Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/470
Title: | รูปแบบการจัดการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมไทย-เมียนมาร์ ของสถาบันอุดมศึกษาในสังคมไทย |
Other Titles: | An Instructional Model of Thai - Myanmar Cross Culture of Higher Education Institutes in Thai Society |
Authors: | ทั่งโต, พิเชฐ พุทฺธิสาโร, พระปลัดระพิน กลมกูล, ลำพอง |
Keywords: | รูปแบบ การจัดการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม ไทย-เมียนมาร์ สถาบันอุดมศึกษา สังคมไทย |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมไทย- เมียนมาร์ของสถาบันอุดมศึกษาในสังคมไทย ๒) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ข้าม วัฒนธรรมไทย-เมียนมาร์โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน และ ๓) เพื่อนาเสนอรูปแบบการจัดการเรียนรู้ข้าม วัฒนธรรมไทย-เมียนมาร์โดยใช้การวิจัยเป็นฐานของสถาบันอุดมศึกษาในสังคมไทย ใช้วิธีการวิจัยเชิง คุณภาพ แบ่งเป็น ๓ ระยะ ได้แก่ ระยะที่ ๑ การสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้ ข้ามวัฒนธรรมไทย-เมียนมาร์ ระยะที่ ๒ การสัมภาษณ์กลุ่มเพื่อตรวจสอบรูปแบบการจัดกิจกรรมการ เรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมไทย-เมียนมาร์ โดยใช้วิจัยเป็นฐาน และระยะที่ ๓ การศึกษาภาคสนามเพื่อศึกษา ผลการจัดการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมไทย-เมียนมาร์ โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน กลุ่มเป้าหมาย คือ บุคลากร ของสถาบันอุดมศึกษา นักวิชาการด้านพม่าศึกษาในไทย นิสิตเมียนมาร์ที่เรียนภาษาไทยและเรียน สถาบันอุดมศึกษาไทย และนิสิตไทยที่เรียนร่วมกับนิสิตเมียนมาร์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แนว คาถามในการสัมภาษณ์ ประเด็นในการสัมภาษณ์กลุ่ม และแบบบันทึกภาคสนาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิง คุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและการสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ๑) แนวทางการจัดการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมไทย-เมียนมาร์ของสถาบันอุดมศึกษาใน สังคมไทย ภายใต้การส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับความเป็นอาเซียนได้มีการจัดการศึกษา เกี่ยวกับวัฒนธรรมต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยโดยในส่วนของมหาวิทยาลัยนเรศวร ได้มีศูนย์พม่าศึกษาที่มี การจัดการเรียนภาษาพม่า และหลักสูตรพม่าศึกษา ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณี ผ่านการศึกษาในหลักสูตรด้านภาษาศาสตร์ของพม่า ในส่วนของการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม เป็นการจัดการศึกษาที่เนื่องด้วยการเรียนรู้ในเชิงวัฒนธรรมประเพณี และวิถีชีวิตที่เนื่องด้วย วัฒนธรรม โดยมีการส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ทั้งการวิจัย การสร้างเครือข่าย ในส่วนของมหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับพม่าศึกษา มีวิชาที่กาหนดให้เรียนในหลักสูตร ที่เกี่ยวกับอาเซียนศึกษา ให้มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเกี่ยวกับวัฒนธรรมเมียนมาร์โดยใช้การ วิจัยเป็นฐาน รวมไปถึงการเปิดโอกาสให้นิสิตเมียนมาร์ที่ได้มาศึกษาในมหาวิทยาลัยได้เข้าร่วมใน กิจกรรมการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมไทย-เมียนมาร์และร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์เชิงวัฒนธรรมกับ เพื่อนนิสิตที่เป็นคนไทย ๒) รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมไทย-เมียนมาร์โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน เน้นการเรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมเมียนมาร์เพื่อทาให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเรียนรู้ข้าม วัฒนธรรม ๕ ขั้นตอน ประกอบด้วย เปิดใจรับวัฒนธรรมใหม่ เตรียมใจเรียนรู้สิ่งที่แตกต่าง ปรับ จ อารมณ์ให้เข้ากับสถานการณ์ เข้าใจพฤติกรรมของกลุ่มชนอื่น และปรับกระบวนทัศน์ในเรื่อง วัฒนธรรม สถาบันการศึกษาที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ ได้แก่ มหาวิทยาลัยนเรศวร ที่ได้ทาวิจัยด้าน พม่าศึกษา หรือองค์ความรู้ด้านภาษาพม่าภายใต้แนวคิดภาษาจะเป็นกลไกร่วมในการทาให้เกิดความ เข้าใจเกี่ยวกับพม่า และมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยได้ทาวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้ข้าม วัฒนธรรมอาเซียน ที่ทาให้เกิดการเรียนรู้ผ่านการจัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการ การสร้างเครือข่าย อาเซียน และการส่งเสริมปลูกฝังทัศนคติที่ดีในการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมอาเซียนให้นิสิตในระดับ ปริญญาตรี ๓) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมไทย-เมียนมาร์โดยใช้การวิจัยเป็นฐานของ สถาบันอุดมศึกษาในสังคมไทย คือรูปแบบที่เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นจากการจัดการเรียนรู้โดย มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยจัดโครงการที่เปิดโอกาสให้นิสิตได้ไปเรียนรู้เกี่ยวกับความเป็นพม่าใน โรงเรียนโดยใช้ประสบการณ์ตรงเชิงพื้นที่ การฝึกปฏิบัติการทางภาษาในโรงงานที่มีชาวเมียนมาร์ ทางานอยู่ ในขณะที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้ทาโครงการส่งเสริมให้นิสิตได้ทา กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานเกี่ยวกับการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมเมียนมาร์ภายใต้แนวคิดที่ว่า การเรียนรู้ที่ก่อให้เกิดการพัฒนา โดยจัดจาลองกิจกรรมนานิสิตไปเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมในประเทศ เมียนมาร์ เพื่อให้นิสิตไทยได้รับประสบการณ์ ความเข้าใจ โดยเป็นการวิจัยภาคสนามจากชุด ปฏิบัติการจริงที่ทาให้นิสิตได้สร้างชุดความรู้อันเป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยด้วย และการจัดกิจกรรมเชิง ปฏิบัติการร่วมกันระหว่างนิสิตเมียนมาร์และนิสิตไทยที่ทาให้เกิดการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมผ่านงาน เขียนบทความวิชาการของนิสิต มีเนื้อหาประกอบด้วย ด้านการศึกษา ด้านการศึกษาของคณะสงฆ์ ด้านพระพุทธศาสนา ด้านการปฏิบัติวิปัสสนา ด้านศาสนาและปรัชญา ด้านความเป็นชาติพันธุ์ ด้าน ประวัติศาสตร์ ด้านประเพณีวัฒนธรรม ด้านวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ ด้านการพัฒนาการเกษตรและ เศรษฐกิจ และด้านการพัฒนาประเทศ มีผลงานของนิสิตจานวน ๘๗ เรื่อง คิดเป็นร้อยละ ๙๖.๖๗ ของจานวนนิสิตที่เข้าร่วมกิจกรรมเชิงปฏิบัติการ ดังนั้น รูปแบบการจัดการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมไทย- เมียนมาร์โดยใช้การวิจัยเป็นฐานของสถาบันอุดมศึกษาในสังคมไทยเป็นรูปแบบที่มีการวิจัยเป็นฐานใน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และมี ๓ รูปแบบที่เป็นองค์ประกอบร่วม คือ ๑) รูปแบบที่เกิดจากการจัด การศึกษาเชิงพื้นที่ ๒) รูปแบบที่เกิดจากการจัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการ และ ๓) รูปแบบที่เกิดจากการ จัดกิจกรรมการเรียนการสอนในชั้นเรียน |
URI: | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/470 |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2560-228รองศาสตราจารย์ ดร.พิเชฐ ทั่งโต.pdf | 16.85 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.