Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/490
Title: การศึกษาแนวคิดและวิธีปฏิบัติของเครือข่ายบัณฑิตอาสาในภาคเหนือ
Other Titles: The study of the concept and ways of practice of pundit to volunteer in the northern part
Authors: สุริยะรังษี, สุนทรี
Keywords: แนวคิด
การปฏิบัติ
พุทธธรรม
การบูรณาการพุทธธรรม
Issue Date: 2560
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ ๑. เพื่อศึกษาแนวคิดและวิธีการปฏิบัติของเครือข่ายพระบัณฑิตอาสาในภาคเหนือ ๒. เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมในการปฏิบัติงานของเครือข่ายพระบัณฑิตอาสาในภาคเหนือ๓.เพื่อศึกษาการบูรณาการหลักพุทธธรรมมาใช้ในการปฏิบัติงานของพระบัณฑิตอาสาฯในภาคเหนือเป็นการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary)และการวิจัยแบบเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ที่เก็บรวบรวมข้อมูลในภาคสนาม โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) ที่ได้รวบรวมข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (Depth interview) จากเครือข่ายพระบัณฑิตอาสาทั้งหมด ๑๔ อาศรม ที่อยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ ๗ อาศรมและในจังหวัดเชียงราย ๗ อาศรม มีผลสรุป ดังนี้ แนวคิดและวิธีการปฏิบัติของเครือข่ายพระบัณฑิตอาสาฯในภาคเหนือ พบว่า พระบัณฑิตอาสามีความมุ่งมั่นในการพัฒนาชุมชนโดยยึดนักเรียนและชาวบ้านเป็นศูนย์กลาง,การอาศัยความร่วมมือของคนในชุมชนและหน่วยงานต่างๆ, การเสริมสร้างศรัทธาให้กับคนในชุมชน เช่น มีภาวะความเป็นผู้นา, วางตัวเสมอต้นเสมอปลาย, สารวมสมณะสารูป, มีความจริงใจต่อชาวบ้าน, มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี, การกระทาตามสัจจะ, แต่มีข้อสังเกตว่า พระบัณฑิตอาสายังขาดการประเมินผลกิจกรรมเพื่อที่จะนาไปพัฒนาปรับปรุงการปฏิบัติงานในปีต่อไป หลักพุทธธรรมในการปฏิบัติงานของเครือข่ายพระบัณฑิตอาสาฯในภาคเหนือ ได้แก่ พรหมวิหาร ๔, สังคหวัตถุ ๔, อิทธิบาท ๔, ความสามัคคี ,สติ , อริยสัจ ๔ , สัปปุริสธรรม ๗ ,ทศพิธราชธรรม ๑๐ความเพียรและความอดทน อดกลั้น การบูรณาการหลักธรรมมาใช้ในการปฏิบัติงานของพระบัณฑิตอาสาฯในภาคเหนือพบว่ามีการบูรณาการโดยได้นาหลักพุทธธรรมมาบูรณาการในการใช้ในการปฏิบัติงาน ๓ ด้าน คือ ๑.ด้านการบริหารตนได้นาหลักธรรม อิทธิบาท ๔, พรหมวิหาร ๔, สัจจะ , ขันติและสติ นามาบูรณาการใช้ในการฝึกฝน พัฒนาตนเองให้มีขึ้นในตนเอง ที่ก่อให้ผู้อื่นหรือผู้ร่วมงานเกิดความรัก ความเคารพและความศรัทธาในตัวพระบัณฑิตอาสา๒.ด้านการบริหารคนได้นาหลักธรรม สังคหวัตถุ ๔, ทศพิธราชธรรม ๑๐ และความสามัคคี มาบูรณาการในการบริหารงานกับบุคคลต่างๆ เพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวใจและครองใจคนให้เกิดความพร้อมเพียง ปรองดองและร่วมใจกัน อันจะนาไปสู่ความรักสามัคคีในหมู่คณะ ทาให้การปฏิบัติงานประสบความสาเร็จตามเป้าหมาย๓.ด้านการบริหารงานได้นาหลักธรรมอริยสัจ ๔, สัปปุริสธรรม ๗และอปริหานิยธรรม ๗ มาบูรณาการในการบริหารงาน แก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงาน และในการบริหารจัดการตามหลักการทางานที่ก่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้าในการทางาน
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/490
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2560-000 สุนทรี สุริยะรังษี.pdf2.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.