Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/497
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorกันทะสัก, มานิตย์-
dc.date.accessioned2022-03-19T07:48:20Z-
dc.date.available2022-03-19T07:48:20Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/497-
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยเรื่อง พุทธศิลปกรรมล้านนา: แนวคิด คุณค่า การสร้างสรรค์เพื่อเสริมสร้าง จิตวิญญาณและการเรียนรู้ของสังคม มีวัตถุประสงค์ ๔ ประการ ได้แก่ ๑. เพื่อศึกษาแนวคิด กระบวนการสร้างสรรค์และภูมิปัญญาของพุทธศิลปกรรมในล้านนา ๒. เพื่อศึกษาเทคนิค และ กระบวนการแห่งภูมิปัญญาล้านาการสร้างสรรค์อัตลักษณ์ทางพุทธศิลปกรรม ๓. เพื่อวิเคราะห์และ ประยุกต์ใช้กระบวนการสร้างสรรค์พุทธศิลปกรรม กับการเสริมสร้างการเรียนรู้ของชุมชนในล้านนา และ ๔. เพื่อสร้างสรรค์ผลงานพุทธศิลปกรรมร่วมสมัยบนฐานแห่งภูมิปัญญาพุทธศิลปกรรมล้านนา กับคุณค่าทางศิลปะและจิตวิญญาณแห่งการเรียนรู้ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) โดยใช้วิธีวิทยาวิจัยการ แบบผสมผสานทั้งการศึกษาในเชิงเอกสาร (Documentary Study) การศึกษาเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ในภาคสนาม (Field Study)และการปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม จากการศึกษาพบว่า แนวคิดคุณค่า ภูมิปัญญาและอัตลักษณ์ของกระบวนการสร้างสรรค์ พระพุทธรูปไม้ล้านนาสู่การเรียนรู้ของสังคมนั้น มาจากการเลือกชนิดของไม้ที่จะนามาแกะ พระพุทธรูป สะท้อนให้เห็นถึงความผูกพันธุ์ระหว่างคนในล้านนากับธรรมชาติให้เป็นหนึ่งเดียวกัน ด้วย การผูกแนวความคิดกับคติที่จะนาชนิดของไม้นั้นๆ มาสร้างพระพุทธรูป คือ อานิสงส์ ของการนาไม้แต่ ละชนิดมาสร้างแตกต่างกันไป การศึกษาลายประดับกระจก แนวคิด คุณค่าในงานศิลป์เพื่อการเรียนรู้และสืบทอดภูมิ ปัญญาของเทคนิคช่างล้านนาพบว่าเทคนิคกระบวนการและลวดลายประดับกระจก มีเทคนิค กระบวนการที่คล้ายๆกันคือส่วนใหญ่จะใช้วิธีการตอกตะปูลงบนกระจกจนทะลุไปติดกับพื้นผนังที่เป็น ไม้ และอีกวิธีคือการปะติดกระจกลงไปบนปูนปั้นขณะที่ปูนปั้นยังไม่แห้ง กระจกสีที่ใช้เป็นกระจกจืน หรือกระจกแก้วจืน การศึกษาเส้นและสี คุณค่า อารมณ์ ความรู้สึกในงานจิตกรรมล้านนา องค์ความรู้เพื่อ เสริมสร้างเรียนรู้สู่สังคมพบว่า จากเทคนิคกระบวนการของสีที่ช่างพุทธะศิลปกรรมล้านนาโบราณได้ใช้ นั้นเป็นสีจากสีฝุ่นทาจากธรรมชาติ ซึ่งจะได้อารมณ์ของสีจากธรรมชาติ การศึกษาพุทธจักรวาลวิทยา แนวคิด คติความเชื่อ ระบบสัญลักษณ์แบบอุดมคติไทยสู่การ สร้างสรรค์ในงานพุทธศิลปกรรมไทยร่วมสมัยพบว่าพุทธจักรวาลวิทยา ส่วนใหญ่แล้วทุกคนมุ่งเน้นไปยัง เรื่องราวเกี่ยวกับคติความเชื่อในไตรภูมิ ที่แบ่งไว้เป็นภพภูมิไว้อย่างชัดเจน ผู้คนมักจะเข้าใจได้ง่ายๆ ถึงการ เวียนว่ายตายเกิด เพราะเป็นของใกล้ตัวและสามารถเข้าใจได้ถึงความเป็นจริงของสรรพสิ่ง โดยเฉพาะวัด เป็นศาสนสถานที่สอนให้เข้าใจถึงความเป็นจริง อีกทั้งเป็นสามารถเป็นที่พึ่งทางใจให้กับผู้ที่สนใจในการ ปฏิบัติธรรมและทาบุญ วัดจึงเป็นสถานที่ที่เป็นที่พึ่งให้กับผู้คนในสังคมen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectพุทธศิลปกรรมล้านนาen_US
dc.subjectแนวคิดen_US
dc.subjectคุณค่าen_US
dc.subjectการสร้างสรรค์en_US
dc.subjectการเรียนรู้ของสังคมen_US
dc.titleพุทธศิลปกรรมล้านนา: แนวคิด คุณค่า การสร้างสรรค์เพื่อเสริมสร้างจิตวิญญาณ และการเรียนรู้ของสังคมen_US
dc.title.alternativeLanna Buddhist Arts: Concepts, Value, and a creation to enhance the spirit and learning of societyen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2560-052 มานิตย์ กันทะสัก.pdf5.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.