Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/489
Title: การท่องเที่ยวทางศาสนาและวัฒนธรรมของอีสานใต้ : ประวัติศาสตร์ เส้นทาง และการเสริมสร้างเครือข่ายในประชาคมอาเซียน
Other Titles: Religious and Cultural Tourism of the South East Region : History, Routes, and Network Strengthening in ASEAN Community
Authors: ศรีทอง, ธนู
ทองทิพย์, ทวีศักดิ์
สุทฺธจิตฺโต, พระมหาโชตนิพิฐพนธ์
เสริมทรัพย์, ปัญวลี
วงศ์ภักดี, ชายชาญ
-, พระครูสุเมธจันทสิริ
Keywords: การท่องเที่ยวทางศาสนาและวัฒนธรรมของอีสานใต้
ประวัติศาสตร์
เส้นทาง
การเสริมสร้างเครือข่าย
ประชาคมอาเซียน
Issue Date: 2560
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์และเส้นทางการท่องเที่ยวทางศาสนาและ วัฒนธรรมในอีสานใต้ เพื่อพัฒนาศักยภาพชุมชนและผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวทางศาสนาและ วัฒนธรรมในอีสานใต้ เพื่อพัฒนาศักยภาพในการสื่อสารภาษาอังกฤษของผู้ประกอบการท่องเที่ยวทาง ศาสนาและวัฒนธรรมในอีสานใต้ เพื่อเสริมสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยวทางศาสนาและวัฒนธรรมของ อีสานใต้กับประชาคมอาเซียน และเพื่อนาเสนอผลการวิเคราะห์ปัญหา ผลกระทบ และยุทธศาสตร์ การท่องเที่ยวทางศาสนาและวัฒนธรรมของอีสานใต้กับความร่วมมือทางเศรษฐกิจในประชาคม อาเซียน ใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสม เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร สังเกต สัมภาษณ์ และสนทนา กลุ่มย่อยกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก ๖ กลุ่ม จานวน ๔๙๙ รูป/คน ในเขตพื้นที่การวิจัย ๑๒ แห่ง ใน ภาค ตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างของประเทศไทย ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลแบบพรรณนา ผลการวิจัยมีข้อค้นพบ ดังต่อไปนี้ ๑) ประวัติศาสตร์และเส้นทางการท่องเที่ยว พบว่า อีสานใต้ คือ จังหวัดในพื้นที่ภาค ตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างของประเทศไทย มีพื้นที่แบ่งเป็น ๕ จังหวัด ได้แก่ จังวัดนครราชสีมา จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ และ อุบลราชธานี ตั้งอยู่ในดินแดนที่เรียกว่าที่ราบสูง มีกลุ่ม ชาติพันธุ์ชนเผ่าไทยในอีสานใต้ ๔ กลุ่มใหญ่ คือ (๑) กลุ่มชาติพันธุ์เขมร (๒) กลุ่มชาติพันธุ์กูย (๓) กลุ่มชาติพันธุ์ลาว (๔) กลุ่มชาติพันธุ์ไทยโคราช มีเส้นทางการท่องเที่ยวทางศาสนาศาสนาและ วัฒนธรรมตามแนวเส้นทางเทือกเขาพนมดงรักที่เชื่อมโยงกับองค์ประกอบของศาสนา เช่น ศาสดา หรือรูปเคารพ ศาสนธรรม ศาสนบุคคล ศาสนสถาน และศาสนพิธีกรรมทางศาสนาต่าง ๆ เช่น อุทยานมหาวิหารหรือมูลนิธิสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ปราสาทพิมายหรืออุทยาน ประวัติศาสตร์พิมาย ปราสาทพนมรุ้งหรืออุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ปราสาทเมืองต่า วัดเขาศาลา หรือพุทธอุทยานเขาศาลาอตุลฐานะจาโร วัดป่าอาเจียง (สุสานช้าง) วัดไพรพัฒนา (หลวงปู่สรวง) และวัดสิรินธรวนารามภูพร้าว ๒) การพัฒนาศักยภาพชุมชนและผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวทางศาสนาและ วัฒนธรรมในอีสานใต้ พบว่า มีแนวทางพัฒนาศักยภาพของชุมชนและผู้ประกอบการ ๖ แนวทาง ประกอบด้วย (๑) แนวทางการจัดการศักยภาพด้านการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว (๒) แนวทางการจัดการ ก ศักยภาพด้านสิ่งอานวยความสะดวก (๓) แนวทางการจัดการศักยภาพด้านความปลอดภัย (๔) แนว ทางการจัดการศักยภาพด้านความสามารถในการรองรับของพื้นที่ (๕) แนวทางในการจัดการศักยภาพ ด้านทรัพยากรท่องเที่ยว (๖) แนวทางการจัดการศักยภาพด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน ๓) การพัฒนาศักยภาพในการสื่อสารภาษาอังกฤษของผู้ประกอบการท่องเที่ยวทางศาสนา และวัฒนธรรมในอีสานใต้ พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้หลังการฝึกอบรมด้วยชุดกิจกรรมการ ฝึกอบรมภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารด้านการท่องเที่ยวสาหรับผู้ประกอบการท่องเที่ยวทางศาสนา และวัฒนธรรมในอีสานใต้ปรากฏว่าผู้ประกอบการท่องเที่ยวทางศาสนาและวัฒนธรรมในอีสานใต้ มี คะแนนหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการฝึกอบรมภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารด้านการท่องเที่ยวสูงกว่า คะแนนก่อนเรียนอย่างมีนัยสาคัญที่ ๐.๐๕ (ค่า t =๒๒.๑๗) ๔) การเสริมสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยวทางศาสนาและวัฒนธรรมของอีสานใต้ พบว่า เครือข่ายการท่องเที่ยวทั้งระดับชาติ ระดับเขตพื้นที่ และระดับชุมชน ควรจัดกิจกรรมให้เกิดความ ร่วมมือมากยิ่งขึ้น เพื่อนาไปสู่การพัฒนาในด้านการรวมตัวกันและความเป็นอิสระของเครือข่าย ด้าน การขยายผลการท่องเที่ยวไปยังชุมชนอื่น และด้านการเรียนรู้ประสบการณ์ร่วมกัน สาหรับด้าน กระบวนการทางานเชื่อมโยงกับชุมชนต่างๆ และด้านความร่วมมือในการสร้างคุณภาพการบริการ ควรจัดกิจกรรมนาแหล่งท่องเที่ยวที่ประสบความสาเร็จเป็นแม่บท ส่วนด้านความร่วมมือในการพัฒนา บุคลากรการท่องเที่ยวให้มีศักยภาพตลอดถึงด้านการบริหารจัดการและการใช้ทรัพยากรการท่องเที่ยว ร่วมกัน ควรสร้างกิจกรรมให้เกิดความตื่นรู้ด้านเครือข่ายการท่องเที่ยว ๕) สภาพปัญหาผลกระทบการท่องเที่ยวทางศาสนาและวัฒนธรรมของอีสานใต้กับความ ร่วมมือทางเศรษฐกิจในประชาคมอาเซียน พบว่า สภาพปัญหาโดยรวมเป็นเรื่องเกี่ยวกับการบริหาร จัดการการแหล่งท่องเที่ยวที่ไม่ดีพอ ทาให้มีผลกระทบต่อการท่องเที่ยวทางศาสนาและวัฒนธรรมของ อีสานใต้กับความร่วมมือทางเศรษฐกิจในประชาคมอาเซียนโดยรวม ส่วนประเด็นข้อเสนอเชิง ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวทางศาสนาและวัฒนธรรมของอีสานใต้กับความร่วมมือทางเศรษฐกิจใน ประชาคมอาเซียน ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ จานวน ๙ ยุทธศาสตร์ ๑๐ เป้าหมาย และ ๓๖ มาตรการ ได้แก่ (๑) ยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการ มี ๑ เป้าหมาย ๑ มาตรการ (๒) ยุทธศาสตร์ ด้านการพัฒนาศักยภาพชุมชนผู้ประกอบการท่องเที่ยว มี ๒ เป้าหมาย ๖ มาตรการ (๓) ยุทธศาสตร์ ด้านการพัฒนาบุคลากรของแหล่งท่องเที่ยว มี ๑ เป้าหมาย ๕ มาตรการ (๔) ยุทธศาสตร์ด้าน งบประมาณของแหล่งท่องเที่ยว มี ๑ เป้าหมาย ๓ มาตรการ (๕) ยุทธศาสตร์ด้านการประชาสัมพันธ์ ของแหล่งท่องเที่ยว มี ๑ เป้าหมาย ๖ มาตรการ (๖) ยุทธศาสตร์ด้านการจัดการสถานที่ของแหล่ง ท่องเที่ยว มี ๑ เป้าหมาย ๕ มาตรการ (๗) ยุทธศาสตร์ด้านบริบทสิ่งแวดล้อมของแหล่งท่องเที่ยว มี ๑ เป้าหมาย ๔ มาตรการ (๘) ยุทธศาสตร์ด้านการจัดกิจกรรมของแหล่งท่องเที่ยว มี ๑ เป้าหมาย ๓ มาตรการ (๙) ยุทธศาสตร์ด้านความเชื่อมโยงทางการท่องเที่ยวกับประชาคมอาเซียน มี ๑ เป้าหมาย ๓ มาตรการ
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/489
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.