Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/468
Title: | ประชาคมหมู่บ้านโดยการมีส่วนร่วมเชิงลึกของประชาชน เพื่อความโปร่งใสในการพัฒนาท้องถิ่น |
Other Titles: | Village Community Meeting through In-depth People’s Participation For Transparency in Local Development |
Authors: | จันทร์โสดา, สมนึก ธมฺมจาโร, สิริชัย สมาจาโร, สมพล, ขันธวิชัย, ศราวุธ, อุดมโชคนามอ่อน, ไชยสิทธิ์ |
Keywords: | ประชาคมหมู่บ้าน การมีส่วนร่วม ความโปร่งใส การพัฒนาท้องถิ่น |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
Abstract: | ผลงานวิชาการรับใช้สังคมครั้งนี้ ได้ดาเนินการตามวัตถุประสงค์และขั้นตอน ดังนี้ (๑) ศึกษาปัญหาการจัดประชาคมหมู่บ้านโดยการมีส่วนร่วมเชิงลึกของประชาชนเพื่อความโปร่งใสใน การพัฒนาท้องถิ่น ในพื้นที่ตาบลกระโสบ อาเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี (๒) นาผลที่ได้ จากการศึกษาปัญหาการจัดประชาคมหมู่บ้านไปสู่การปฏิบัติจริง โดยร่วมกับประชาชนสารวจข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล ค้นหาปัญหา ดาเนินโครงการเพื่อแก้ปัญหารวมถึงการควบคุมติดตามและขยายผล (๓) ประชาชนนาองค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการปฏิบัติจริง ไปขยายผลในการจัดทาประชาคมหมู่บ้านเพื่อ จัดทาแผนงานโครงการระดับหมู่บ้านและระดับตาบล ผลการดาเนินการ ๑. ผลการศึกษาสภาพปัญหาการจัดประชาคมหมู่บ้าน พบว่าโครงการที่ผ่านประชาคม ส่วนใหญ่เป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน มีการเสนอโครงการวัสดุจัดทาปุ๋ยอินทรีย์แต่ไม่ผ่านมติ ปัญหาสาคัญที่พบคือ การตัดสินใจเลือกโครงการในวันเดียว ประชาชนไม่มีโอกาสร่วมศึกษาข้อมูลเชิง ลึกในผลได้ผลเสียของโครงการก่อนลงมติเลือกโครงการ ๒. นาปัญหาที่พบจากการจัดประชาคมหมู่บ้านไปสู่การปฏิบัติจริงร่วมประชุม คณะกรรมการหมู่บ้าน พบปัญหาสาคัญคือหนี้สินรายครัวเรือนจากการซื้อปุ๋ยเคมีแม้ว่าชุมชนจะเคย ได้รับการสนับสนุนเครื่องอัดเม็ดปุ๋ยอินทรีย์จากรัฐแต่ไม่เคยนาเครื่องอัดเม็ดปุ๋ยอินทรีย์มาใช้ประโยชน์ มีบางหมู่บ้านได้นาไปใช้ประโยชน์แต่คุณภาพปุ๋ยไม่ดีทาให้ประชาชนขาดความเชื่อมั่นในโครงการปุ๋ย อินทรีย์อัดเม็ดและกลับมาใช้ปุ๋ยเคมีเช่นเคยแม้ว่าระยะต่อมามีผู้เสนอโครงการวัสดุปุ๋ยอินทรีย์แต่ก็ไม่ สามารถผ่านมติประชาคม ร่วมกับชุมชนสารวจ ปัญหาความต้องการค้นหาศักยภาพ ประสบการณ์ และทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนพบว่า จุดแข็งของชุมชน คือมีความสามัคคีคณะกรรมการหมู่บ้านมี ความสัมพันธ์ที่ดีกับประชาชนและพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีกว่า จุดอ่อนสาคัญที่พบ คือ ประชาชนไม่ได้มีส่วนในการใช้ศักยภาพหรือพัฒนาศักยภาพของตนจากโครงการที่ผ่านการลงมติ ข ประชาคมสิ่งที่คุกคามที่สาคัญ คือภาระหนี้สินของประชาชนจากการลงทุนภาคเกษตร โอกาสที่ สาคัญ ของชุมชนคือการใช้ศักยภาพและทรัพยากรในชุมชนโดยเฉพาะภาคเกษตรเพื่อหาทางออกใน การลดภาระหนี้สินและเพิ่มรายได้ หาแนวทางการใช้ศักยภาพและทรัพยากรในชุมชน ได้หารือกับ คณะกรรมการหมู่บ้านกาหนดให้มีการเสวนาเกษตรอินทรีย์เพื่อพึ่งพาตนเองโดยก่อนการเสวนา ได้ ทดลองปุ๋ยอินทรีย์จากไส้เดือนปลูกพืชผักในชุมชน และนาข้อมูลจากการทดลองไปประกอบการเสวนา ในการเสวนาพบว่า ผู้เข้าร่วมเสวนาเกือบทั้งหมดมีหนี้สินจากการซื้อปุ๋ยเคมีโดยมีเครือข่ายธุรกิจปุ๋ยเคมี ที่ฝังรากลึกในระบบกองทุนหมู่บ้านและระบบสหกรณ์ชุมชน การเสวนาครั้งนี้ได้สร้างแรงจูงใจให้ ประชาชนต้องการที่จะมีโครงการทดลองทาเกษตรอินทรีย์โดยลงมติเลือกครอบครัวทดลองการใช้ปุ๋ย อินทรีย์เพื่อขยายผลทั้งในชุมชนและหมู่บ้านใกล้เคียงได้ร่วม การดาเนินโครงการและการติดตามผล ตัวแทนชุมชนร่วมสนทนากลุ่มศึกษาการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากไส้เดือน และได้นาความรู้มาทาความ เข้าใจกับครอบครัวตัวแทนทดลองเกษตรอินทรีย์ โดยร่วมกันทดลองทานา ปลูกผักและทาสวน ผลการ ทดลองเกิดนวัตกรรมปุ๋ยไส้เดือนผสมกากชูรสอินทรีย์ (๘:๑) ในการทานาที่ทาให้คุณภาพดินดีขึ้นและมี การเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศในนาข้าว ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และขยายผลการทดลองไปใช้ในการปลูก พืชไร่ พืชสวน และผัก ทั้งในชุมชนและในหมู่บ้านอื่น พบว่าให้ผลผลิตดีกว่าปุ๋ยเคมีและค่าใช้จ่ายต่า กว่า นอกจากนี้ประชาชนสามารถผลิตปุ๋ยไส้เดือนเองได้ด้วยต้นทุนต่าจากวัตถุดิบที่มีอยู่ในชุมชนสิ่ง สาคัญคือปัจจัยภายในของประชาชนที่จะต้องมีความศรัทธา มีความอดทนอดกลั้นที่จะติดตามผลอย่าง ต่อเนื่อง ๓. การเสวนาประชาคมหมู่บ้านและการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ สาขาวิชารัฐศาสตร์และ รัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตอุบลราชธานี ได้ร่วมกับ ชุมชนบ้านเค็ง หมู่ที่ ๕ ตาบลกระโสบจัดเสวนาประชาคมหมู่บ้านและการพัฒนาเกษตรอินทรีย์โดยมี อาจารย์นิสิตและประชาชนเข้าร่วม พบว่า ผลการประเมินความพึงพอใจในการทาประชาคมหมู่บ้าน และการทาเกษตรอินทรีย์ทั้งในส่วนของประชาชนและในส่วนของนิสิตมีระดับความพึงพอใจตรงกัน กล่าวคือค่าเฉลี่ยที่มีความพึงพอใจมากที่สุดคือการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมประชาคมและ ทดลองเกษตรอินทรีย์ ส่วนค่าเฉลี่ยความพึงพอใจที่น้อยที่สุดคือความเข้าใจในสภาพปัญหาหนี้สินของ ประชาชนที่ต้องได้รับการแก้ไขเชิงโครงสร้างซึ่งขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐโดยเฉพาะเกี่ยวกับการลดใช้ ปุ๋ยเคมีและส่งเสริมเกษตรอินทรีย์อย่างไรก็ตามประชาชนมีความมั่นใจมากขึ้นในการที่จะเสนอ โครงการวัสดุปุ๋ยอินทรีย์ในการจัดประชาคมร่วมกับภาครัฐในโอกาสต่อไป |
URI: | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/468 |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2561-348 ผศ.(พิเศษ) สมนึก จันทร์โสดา.pdf | 6.29 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.