Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/488
Title: บูรณาการการจัดการเรียนการสอนรายวิชาความรู้เบื้องต้น ทางรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Other Titles: The integration of Teaching-Learning Management to Subject introduction to Public Administration of Mahachulalongkornrajavidyalaya University
Authors: วุฑฺฒิธมฺโม, พระมหาจิตนเรศ
Keywords: บูรณาการ
การจัดการเรียนการสอนรายวิชาความรู้เบื้องต้น
รัฐประศาสนศาสตร์
Issue Date: 2558
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนรายวิชาความรู้เบื้องต้นทางรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยทำการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย คือผู้บริหาร คณาจารย์และนิสิตคณะสังคมศาสตร์ จำนวน ๑๐๘ รูป/คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนรายวิชาความรู้เบื้องต้นทางรัฐประศาสนศาสตร์ ตามพันธกิจของมหาวิทยาลัย ๓ ด้าน คือ ด้านวิจัยและพัฒนา ด้านส่งส่งเสริมพระพุทธศาสนาและบริการวิชาการแก่สังคม และด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ผลการวิจัย พบว่า การบูรณาการการจัดการเรียนการสอน ตามพันธกิจของมหาวิทยาลัยด้านวิจัยและพัฒนามีการบูรณาการอยู่ในระดับมาก ( = ๓.๕๑) ด้านส่งส่งเสริมพระพุทธศาสนาและบริการวิชาการแก่สังคม มีการบูรณาการอยู่ในระดับมาก ( = ๓.๗๑) ด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม มีการบูรณาการอยู่ในระดับ มาก ( = ๓.๗๓) จากการสัมภาษณ์พบว่า การบูรณาการการจัดการเรียนการสอนรายวิชาความรู้เบื้องต้นทางรัฐประศาสนศาสตร์ ตามพันธกิจของมหาวิทยาลัย พบว่า ๑. ด้านวิจัยและพัฒนา คณาจารย์มีการนำผลงานวิจัยและพัฒนาเพื่อมาบูรณาการกับการเรียนการสอนน้อย เพราะสาเหตุมาจากอาจารย์ผู้สอนไม่มีงานวิจัยหรืองานวิจัยไม่สอดคล้องกับขอบข่ายรายวิชาที่สอน ตลอดจนขาดความรู้ความเข้าใจในการบวนการการบูรณาการ ๒. ด้านส่งเสริมพระพุทธศาสนาและบริการวิชาการแก่สังคม ขาดการสร้างเครือข่ายในภาคส่วนต่างๆให้เชื่อมโยงความสัมพันธ์และหลอมรวมจุดประสงค์ด้านส่งเสริมพระพุทธศาสนาและบริการวิชาการแก่สังคมให้เป็นเรื่องที่สมบูรณ์และปัญหาเรื่องความถนัดของคณาจารย์แต่ละท่านที่จะบูรณาการให้เข้ากับการเรียนการสอนในรายวิชา ๓. ด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ควรจะมีกระบวนการที่หลากหลายในการบูรณาการกับภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่สามารถจะนำมาประยุกต์กับการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยได้ โดยเฉพาะความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆที่มีความเกี่ยวข้องในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมเพื่อศึกษาและเรียนรู้ร่วมกัน โดยการประมวลปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นและร่วมกันหาวิธีการแก้ไข ตลอดจนหาแนวทางในการอนุรักษ์ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและเผยแพร่ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ การเผยแพร่กิจกรรมหรือการบริการด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมต่อสาธารณชน
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/488
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.