Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/475
Title: แบบแผนการสื่อสารของสหกรณ์ออมทรัพย์ในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตด้วยหลักธรรมและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการดำรงชีวิตที่มั่นคงและยั่งยืน
Other Titles: The Communication Pattern of Saving Co-Operative to in Promoting Quality of Life with Principles and Sufficiency Economy Philosophy for Stable and Sustainables Living
Authors: สุขพรรณ์, บำรุง
โอฐสู, บุญเลิศ
ฉายาวัฒนะ, กมล
สุทนต์, รังษี
วารีแสงทิพย์, จุฑามาศ
หนูไชยะนันท์, ชญาน์นันท์,
กรุณาฤทธิโยธิน, กนกวรรณ
Keywords: แบบแผน
การสื่อสาร
สหกรณ์ออมทรัพย์
คุณภาพชีวิต
หลักธรรม
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
การดำรงชีวิตที่มั่นคงและยั่งยืน
Issue Date: 2559
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์๓ ประการ คือ (๑) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของสหกรณ์ออม ทรัพย์(๒) เพื่อศึกษาหลักธรรม ทฤษฎีการสื่อสารและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการส่งเสริม คุณภาพชีวิตเพื่อการดำรงชีวิตที่มั่นคงและยั่งยืน และ (๓) เพื่อนำเสนอแบบแผนการสื่อสารของ สหกรณ์ออมทรัพย์ในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตด้วยหลักธรรมและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการ ดำรงชีวิตที่มั่นคงและยั่งยืน โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพด้านเอกสาร คือ การวิเคราะห์จากการ รายงานการประชุมประจำปีของกลุ่มประชากรศึกษา คือสหกรณ์ออมทรัพย์จำนวน ๑๐ แห่ง ผลวิจัยพบว่า สหกรณ์ออมทรัพย์เป็นองค์กรหนึ่งที่แยกมาจากสหกรณ์ ซึ่งสหกรณ์นั้นได้ ถือกำเนิดเกิดทางโลกตะวันตกสมัยคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ และสหกรณ์ในไทยเกิดขึ้นปลายสมัยรัชการที่ ๕ โดยมีแนวคิดตรงกัน คือการแก้ไขปัญหาความยากจน การเอารัดเอาเปรียบทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งยึดถือหลักการ ๗ ได้แก่(๑) การรับสมาชิก (๒) ความเสมอภาคกัน (๓) การมีส่วนร่วม (๔) การมี เสรีภาพ (๕) การให้การศึกษา อบรม และสารสนเทศ (๖) ความร่วมมือ (๗) หลักการเพื่อสังคม และ สหกรณ์ออมทรัพย์ทั้ง ๑๐ แห่ง มีการสื่อสารในการสร้างภาพลักษณ์ของตน โดยมีคำขวัญเชิญชวนให้ สมาชิกกู้เงินโดยสร้างภาพลักษณ์ไม่เหมือนกัน หรือมีการประชาสัมพันธ์ซ้ำๆ จนกระทั่งสมาชิกจำได้ อย่างเช่น “ยามมีให้มาฝาก ยามยากให้มาถอน ยามเดือดร้อนให้มากู้” แต่จะเน้นการฝาก การถอน และการกู้ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของสหกรณ์ออมทรัพย์ และกิจกรรมด้านอื่น ๆ จะเป็นตัวเสนอ ภาพลักษณ์ที่สื่อให้เห็นถึงความสำคัญและส่งผลตามมา แบบแผนการสื่อสารของสหกรณ์ออมทรัพย์ในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตด้วยหลักธรรมและ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการดำรงชีวิตที่มั่นคงและยั่งยืน คือการนำเอาหลักพรหมวิหาร ๔ หัวใจ ที่ช่วยสื่อสารในการทำงานอย่างเป็นรูปธรรม หลักสังคหวัตถุ๔ หลักยึดเหนี่ยวใจคน ที่ทำให้สหกรณ์ ออมทรัพย์๑๐ แห่ง สื่อสารในรูปแบบสงเคราะห์ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์แล้วได้ใจของสมาชิกหรือคน ทั่วไปอย่างเหนี่ยวแน่น และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอันมีคุณลักษณะ ๓ พร้อม ๆ กัน คือ (๑) ความ พอประมาณ (๒) ความมีเหตุผล (๓) การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีช่วยทำให้สหกรณ์ออมทรัพย์สื่อสาร สร้างความร่วมมือกับองค์กรอื่น ๆ เป็นประโยชน์ในการสืบทอดภูมิปัญญา แลกเปลี่ยนความรู้ เทคโนโลยี และบทเรียนจากการพัฒนา จนกระทั่งกลายเป็นเครือข่ายชุมชนพอเพียงที่เชื่อมโยงกัน ด้วยหลักไม่เบียดเบียน แบ่งปัน และช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้โดยการเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนาอย่าง มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ในที่สุด
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/475
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2559-005 บำรุง สุขุขพรรณ์์.pdf1.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.