Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/485
Title: รูปแบบการส่งเสริมวัฒนธรรมทางการเมืองเชิงพุทธ ของผู้นาชุมชนจังหวัดขอนแก่น
Other Titles: The Model of Supporting Buddhist Political Culture of Community Leaders in KhonKaen Province.
Authors: ฮวดศรี, ชาญชัย
Keywords: รูปแบบการส่งเสริมวัฒนธรรม
การเมืองเชิงพุทธ
ผู้นำชุมชนจังหวัดขอนแก่น
Issue Date: 2558
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการส่งเสริมวัฒนธรรมทางการเมือง ของผู้นาชุมชนในจังหวัดขอนแก่น ๒) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการส่งเสริม วัฒนธรรมทางการเมืองเชิงพุทธของผู้นาชุมชนในจังหวัดขอนแก่น และ ๓) เพื่อเสนอรูปแบบการ ส่งเสริมวัฒนธรรมทางการเมืองเชิงพุทธของผู้นาชุมชน กลุ่มเป้าหมายได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ กานัน ผู้ใหญ่บ้าน เจ้าอาวาส และผู้นาชุมชนนอกรูปแบบ รวมทั้งสิ้น จานวน ๓๐ รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive Analysis) ตามหลักอุปนัยวิธี (Induction method) ผลการวิจัยพบว่า ๑. สภาพปัญหาการส่งเสริมวัฒนธรรมทางการเมืองของผู้นาชุมชนในจังหวัดขอนแก่น พบว่า ผู้นาชุมชนเป็นบุคคลที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในการมีส่วนร่วมทางการเมือง ผู้นาชุมชนมีส่วน ในการชักจูงโน้มน้าวให้ประชาชนในชุมชนไปใช้สิทธิในการเลือกตั้งและให้ความร่วมมือทางการเมือง การรณรงค์ในการเลือกตั้ง การจัดกิจกรรมทางการเมือง การมีส่วนร่วมทางการเมือง และการกาหนด นโยบายทางการเมือง จึงทาให้ประชาชนขาดเสรีภาพในการตัดสินใจทางการเมือง ๒. การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการส่งเสริมวัฒนธรรมทางการเมืองเชิงพุทธของผู้นา ชุมชนในจังหวัดขอนแก่น พบว่า การประยุกต์หลักพุทธธรรมทางพระพุทธศาสนาไปใช้ในการส่งเสริม วัฒนธรรมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ได้แก่ หลักสาราณียธรรม ๖, หลักอปริหานิยธรรม ๗, หลักอธิปไตย ๓, หลักอคติ ๔ และหลักธรรมคุ้มครองโลก ๒ อย่างคือ หิริ และ โอตตัปปะ ๓. รูปแบบการส่งเสริมวัฒนธรรมทางการเมืองเชิงพุทธของผู้นาชุมชน พบว่า การใช้หลักธรรมในการส่งเสริมวัฒนธรรมทางการเมือง คือ ๑) การเลือกตั้งใช้หลักอคติ ๔ และธรรมคุ้มครอง โลก ๒) การรณรงค์หาเสียงใช้หลักอธิปไตย ๓ ๓) การมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมืองใช้หลัก สาราณียธรรม ๖ และ ๔) บทบาทของผู้นาชุมชนในการกาหนดนโยบายใช้หลักอปริหานิยธรรม ๗
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/485
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2558-072 ผศ.ดร.ชาญชัย ฮวดศรี.pdf4.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.