Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/493
Title: ศูนย์การเรียนรู้ศิลปะแบบบายนจังหวัดบุรีรัมย์
Other Titles: Bayon Art Learning Centre of Buriram Province
Authors: หอมวัน, รุ่งสุริยา
อานนฺโท, พระมหาถนอม
พัฒนะสิงห์, ธนันต์ชัย
Keywords: ศูนย์การเรียนรู้
ศิลปะแบบบายน
จังหวัดบุรีรัมย์
Issue Date: 2562
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมแบบ บายน ๒) เพื่อพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมแบบบายนในจังหวัดบุรีรัมย์ ดาเนินการโดยวิธี วิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรคือปราสาทขอมศิลปะแบบบายนในเขตจังหวัดบุรีรัมย์ จานวน ๖ แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง ผลการวิจัย พบว่า ๑. จารึกปราสาทบายน ในจารึกปราสาทบายนพบที่ปราสาทบายนมี ๔ หลัก ในจานวน นั้นมีอยู่ ๒ หลักที่มีเนื้อความกล่าวถึงการประดิษฐานพระชัยพุทธมหานาถในเมืองซึ่งน่าจะหมายถึงชื่อ เมืองในภาคกลางของไทย เมืองดังกล่าวยังมีชื่อปรากฏอยู่ในจารึกปราสาทพระขรรค์ด้วยคือ จารึก หลักที่ ๒๙๓ ที่โคปุระด้านตะวันออก ทิศเหนือกล่าวถึงการประดิษฐานพระชัยพุทธมหานาถในเมือง ศรีชัยราชบุรี ซึ่งน่าจะหมายถึงเมืองราชบุรีและยังกล่าวถึงการมีพระโภษัชคุรุโวฑูรยประภา ณ เมืองนี้ ซึ่งพระโภษัชยคุรุไวฑูรยประภานี้ เป็นเทพเจ้าแห่งการรักษาโรค ซึ่งพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ทรงนิยม สร้างไว้คู่กับอโรคยาศาลเพื่อให้ทรงบาบัดรักษาผู้ป่วย และจารึกหลักที่ ๒๙๓ ที่โคปุระด้านตะวันออก ทิศเหนือเนื้อความกล่าวถึงการประดิษฐานพระชัยพุทธมหานาถในเมืองศรีชัยวัชรปุระ ซึ่งน่าจะ หมายถึงเมืองเพชรบุรีและยังกล่าวถึงการมีพระโภษัชยคุรุไวฑูรประภา ณ เมืองนี้ เช่นเดียวกัน ส่วนศิลปะแบบบายนที่พบในจังหวัดบุรีรัมย์ มี ๖ แห่ง ประกอบด้วย ๑) วิหาร ๒ หลัง ที่ปราสาทพนมรุ้ง คือวิหารใต้ และวิหารเหนือ ๒) ปราสาทหนองปล่อง อยู่ที่ ต.หนองปล่อง อ.ชานิ ๓) ปราสาทบ้านโคกปราสาท (โคกงิ้ว) อยู่ที่บ้านโคกงิ้ว ต.ปะคา อ.ปะคา ๔) กุฏิฤาษี (ปราสาทบ้านบุ) อยู่ในเขตโรงเรียนบ้านบุวิทยาสรรค์ บ้านบุ หมู่ที่ ๕ ต.จระเข้มาก อ.ประโคนชัย ๕) ปราสาทน้อย (กุฏิฤาษี) อยู่ที่บ้านโคกเมือง ต.จรเข้มาก อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์ ๖) ปราสาทหินกุฏิฤาษี (หนองบัวราย) อยู่ที่บ้านหน้าเขาพนมรุ้ง อ.เฉลิมพระเกียรติ ๒. เพื่อพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมแบบบายนในจังหวัดบุรีรัมย์ พบว่า คุณค่า และอิทธิพลของศูนย์การเรียนรู้ศิลปะแบบบายนที่มีต่อวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่น ในด้านการผสมผสาน องค์ความรู้ ทักษะและเทคนิคด้านการผสมผสานเทคโนโลยีในการดาเนินชีวิตและการประกอบอาชีพ ให้สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น มีกฎเกณฑ์การอยู่ร่วมกันในสังคม การรู้จักประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ข สมัยใหม่ มีอโรคยาศาลในชุมชน มีการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีกองทุนและธุรกิจ ชุมชน มีประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น, ศูนย์การเรียนรู้ศิลปะแบบบายนนาไปสู่การส่งเสริม กระบวนการเรียนรู้อย่างไม่เป็นทางการ การเรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิต ความสามัคคีของ คณะกรรมการ การจัดหางบประมาณเพื่อดูแลและพัฒนา จัดหาบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน สนับสนุนการ ดาเนินงาน การติดตามและประเมินการปฏิบัติงาน, ศูนย์การเรียนรู้ศิลปะแบบบายนเป็นแหล่ง เสริมสร้างโอกาสในการเรียนรู้ให้ชุมชน ด้วยการส่งเสริมและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ให้มีชีวิต การ ตอบสนองความต้องการการเรียนรู้ของชุมชน การส่งเสริมให้มีการพัฒนาและนานวัตกรรมมาใช้ การ เชื่อมโยงองค์ความรู้จากภายนอก แสวงหาฐานข้อมูลภาคีเครือข่าย สร้างแรงจูงใจให้เกิดการร่วม มี การระดมการใช้ทรัพยากรร่วมกัน และมีเครือข่ายสัมพันธ์, ศูนย์การเรียนรู้ศิลปะแบบบายนเป็นการ ถ่ายทอดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ให้เกิดประโยชน์ในด้านการพัฒนางาน ด้านการพัฒนาคน ด้าน การสร้างองค์ความรู้ และด้านการสร้างวัฒนธรรมการมีส่วนร่วม, ศูนย์การเรียนรู้ศิลปะบายนเป็น แหล่งบริการข้อมูลประวัติศาสตร์ของศิลปะแบบบายนในจังหวัดบุรีรัมย์ แหล่งบริการข้อมูล ประวัติศาสตร์ศิลปะแบบบายน ควรประกอบด้วย คน องค์ความรู้ สถานที่ และโครงสร้างพื้นฐานทาง เทคโนโลยี
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/493
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2562-045ดร.รุ่งสุริยา หอมวัน.pdf6.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.