Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/473
Title: ศึกษาความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมและประเพณีของพุทธศาสนิกชนชาวกูย ในจังหวัดสุรินทร์
Other Titles: Study the cultural relations and traditions of the Kuiy Buddhists In Surin province
Authors: คุณวีโร (วงเวียน), พระมหาเจริญสุข
Keywords: วัฒนธรรม
ประเพณี
ความสัมพันธ์
การเปลี่ยนแปลง,
อัตลักษณ์
Issue Date: 2557
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเรื่อง “ศึกษาความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมและประเพณีของพุทธศาสนิกชนชาวกูย ในจังหวัดสุรินทร์” มีวัตถุประสงค์ ๑. เพื่อศึกษาโครงสร้างวัฒนธรรมและประเพณีของชาวกูยในจังหวัดสุรินทร์ ๒. เพื่อศึกษาปัจจัยการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมและประเพณีของชาวกูยในจังหวัดสุรินทร์ ๓.เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมประเพณีที่ส่งผลต่อการดำรงชีวิตของชาวกูยในจังหวัดสุรินทร์ ดำเนินการวิจัยโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพโดยเทคนิคการวิจัยแนวชาติพันธุ์วรรณนา พื้นที่ในการวิจัย ๙ หมู่บ้าน ตำบลแตล อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ ผลการวิจัยพบว่า ๑. วัฒนธรรมและประเพณีของชาวกูยในจังหวัดสุรินทร์ ประวัติความเป็นมาของการบวช พบว่า การในสมัยพุทธกาลมีการบวชให้กับสาวกด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา เป็นวิธีที่พระพุทธเจ้าทรงบวชให้แก่สาวกเองต่อมาได้ให้บวชด้วยวิธีไตรสรณคม พิธีกรรมการบวชนาคสามเฌรและพระภิกษุ ชาวพุทธกูย มีประเพณีที่สืบทอดมาตั้งแต่โบราณการจัดงานบวชมี ๒ อย่าง ได้แก่ ๑.การบวชนาคเป็นการบวชแบบพราหมณ์ ๒.การบวชสามเณรและพระภิกษุ และการแต่งงานของกลุ่มชาวกูยตำบลแตล อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์มีขั้นตอน ได้แก่ ๑) การเลือกคู่ครอง ๒) การทาบทามสู่ขอ ๓) พิธีหมั้น ๔) พิธีเกี่ยวกับการแต่งงาน ๕) ขันหมาก ๖) พิธีกรรมหลังการแต่งงาน ๒. ปัจจัยการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมและประเพณีของชาวกูยในจังหวัดสุรินทร์ ปัจจัยของการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมประเพณีของงานบวชมีอยู่ ๓ อย่างด้วยกันได้แก่ ๑.ด้านสังคม ๒.ด้านเศรษฐกิจและ ๓.ด้านประเพณีวัฒนธรรมและปัจจัยการปรับเปลี่ยนด้านประเพณีวัฒนธรรมการแต่งงานมีอยู่ด้วยกันอย่างตามกระบวนการ ได้แก่ การเลือกคู่ครอง การทาบทามสู่ขอ การบอกบุญ การหมั้นฝ่ายหญิง พิธีกรรมการแต่งงาน ขันหมากแต่งงาน บายศรี พิธีกรรมหลังแต่งงาน และการล้วงหม้อน้ำอุ่น ๓. อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมประเพณีที่ส่งผลต่อการดำรงชีวิตของชาวกูยในจังหวัดสุรินทร์ อัตลักษณ์ที่ปรากฏในพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดงานบวชได้แก่ การเซ่นไหว้ พิธีกรรมการบวงสรวง การยกครูผู้นำประกอบพิธี การบายศรีสู่ขวัญ การเจริญพระพุทธมนต์และอัตลักษณ์ที่ปรากฏในพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับการแต่งงาน ได้แก่ การบายศรีสู่ขวัญ การทดแทนคุณและการสมมาบุพการี (การสมมา) แซนยะจุ๊ (เซ่นไหว้ผีบรรบุรุษ) และความสามัคคีในหมู่เครือญาติ
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/473
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.