการพัฒนาสังคมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของพระสงฆ์ใน พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ดาเนินการวิจัยโดยวิธีสารวจ การแจกแบบสอบถาม และการ สัมภาษณ์จากกลุ่มตัวอย่างจานวน 396 และนาข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ เพื่อหาค่าความถึ่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้สูตรจากโปรแกรม Microsoft Excel ผลการวิจัยพบว่า 1) บทบาทของพระสงฆ์กับการพัฒนาสังคมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและ เศรษฐกิจแนวพุทธในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ได้ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.12 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน หลักพุทธธรรมเกี่ยวกับศีล 5 ได้ ค่าเฉลี่ยมากที่สุด เท่ากับ 4.13 2) บทบาทพระสงฆ์ในการพัฒนาสังคมสู่ความสมดุล มั่งคั่ง และยั่งยืน ตามแนวปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ได้ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.08, 2.99 และ 2.92 ตามลาดับ และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน 3) ปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับการพัฒนาสังคมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ได้ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.06 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมาก ทุกด้าน ข จากการสัมภาษณ์พบว่า พระสงฆ์พัฒนาสังคมตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงโดยนาหลัก พุทธธรรมมาอบรมประชาชนประกอบด้วย 1) ไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ และ ปัญญา เป็นการปฏิบัติ ตนที่แสดงออกทางกายในเรื่องความพอประมาณด้วยความสันโดษ แสดงออกทางใจในเรื่องความมี เหตุผลด้วยโยนิโสมนสิการ และแสดงออกทางปัญญา ในเรื่องการมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตนด้วยอัปปมาท ธรรม 2) ทิฏฐธัมมิกัตถะ คือ อุฏฐานะสัมปทา ทาการงานประกอบอาชีพด้วยความขยันหมั่นเพียร อา รักขสัมปทา รักษาทรัพย์สินที่หามาได้ กัลยาณมิตตตา หมายถึง การรู้จักคบคนดีหรือมีกัลยาณมิตร และสมชีวิตา หมายถึง ความเป็นอยู่สมดุล คือเลี้ยงชีพแต่พอดี ไม่ให้ฟุ่มเฟือย เป็นข้อปฏิบัติสาคัญ ที่ ทาให้เกิดผล คือ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ทาให้มีทรัพย์สินเงินทอง พึ่งตนเองได้ เรียกว่า ธรรมที่ เป็นไปเพื่อประโยชน์ปัจจุบัน นอกจากนี้ในเชิงปฏิบัติการพระสงฆ์เป็นผู้นาชุมชนในการอนุรักษ์ป่าและ สิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างทรัพยากรป่าไม้ให้เกิดความสมดุล มั่นคง และยั่งยืน ด้านปัญหาและอุปสรรคใน การพัฒนาสังคมตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงคือ บุคลากร องค์ความรู้ ทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้ง นโยบายและงบประมาณ | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | บทบาทพระสงฆ์ | en_US |
dc.subject | การพัฒนาสังคม | en_US |
dc.subject | หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง | en_US |
dc.title | บทบาทพระสงฆ์กับการพัฒนาสังคมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง | en_US |
dc.title.alternative | The Roles of Buddhist Monks and Social Development based on the Principle of Sufficiency Economy Philosophy | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2560-371รศ.ดร.กิตติทัศน์ ผกาทอง.pdf | 5.83 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.