Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/500
Title: การปฏิบัติและการสอบอารมณ์กรรมฐานตามหลักพระพุทธศาสนาเถรวาท ในประเทศสมาชิกอาเซียน
Other Titles: The Practice and Examination of Theravada Meditation in ASEAN Community
Authors: วิริยธมฺโม, พระมหาปราโมทย์
Keywords: การปฏิบัติ
การสอบอารมณ์
กรรมฐาน
พระพุทธศาสนาเถรวาท
อาเซียน
Issue Date: 2559
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อศึกษาการปฏิบัติและแนวทางการสอบอารมณ์ กรรมฐานตามหลักพระพุทธศาสนาเถรวาท เพื่อศึกษาการปฏิบัติและการสอบอารมณ์กรรมฐานใน ประเทศสมาชิกอาเซียน และเพื่อวิเคราะห์ความสอดคล้องการปฏิบัติและการสอบอารมณ์กรรมฐานที่ เหมาะสมกับประเทศสมาชิกอาเซียน งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวิธีดำเนินการวิจัยคือ ศึกษาวิเคราะห์หลักการปฏิบัติและการสอบอารมณ์กรรมฐานในพระไตรปิฎก อรรถกถา และเอกสาร ที่เกี่ยวข้อง จากนั้น รวบรวมข้อมูลจากพื้นที่ของการวิจัย สัมภาษณ์ สังเกตและนำข้อมูลที่ได้มา วิเคราะห์ให้เห็นประเด็นสำคัญ สรุป บรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า กรรมฐานเป็นกระบวนพัฒนาชีวิตตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าโดย เน้นไปที่การทำให้จิตสงบ (สมถะ) และรู้แจ้งความจริง (วิปัสสนา) กรรมฐานจึงมี ๒ อย่างคือ สมถะ และวิปัสสนา สมถะคือการเพ่งอารมณ์ให้จิตเป็นเอกัคคตา ส่วนวิปัสสนาคือการใช้สติและสัมปชัญญะ รู้แจ้งความเป็นไตรลักษณ์ของขันธ์ห้าในฐานะของสรรพสิ่งในลักษณะของรูป-นาม อารมณ์สมถกรรม ฐานมี ๔๐ มีกสิณ เป็นต้น ส่วนวิปัสสนามีอารมณ์พิจารณา ๖ มีขันธ์ ๕ เป็นต้น ส่วนการสอบอารมณ์ คือกระบวนการสนับสนุนให้การเจริญวิปัสสนาพัฒนาและดำเนินไปสู่เป้าหมายคือญาณระดับต่าง ๆ ได้ การสอบอารมณ์เกี่ยวข้องกับหลักโพธิปักขิยธรรมและญาณ ๑๖ การเจริญกรรมฐานเป็นหลักคำ สอนที่สำคัญที่สุดที่ชาวพุทธได้ปฏิบัติสืบทอดมาแต่สมัยโบราณและถือเป็นมรดกทางจิตวิญญาณของ พระพุทธศาสนากระทั่งปัจจุบันเพราะเป็นหนทางดับทุกข์ การปฏิบัติและการสอบอารมณ์กรรมฐานในประเทศสมาชิกอาเซียนพบว่า ประเทศไทยมี หลักการปฏิบัติกรรมฐานอยู่ ๕ แบบหลัก คือ (๑) กรรมฐานแบบพอง-ยุบ ที่นำเข้ามาจากพม่าโดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร) ให้กำหนดรู้อาการ พองหนอ-ยุบหนอ ของท้องในอิริยาบถ ทั้ง ๔ การสอบอารมณ์กรรมฐานจะสอบอยู่ในกรอบมหาสติปัฏฐาน ๔ (๒) กรรมฐานแบบพุท-โธ ตาม แนวหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต เน้นการทำสมถะโดยการพิจารณากายคตาสติภาวนา บริกรรมว่า พุท-โธ รู้ ลมหายใจเข้า-ออก จนจิตเป็นหนึ่งแล้วจึงพิจารณาให้เห็นไตรลักษณ์ ไม่มีการสอบอารมณ์แต่เทศนา ธรรม (๓) กรรมฐานแบบสัมมา-อะระหังตามแนวพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสาโร) บริกรรมว่า สัมมาอะระหัง ต้องรู้ฐาน ๗ และ ๕ ศูนย์ แล้วกำหนดดวงนิมิตที่ฐานที่ ๗ จนจิตเห็นดวงแก้วใส ซึ่ง เป็นที่ตั้งของการพิจารณากาย เวทนา จิต และธรรม ไม่มีการสอบอารมณ์ (๔) กรรมฐานแบบ เคลื่อนไหว ตามแนวหลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ ใช้สติกำหนดรู้เท่าทันความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ของ ร่างกาย โดยไม่ต้องใส่คำบริกรรมและไม่ยึดติดกับรูปแบบเดิม เช่น การนั่งหลับตานิ่ง เป็นต้น ไม่ใช้คำ บริกรรม จนจิตรู้เท่าทันความคิดปรุงแต่งทั้งหลายตลอดเวลา มีการสอบอารมณ์โดยการควบคุมบอก ทางผิด (คิด) ถูกคือ รู้ทันความคิด (๕) กรรมฐานแบบอานาปานสติตามแนวพุทธทาสภิกขุ เน้นการ พัฒนาจิตเพื่อการบรรลุมรรค ผล นิพพาน โดยการมีสติกำหนดตามติดลมหายใจเข้าออก การปฏิบัติ กรรมฐานแนวเจริญอานาปานสติ ไม่มีการสอบอารมณ์ ประเทศเมียนม่าร์มี ๓ แบบคือ ๑) สำนัก กรรมฐานของพระโสภณมหาเถระ (มหาสีสยาดอ) แนวการเจริญวิปัสสนาภาวนาด้วยการกำหนดรู้ แบบพองยุบ ดูการทำงานของจิตทางทวารทั้ง ๖ เน้นสติปัฏฐาน ๔ มีการสอบอารมณ์กรรมฐานอย่าง เป็นระบบ ๒) สำนักกรรมฐานของอาจารย์โกเอ็นก้าไม่มีขั้นตอนที่ซับซ้อนและไม่มีพิธีกรรมมา เกี่ยวข้อง เพียงแต่ผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน พึงกำหนดรู้ในสติปัฏฐาน ๔ อย่างใดอย่างหนึ่ง ๓) ศูนย์ ปฏิบัติธรรมนานาชาติ พะอ๊อก ตอยะ เป็นการปฏิบัติสมถะภาวนาที่เน้นไปในเรื่องการดูธาตุมนสิการ เป็นหลัก โดยภาวลักษณะของธาตุ ๔ แล้วกำหนดธาตุเหล่านั้นโดยเป็นสักแต่ว่าธาตุ คือ ให้ผู้ปฏิบัติ กำหนดรู้ด้วยญาณ ในประเทศกัมพูชามีศูนย์กลางคือสำนักพุทธมณฑลวิปัสสนาธุระเน้นการเจริญ วิปัสสนากรรมฐานในปะเทศกัมพูชาไม่แยกกันแต่เริ่มต้นด้วยการเจริญสมถกรรมฐานโดยมุ่งเน้นไปที่ กรรมฐาน ๔๐ มีกสิณเป็นต้นเพื่อให้ได้ปฐมฌานจนถึงปัญจมฌานแล้วจึงเจริญวิปัสสนากรรมฐานโดย ใช้อนุสติกรรมฐาน มีการเรียนการสอนกรรมฐานอย่างเป็นระบบ การสอบอารมณ์ไม่มีอย่างเป็นระบบ แต่ใช้วิธีการสนทนา หรือการเรียนถามพระวิปัสสนาจารย์ ส่วนประเทศลาวมีสำนักกรรมฐานหลักคือ แนวคำสอนของพระอาจารย์มหาปาน อานนฺโท เน้นการปฏิบัติแบบติง-เซา (ไหว-นิ่ง) เพื่อรู้ทันปรมัตถ ธรรมในอิริยาบถ ๔ และอิริยาบถย่อย ๆ ด้วยสติสัมปชัญญะ จากนั้นพระอาจารย์มหาซาลี กนฺตสีโลได้ สืบต่อและพัฒนาเป็นศูนย์กลางของการอบรมวิปัสสนา จนมีสำนักปฏิบัติวิปัสสนากระจายไปทั่ว ประเทศลาว เน้นการพิจารณาขันธ์ห้า ให้เห็นปรมัตถธรรมตามหลักอภิธรรมปิฎก การสอบอารมณ์ไม่ เป็นทางการเน้นการแก้ไขตามญาณ ๑๖ และตรงต่อหลักมหาสติปัฎฐาน ๔ การสอดคล้องของการปฏิบัติและการสอบอารมณ์กรรมฐานกับหลักการที่ปรากฏในคัมภีร์ พระพุทธศาสนาเถรวาทพบว่า ทุกสำนักปฏิบัติกรรมฐานมีความสอดคล้องกับหลักคำสอนที่ปรากฏใน คัมภีร์พระไตรปิฎกและคัมภีร์สำคัญของพระพุทธศาสนาเถรวาท ความแตกต่างกันอยู่ที่เทคนิคของ อาจารย์ในแต่ละสำนักได้ศึกษาและปฏิบัติมาด้วยประสบการณ์ของตนเอง จนเกิดเป็นสติปัญญาแล้ว นำหลักการดังกล่าวมารวบรวม วิเคราะห์และทำการสั่งสอนเผยแผ่เพื่อให้เข้าถึงความดับทุกข์ตาม หลักการของพระพุทธศาสนาเถรวาท หลักธรรมทั้งสมถะและวิปัสสนาตั้งอยู่บนคำสอนเรื่องมหาสติ ปัฏฐาน อาจารย์จะเป็นกัลยาณมิตรต่อผู้ปฏิบัติหรือลูกศิษย์ด้วยเมตตาและปัญญาเพื่อช่วยเหลือให้ผู้ ปฏิบัติได้รู้แจ้งจนพ้นทุกข์ทั้งปวงตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/500
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2559-047 พระมหาปราโมทย์ วิริยธมฺโม.pdf6.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.