Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/478
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorเกตุวีระพงศ์, พูนทรัพย์-
dc.contributor.authorขอนวงค์, สมจิต-
dc.contributor.authorศรีคาภา, ระวีโรจน์-
dc.contributor.authorสุวรรณทา, ศักดิ์ดา-
dc.date.accessioned2022-03-19T07:04:44Z-
dc.date.available2022-03-19T07:04:44Z-
dc.date.issued2557-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/478-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา แนวคิด และคุณค่าเชิง จริยธรรมของประเพณีสืบชะตาในล้านนา 2) เพื่อศึกษารูป แบ บแล ะกระบ วนการเสริม สร้าง ความสัมพันธ์ทางสังคมและจิตวิญญาณของประเพณีสืบชะตาที่มีต่อชุมชนในล้านนา 3) วิเคราะห์ คุณค่าความสัมพันธ์ในเชิงพหุลักษณ์ของประเพณีสืบชะตาในล้านนา โดยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ขอบเขตของการวิจัย คือพื้นที่ในภาคเหนือตอนบน สามจังหวัด คือ จังหวัด แพร่ ลาปาง เชียงราย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พระสงฆ์ ปราชญ์ท้องถิ่น นักวิชาการศาสนา และวัฒนธรรม มัคนายก กลุ่มละ 10 รูป/คน 3 กลุ่ม รวมทั้งหมด 30 รูป/คน โดยการจัดเวทีเสวนา และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) ผลการวิจัย พบว่า การสืบชะตาเป็นพิธีกรรมที่มี ต้นทุนทางสังคมสูง มีประวัติพื้นฐานมาจากศาสนาและตามปูมเหตุแห่งอิทธิพลของพระพุทธศาสนา และศาสนาพราหมณ์ที่เชื่อมโยงกันอย่างเหมาะสม มีแนวคิดจากต้นเค้าเดิมตามจารีตล้านนา และ ข้อมูลประวัติศาสตร์ยุคสมัยพระนางจามเทวีและพระเจ้าสามฝังแกนราชวงศ์เม็งราย ผนวกกับความ เชื่อในเรื่อง “กรรม”หรือ “กฎแห่งกรรม” “มงคล 38 ประการ” ส่งผลต่อการดาเนินชีวิตที่สร้างเสริม คุณธรรมและจริยธรรม ส่วนตัวบทสวดในพิธีกรรมที่ศักดิ์สิทธ์ ได้เสริมสร้างพลังทางใจ แก่ชุมชนเกิด ความสามัคคีความเอื้ออาทรการเกื้อกูลพึ่งพาอาศัยกันมีความปรารถนาดีต่อกันก่อให้เกิดบุญกริยาวัตถุ 10 ประการตามหลักของพระพุทธศาสนา การสืบชะตาตามจารีตล้านนามีสามแบบ คือ การสืบชะตา คน สืบชะตาบ้านและสืบชะตาเมือง ส่วนการสืบชะตาแม่น้าและป่าเกิดขึ้นตามบริบทของสังคม ปัจจุบัน เน้นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สร้างความยั่งยืนให้กับชีวิตสู่พัฒนาการทางจิตวิญญาณ ในระดับที่สูงขึ้นมีความสมดุลประสานสอดคล้องกันอย่างลงตัวในการดาเนินชีวิตโดยรวมของชุมชน ล้านนา รูปแบบกระบวนการสืบชะตา พบว่า ยังคงยึดรูปแบบดั้งเดิมที่ปฏิบัติตามจารีตประเพณีของ ล้านนา สะท้อนภาพของการดารงชีวิตในเชิงพหุลักษณ์ คือ การอยู่ร่วมกันของ “คนกับสังคม” “คนกับสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ”และ “คนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ” เป็นสิ่งที่ชุมชนล้านนาดาเนินมาอย่าง ต่อเนื่องจากอดีตถึงปัจจุบัน ในกระบวนการของประเพณีสืบชะตา บทสวดและคัมภึร์ธรรม เมื่อ วิเคราะห์โดยรวมของพิธีแล้ว พบว่า เกิดการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางใจเกิดกุศลกรรมบถ ความสุจริต ทางกาย ทางวาจา ทางใจ การคิดดีทาดีด้วยหลักไตรสิกขา ปลูกฝังการเสียสละและการ บริจาค เป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมและจิตวิญญาณ สาหรับคุณค่าความสัมพันธ์ในเชิง พหุลักษณ์ พบว่า มีความสัมพันธ์ด้านพระพุทธศาสนา จิตวิทยา สังคมวิทยา มานุษยวิทยา จารีต ประเพณีและพิธีกรรม สังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และการพัฒนาจิตใจ พิธีสืบชะตาพื้นเมืองเหนือ เป็นการบูรณาการระหว่างพิธีกรรมจารีตประเพณี ศาสนา ความเชื่อวิถีปฏิบัติดั้งเดิมของล้านนาและ บริบทของสังคมสมัยใหม่เป็นการสร้างขวัญและกาลังใจ สร้างความเข้มแข็งที่เป็นรูปธรรมในสังคม ล้านนาโดยรวมอย่างยั้งยืนต่อไป.en_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectสืบชะตาen_US
dc.subjectแนวคิดen_US
dc.subjectชุมชนล้านนาen_US
dc.subjectพหุลักษณ์en_US
dc.titleสืบชะตาล้านนา: แนวคิดและการเสริมสร้างความสัมพันธ์ ทางสังคมและจิตวิญญาณของชุมชนในล้านนาen_US
dc.title.alternativeLuck-Bringing Ritual: Concept and Relationship-Building in the Context of the Society and the Soul of Lanna Communityen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2557 สกอ.-รศ.พูนทรัพย์ เกตุวีระพงศ์.pdf7.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.