Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/487
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | พระครูวิมลศิลปกิจ | - |
dc.contributor.author | กวาวสาม, ภัทราวรรณ | - |
dc.date.accessioned | 2022-03-19T07:26:29Z | - |
dc.date.available | 2022-03-19T07:26:29Z | - |
dc.date.issued | 2560 | - |
dc.identifier.uri | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/487 | - |
dc.description.abstract | การศึกษาเรื่อง นครแห่งศิลปะ : แนวทางการส่งเสริมการอนุรักษ์พุทธศิลปกรรมของวัดที่เป็นอารามหลวงของจังหวัดเชียงราย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพุทธศิลปกรรมของวัดที่เป็นพระอารามหลวงในจังหวัดเชียงราย การอนุรักษ์พุทธศิลปกรรมของวัดที่เป็นพระอารามหลวงจังหวัดเชียงราย และเพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมการอนุรักษ์พุทธศิลปกรรมของวัดที่เป็นพระอารามหลวงจังหวัดเชียงราย ผู้วิจัยได้ทาการศึกษาวิจัยตามวัตถุประสงค์ที่กาหนดไว้ โดยมีเป้าหมาย ๓ วัด ได้แก่ วัดพระแก้ว วัดพระสิงห์ วัดเจ็ดยอด ซึ่งตั้งอยู่ในเขตเทศบาลนครเชียงราย กลุ่มเป้าหมายได้แก่ เจ้าอาวาส/ตัวแทนเจ้าอาวาส นักประวัติศาสตร์ นักโบราณคดี ศิลปินเชียงราย และประชาชนทั่วไป ผลการศึกษาวิจัยพบว่า พุทธศิลปกรรมของวัดที่เป็นพระอารามหลวงในจังหวัดเชียงราย ในภาพรวม ส่วนใหญ่เป็นปฏิมากรรมประเภทไม้แกะสลัก ซึ่งฝังตัวอยู่ในสถาปัตยกรรมของวัด แต่ยังไม่มีใครนาความหมายของปฏิมากรรมเหล่านั้นออกมาเผยแพร่สู่สายตาประชาชน รองลงมาได้แก่ ปฏิมากรรมประเภทหล่อทองสาริด คือพระพุทธรูปปางต่างๆ และปฏิมากรรมปูนปั้น ตามลาดับ ส่วนจิตรกรรมเป็นจิตรกรรมฝาผนังทั้งหมด แต่มีความวิจิตร ปราณีตแตกต่างกัน สาหรับพุทธศิลปกรรมประเภทสถาปัตยกรรม ส่วนใหญ่เป็นสถาปัตยกรรมแบบล้านนาเกือบทั้งหมด ส่วนการอนุรักษ์พุทธศิลปกรรมของวัดที่เป็นพระอารามหลวงจังหวัดเชียงราย พบว่า ทางวัดได้ดาเนินการอนุรักษ์พุทธศิลปกรรมใน ๓ ลักษณะ ได้แก่ การอนุรักษ์โดยให้อยู่ในลักษณะของสถาปัตยกรรมที่เป็นเสนาสนะ การอนุรักษ์โดยการจัดเป็นพิพิธภัณฑ์แสดงพุทธศิลปกรรมที่ไม่ใช่สถาปัตยกรรม และการอนุรักษ์โดยจัดทาป้าย แผ่นพับ เว็บไซต์ของวัด และข้อเสนอแนะหรือแนวทางการส่งเสริมการอนุรักษ์พุทธศิลปกรรมของวัดที่เป็นพระอารามหลวงจังหวัดเชียงราย พบว่า ศิลปินเชียงราย นักโบราณคดี นักประวัติศาสตร์ และประชาชนทั่วไป ได้ให้ข้อเสนอแนะหรือแนวทางที่สอดคล้องกัน ๓ ประการ ได้แก่ (๑) แต่ละวัดควรจัดทาพิพิธภัณฑ์ รวบรวมพุทธศิลปกรรมทั้งเก่าและใหม่มาแสดงไว้ภายในวัดให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษาเรียนรู้ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นไปด้วย (๒) แต่ละวัดควรจะมีบุคลากรไว้คอยบริการข้อมูลให้แก่นักท่องเที่ยวและผู้สนใจศึกษาเรียนรู้ที่นอกเหนือจากป้ายประวัติ แผ่นพับ ที่สามารถสื่อสารได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤาได้จะเป็นการดีมาก และ (๓) แต่ละวัดควรนาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริการข้อมูลให้มากขึ้น เช่น คิวอาร์โค๊ด เป็นต้น เนื่องจากปัจจุบันเป็นยุคไอทีที่จะสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างง่ายดาย | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | นครแห่งศิลปะ | en_US |
dc.subject | การส่งเสริม | en_US |
dc.subject | การอนุรักษ์ | en_US |
dc.subject | พุทธศิลปกรรม | en_US |
dc.subject | พระอารามหลวง | en_US |
dc.subject | จังหวัดเชียงราย | en_US |
dc.title | นครแห่งศิลปะ : แนวทางการส่งเสริมการอนุรักษ์พุทธศิลปกรรม ของวัดพระอารามหลวงจังหวัดเชียงราย | en_US |
dc.title.alternative | City of Arts: Guidelines for the Promotion of Buddhist Fine Art Conservation at Royal Temples in Chiang Rai Province | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2560-061 พระครูวิมลศิลปกิจ.pdf | 9.58 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.