Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/476
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.author-, พระศรีรัตนมุนี-
dc.contributor.authorใยอินทร์, เอนก-
dc.contributor.authorบุตรสีทา, นายดาวเหนือ-
dc.date.accessioned2022-03-19T07:02:24Z-
dc.date.available2022-03-19T07:02:24Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/476-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อวิเคราะห์สภาพองค์ประกอบการเรียนรู้คุณธรรมจริยธรรมของเยาวชนโดยใช้ทุนวัฒนธรรมท้องถิ่น ๒) เพื่อศึกษากระบวนการจัดการเรียนรู้คุณธรรมจริยธรรมของเยาวชนและทุนวัฒนธรรมท้องถิ่น ๓) เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ของเยาวชนจากทุนวัฒนธรรมท้องถิ่นกับการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงประยุกต์ (Applied Research) เน้นการศึกษาวิเคราะห์ทั้งในเชิงพื้นที่และเอกสาร การจัดกระบวนการวิจัย ด้วยการถอดบทเรียนและการบูรณาการข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ในพื้นที่การศึกษาที่กำหนดไว้ เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน ๒๑ คน เลือกแบบเจาะจงจากผู้เชี่ยวชาญ เครื่องมือในการเก็บข้อมูลได้แก่แบบสัมภาษณ์เชิงลึกที่มีโครงสร้าง เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัว และเก็บข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญในการสนทนากลุ่มเฉพาะ ๑๑ รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลจากทั้งสองขั้นตอนโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนาความ ผลการวิจัยพบว่า ๑. วิเคราะห์สภาพองค์ประกอบการเรียนรู้คุณธรรมจริยธรรมของเยาวชนโดยใช้ทุนวัฒนธรรมท้องถิ่น พบว่า ชุมชนบ้านเชิงผา หมู่ที่ ๑๑ มีประเพณีที่สำคัญ คือประเพณี กิ๋นข้าวสลาก ประเพณีกิ๋นข้าวจี่ข้าวหลาม ประเพณีตักบาตรข้าวสาร อาหารแห้ง ซึ่งเป็นประเพณีของชาวล้านนา และประเพณีลอยกระทง ประเพณีรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุในวันสงกรานต์ ทั้งนี้ยังมีความรู้และภูมิปัญญาชาวบ้านภายในหมู่บ้านด้วย เยาวชนรู้จักสิทธิและหน้าที่ของตนเอง นั่นคือเยาวชนมีหน้าที่ช่วยเหลือตนเองและพ่อกับแม่ พวกเขามีความรับผิดชอบและตัดสินใจด้วยสิ่งที่ถูกหรือผิด นอกจากนี้พวกเขายังสามารถพิจารณาสิ่งต่างๆ โดยใช้เหตุผลและสติปัญญาของตนเองและมีความมั่นใจในตนเอง ๒. ศึกษากระบวนการจัดการเรียนรู้คุณธรรมจริยธรรมของเยาวชนและทุนวัฒนธรรมท้องถิ่น พบว่า การได้รับความร่วมมือจากสถาบันครอบครัว ต้องเปิดโอกาสให้เขาได้มีประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยตัวของเขาเอง ควรกระตุ้นให้เยาวชนใช้กระบวนการคิดทำความเข้าใจ เกิดความศรัทธา ใฝ่รู้ เรียนรู้ตลอดชีวิต อันเกิดจากการมีคุณธรรมจริยธรรม ด้วยการใช้ศิลปวัฒนธรรมเป็นตัวขับเคลื่อนเยาวชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชน เพื่อให้เยาวชนเกิดการเรียนรู้จะต้องเปิดโอกาสให้เยาวชนมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับบุคคลอื่นหรือแหล่งข้อมูลอื่นๆ ๓. การสร้างกระบวนการเรียนรู้ของเยาวชนจากทุนวัฒนธรรมท้องถิ่นกับการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม พบว่า กระบวนการเรียนรู้ของเยาวชนจากทุนวัฒนธรรมท้องถิ่นกับการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมวัฒนธรรมท้องถิ่นของชุมชนทุ่งเสลี่ยม มีความโดดเด่นของเอกลักษณ์วัฒนธรรม ด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีความหลากหลาย สามารถนำมาต่อยอดและบริหารจัดการเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์และบริการในท้องถิ่น ทั้งนี้จำเป็นต้องสร้างจิตสำนึกใหม่ของเยาวชนให้มุ่งผลประโยชน์ส่วนรวม และปรับวิธีคิด ทัศนคติในการดำเนินชีวิตใหม่ ขณะเดียวกันต้องประสานเชื่อมโยงบทบาทภาครัฐ ท้องถิ่นและชุมชนให้มีส่วนร่วมทำงานด้วยกันได้ เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้เกิดการพัฒนาและเพิ่มมูลค่าของทรัพยากรในท้องถิ่นen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectกระบวนการen_US
dc.subjectการเรียนรู้en_US
dc.subjectเสริมสร้างen_US
dc.subjectเยาวชนen_US
dc.subjectจริยธรรมen_US
dc.subjectคุณธรรมen_US
dc.subjectทุนวัฒนธรรมท้องถิ่นen_US
dc.titleการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมของเยาวชนโดยใช้ทุนวัฒนธรรมท้องถิ่นen_US
dc.title.alternativeEnhancing the Morality and Ethics of Juvenil by Using Cultural Capitalen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2559-058 พระศรีรัตนมุนี, ดร. 1.pdf5.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.