Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/492
Title: การวิเคราะห์วาทกรรมโน้มน้าวใจ: กรณีศึกษาการรณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษา ของหน่วยงานรัฐในอาเภอเมือง จังหวัดน่าน
Other Titles: Persuasive Discourse Analysis: A Case Study of Alcohol Abstinence Campaign of the State Agencies during Buddhist Lent Period in Muang District, Nan Province
Authors: จารุมา, นางสาวบัณฑิกา
นันต๊ะ, นายสมคิด
Keywords: วาทกรรมโน้มน้าวใจ
การรณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษา
หน่วยงานรัฐในอาเภอเมือง จังหวัดน่าน
Issue Date: 2561
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาวาทกรรมโน้มน้าวใจที่หน่วยงานรัฐในอาเภอเมืองน่านใช้โน้มน้าวใจให้ประชาชนงดเหล้าช่วงเข้าพรรษา ๒) เพื่อวิเคราะห์เนื้อหา ภาษา และบริบททางสังคมของวาทกรรมนั้น และ ๓) เพื่อเสนอแนวทางการใช้วาทกรรมโน้มน้าวใจประชาชนให้ความร่วมมือในการงดเหล้าช่วงเข้าพรรษา โดยศึกษาวาทกรรมจากสื่อจานวน ๗๗ ชิ้นของหน่วยงานรัฐในอาเภอเมืองน่าน ๖ หน่วยงาน ผลการวิจัยพบว่า วาทกรรมถูกสื่อสารผ่านช่องทางการสื่อสาร ๔ ประเภท ได้แก่ สื่อภาครัฐ สื่อท้องถิ่น สื่อใหม่ และสื่อบุคคล โดยสื่อสารผ่านกรอบความคิด ๔ กรอบ ได้แก่ สุขภาพ การพัฒนาชุมชน วัฒนธรรม และกฎหมาย ส่วนเนื้อหาของวาทกรรมจาแนกได้ ๓ ประเด็น คือ ๑) การป้องกัน ๒) การสร้างแรงบันดาลใจ และ ๓) ผลกระทบที่เกิดขึ้น ด้านภาษาพบว่า มีการใช้โวหารโน้มน้าวใจ ๕ ประเภท ได้แก่ 1) บรรยายโวหาร 2) พรรณนาโวหาร 3) เทศนาโวหาร 4) สาธกโวหาร และ ๕) อุปมาโวหาร สาหรับบริบททางสังคมที่นามาใช้ประกอบการสื่อสารวาทกรรมโน้มน้าวใจ พบว่ามี ๖ ประการ ได้แก่ ๑) วัฒนธรรมชุมชน ๒) สภาพเศรษฐกิจ ๓) การศึกษา ๔) การรวมกลุ่มของประชาชน ๕) การสาธารสุข และ ๖) การคมนาคม จากเนื้อหาดังกล่าวผู้วิจัยเสนอแนวทางในการใช้วาทกรรมโน้มน้าวใจ ๔ แนวทาง ได้แก่ ๑) แนวทางกาหนดกรอบแนวคิดวาทกรรม แบ่งเป็น ๔ กรอบ ได้แก่ ๑.๑) วาทกรรมสุขภาพ: ควรบอกถึงปัญหาสุขภาพจากการดื่มเหล้า ๑.๒) วาทกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาชุมชน: ควรผนวกรวมการณรงค์เข้าสู่ยุทธศาสตร์และนโยบายของหน่วยงานรัฐและเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกาหนดแผนการนั้น ๑.๓) วาทกรรมเกี่ยวกับวัฒนธรรม: ควรผสมผสานแนวคิดการเลิกเหล้าเข้ากับวัฒนธรรมท้องถิ่น ๑.๔) วาทกรรมเกี่ยวกับกฎหมาย: ควรสื่อสารตรงไปยังผู้รับสารในรูปแบบของความเข้มงวดและสามารถใช้ควบคู่กับวาทกรรมวัฒนธรรม; ๒) แนวทางการใช้ช่องทางการสื่อสารที่ใช้สื่อสารวาทกรรม: ควรมีการสื่อสารทั้งแบบการสื่อสารทางเดียวและการสื่อสารสองทาง; ๓) แนวทางการใช้ภาษาและประเด็นเนื้อหาที่ใช้สร้างวาทกรรม: ควรใช้ประเภทของโวหารให้เหมาะสมกับจริตของผู้รับสารและเนื้อหาควรแสดงถึงผลกระทบด้านลบทั้งต่อชาติ สังคม และตนเอง; ๔) แนวทางการใช้บริบททางสังคมเป็นแรงเสริมในการสื่อสารวาทกรรม: ควรครอบคลุมบริบททั้ง ๖ ประการที่กล่าวในข้างต้นและเพิ่มบริบททางเศรษฐกิจ โดยภาพรวมการสื่อสารวาทกรรมของหน่วยงานรัฐนี้จัดเป็นการสื่อสารโน้มน้าวใจที่สมบูรณ์เพราะสอดคล้องตามลักษณะความหมายของหลักการโน้มน้าวใจทุกประการ
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/492
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2561-132 นางสาวบัณฑิกา จารุมา.pdf3.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.