Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/477
Title: การพัฒนามาตรการและวิธีทางสังคมในการดูแลผู้พิการในสังคมไทย
Other Titles: Development social measure and methods In care the disabilities in Thai
Authors: ศรีหะมงคล, กวีพล
หอมสมบัติ, พูลศักดิ์,
ตปสีโล/เกษนคร, พระใบฎีกาสุพจน์
จันทราช, นคร
Keywords: การพัฒนา,
มาตรการ
วิธีทางสังคม
การดูแลผู้พิการ
สังคมไทย
Issue Date: 2561
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ประกอบด้วย ๑) ศึกษามาตรการและวิธีการในการดูแลผู้พิการในสังคมไทย ๒) พัฒนามาตรการและวิธีการในการดูแลผู้พิการในสังคมไทย ๓) นำเสนอรูปแบบมาตรการและวิธีการในการดูแลผู้พิการในสังคมไทย ซึ่งผู้วิจัยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ ทำการศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มเป้าหมาย (deep Interview) กลุ่มเป้าหมายได้แก่ ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่และผู้พิการ จาก ๕ สถานที่ รวมจำนวน ๓๗ คน ได้แก่ ๑) สถานสงเคราะห์คนพิการจังหวัดอุบลราชธานี ๒) สมาคมคนพิการโคราชจังหวัดนครศรีราชสีมา ๓) มูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อพัฒนาคนพิการจังหวัดระยอง และ ๔) ศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการหยาดฝนจังหวัดเชียงใหม่ ผลการวิจัยมาตรการและวิธีการในการดูแลผู้พิการในสังคมไทยสรุปได้ดังนี้ คือ ๑) สิทธิคนพิการย่อมได้รับความคุ้มครองโดยกฎหมายรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติคุ้มครองคนพิการรวม ๓๔ ฉบับ ย่อมได้รับความคุ้มครองตามสิทธิและสวัสดิการของคนพิการ ซึ่งเป็น “สิทธิ” และ สวัสดิการทั่วไป รวมถึงสิทธิและสวัสดิการด้านต่างๆ รวม ๔ ด้าน ได้แก่ ด้านสุขภาพ การศึกษา สังคม และอาชีพ ๒) ลักษณะของชีวิตที่มีคุณภาพ หรือคุณสมบัติของชีวิตที่ดี อาทิเช่น ชีวิตที่มีความสุข ความสุขนี้เกิด ๒ ทาง ได้แก่ ความสุขทางกายและความสุขทางใจ ๓) การพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการมีตัวชี้วัดหลากหลายมิติ เช่น UN Education, Science and Culture Organization (UNESCO) ก็ได้กำหนดองค์ประกอบคุณภาพชีวิตไว้ ๗ ด้านได้แก่ ๑. อาหาร ๒. สุขภาพ ๓. การศึกษา ๔. สิ่งแวดล้อมและทรัพยากร ๕. ที่อยู่อาศัยและการตั้งถิ่นฐาน ๖. การมีงานทำ และ ๗. ค่านิยม ศาสนา จริยธรรมกฎหมาย และปัจจัยด้านจิตวิทยา ผลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มเป้าหมายสรุปได้ดังนี้ ๑) กลุ่มเป้าหมายต้องการให้รัฐควบคุมการใช้กฎหมายและพระราชบัญญัติคุ้มครองคนพิการอย่างจริงจัง ๒) การจ้างงานผู้พิการต้องได้รับความร่วมมือทั้งภาครัฐและเอกชนโดยพิจารณาจ้างงานคนพิการตามความเหมาะสมโดยพิจารณาจากระดับความพิการและหน้างานที่ทำ ๓) ปรับปรุงกลไกด้านการเงิน การคลังและงบประมาณเพื่อการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการให้มีประสิทธิภาพ และกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นภาคประชาสังคมและภาคส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิผล ๔) สร้างเสริมความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักรู้เกี่ยวกับศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ศักยภาพ และการดำรงชีวิตอิสระ สิทธิ และหน้าที่ของคนพิการ และ ๕) ควรส่งเสริม สนับสนุนให้มีพุทธสถาน เพื่อใช้ในการประกอบพิธีทางศาสนาและทำกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/477
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2561-094 นายกวีพล ศรีหะมงคล.pdf7.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.