Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/495
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorศรศักดา, สุพิมล-
dc.contributor.authorเขจรศาสตร์, เรืองเดช-
dc.contributor.authorบุญคำภา, นายเฉลิมสุข-
dc.date.accessioned2022-03-19T07:44:13Z-
dc.date.available2022-03-19T07:44:13Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/495-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาวิจัยแบบผสมผสาน (Mix Methodology Research) โดยใช้วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล ๒ รูปแบบคือ รูปแบบวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) โดยมีกลุ่มตัวอย่าง จำนวน ๒๕๐ คน โดยหาค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือตามวิธีการของครอนบาค ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปวิเคราะห์หา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และรูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นแบบแนวสัมภาษณ์ คำถามปลายเปิด (Open-ended questions) สัมภาษณ์ผู้บริหาร ครูผู้สอน อาจารย์และพระนิสิต จำนวน ๓๔ รูป/คน ผลการวิจัย พบว่า ๑. การศึกษาการพัฒนาองค์ประกอบและคุณลักษณะความเป็นพลเมืองดีของเยาวชนตามหลักพุทธธรรมของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน โดยรวมทุกด้าน อยู่ในระดับมาก ( = ๓.๙๗) คือด้านคุณลักษณะของความเป็นพลเมืองดีอยู่ในระดับมาก ( = ๓.๙๘) ด้านคุณสมบัติของพระสอนศีลธรรม อยู่ในระดับมาก ( = ๓.๙๑) ด้านกระบวนการเสริมสร้างจิตสำนึกความเป็นพลเมืองดี อยู่ในระดับมาก ( = ๓.๙๐) ๒. การวิเคราะห์การพัฒนาองค์ประกอบและคุณลักษณะความเป็นพลเมืองดีของเยาวชนตามหลักพุทธธรรมของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน ๒.๑ ด้านคุณลักษณะของครูผู้สอน ครูผู้สอนต้องมีทั้งความรู้ ควบคู่กับคุณธรรม มีหลักธรรมประจำใจ เป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ศิษย์ มีทักษะการสอนที่สร้างจิตสำนึกที่ดี และตระหนักในหน้าที่ตามหน้าที่พลเมือง มีความรู้ความสามารถเทคนิคและทักษะต่างๆ ในการถ่ายทอดวิชา มีบุคลิกภาพดี พูดจาไพเราะน่าฟังอารมณ์ดี มีความรอบรู้ระบบไอที มีทักษะในการใช้สื่อประกอบการสอน มีความจงรักภักดีต่อชาติศาสนาพระมหากษัตริย์มีความรับผิดชอบต่อตนเองต่อวิชาชีพและต่อสังคม มีวินัย มีความมั่นคงทางอารมณ์ มีองค์ความรู้ทั้งทางโลกและทางธรรม สามารถจัดกิจกรรมให้กับเยาวชนได้ ปฏิบัติได้ ต้องรู้จักวิเคราะห์ผู้เรียนเป็น การสร้างจิตสำนึกเป็นส่วนสำคัญเพราะการที่จะให้เป็นพลเมืองดีของชุมชนและสังคม มีหลักคิดตามแนวทางของระบอบประชาธิปไตย ๒.๒ ด้านคุณลักษณะความเป็นพลเมืองดีของเยาวชน คุณลักษณะของความเป็นพลเมืองดีของเยาวชน คือเป็นคนเก่ง มีจิตสาธารณะ เป็นคนดี มีคุณธรรม มีหลักธรรมประจำใจ มีความอ่อนน้อมถ่อมตน การรู้จักกาลเทศะการรู้จักสัมมาคารวะต่อผู้มีพระคุณจะต้องมีวินัย มีคุณธรรมจริยธรรมใฝ่เรียนรู้ มีความซื่อสัตย์เสียสละ ทำงานเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม มีความรักชาติศาสนาพระมหากษัตริย์และอดทนต่อสิ่งที่ยังมาไม่ถึง เป็นต้น ๒.๓ ด้านกระบวนการเสริมสร้างจิตสำนึกความเป็นพลเมือง การจัดการเรียนรู้สู่ความเป็นพลเมืองดีนั้นสถานบันการศึกษาเป็นสถานที่จัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกความเป็นพลเมืองของเยาวชน จัดโดยผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษาอื่น ดำเนินการภายใต้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ และยุทธศาสตร์การศึกษาของชาติ ๒.๔ ด้านการวิเคราะห์กระบวนการพัฒนาความเป็นพลเมืองดี กระบวนการพัฒนาความเป็นพลเมืองดี คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวพระพุทธศาสนาเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นเพราะความก้าวหน้าของวิทยาการ ถึงแม้การศึกษาของไทยมุ่งเน้นเพื่อให้ทุกคนมีความรู้ความสามารถมีทักษะเพื่อประโยชน์แห่งตนในการประกอบอาชีพตามศักยภาพ หลักพุทธธรรมจึงเป็นเครื่องมือในการสร้างความสมดุลของชีวิต กิจกรรมการเรียนรู้จึงต้องนำหลักธรรมในทางพระพุทธศาสนามาบูรณาการ เป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้และการพัฒนา เช่น หลักศีล ๕ หลักสังคหวัตถุ๔ หลักพรหมวิหาร ๔ เป็นต้นen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectการพัฒนาองค์ประกอบและคุณลักษณะen_US
dc.subjectความเป็นพลเมืองดีของเยาวชนตามหลักพุทธธรรมen_US
dc.subjectพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนen_US
dc.titleการพัฒนาองค์ประกอบและคุณลักษณะความเป็นพลเมืองดีของเยาวชนตามหลักพุทธธรรมของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนen_US
dc.title.alternativeThe Development Of The Component And The Characteristics Of Being The Youths Goods Citizens According To The Buddhist Principles By The Monks Teaching The Moralities In Schoolsen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2560-182 ผศ.สุพิมล ศรศักดา.pdf3.93 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.