Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/467
Title: รูปแบบและกระบวนการสร้างจิตสำนึกสาธารณะเพื่อการจัดการท่องเที่ยวเชิงพุทธ ของแหล่งท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาในล้านนา
Other Titles: THE MODEL AND PROCESS TO CREATE PUBLIC CONSCIOUSNESS FOR THE MANAGEMENT OF BUDDHIST TOURISM IN LANNA
Authors: ชยาภินนฺโท (เลาลี), พระทิพย์พนากรณ์
Keywords: รูปแบบและกระบวนการสร้างจิตสำนึกสาธารณะ
การจัดการท่องเที่ยวเชิงพุทธ
แหล่งท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาในล้านนา
Issue Date: 2559
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัยเรื่อง “รูปแบบและกระบวนการสร้างจิตสำนึกสาธารณะเพื่อการจัดการท่องเที่ยวเชิงพุทธของแหล่งท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาในล้านนา” มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อพัฒนารูปแบบและกระบวนการจัดการท่องเที่ยวเชิงพุทธเพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกสาธารณะของวัดในล้านนา ๒) เพื่อพัฒนาองค์ประกอบ ตัวชี้วัด และแนวทางพัฒนาจิตสำนึกสาธารณะผ่านกิจกรรมการท่องเที่ยวทางพุทธศาสนาในล้านนา และ ๓) เพื่อเสริมสร้างคุณค่าและกระบวนการพัฒนาจิตสำนึกสาธารณะของนักท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวทางพุทธศาสนาในล้านนา จากผลการศึกษา พบว่า รูปแบบและกระบวนการจัดการท่องเที่ยวเชิงพุทธเพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกสาธารณะของวัดในล้านนา แบ่งออกเป็น ๔ รูปแบบ คือ ๑) การท่องเที่ยววัดเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ๒) การท่องเที่ยววัดเชิงนิเวศ ๓) การท่องเที่ยววัดเชิงการเรียนรู้หลักพุทธธรรม และ ๔) การท่องเที่ยววัดเชิงการปฏิบัติธรรม องค์ประกอบ ตัวชี้วัด และแนวทางพัฒนาจิตสำนึกสาธารณะผ่านกิจกรรมการท่องเที่ยวทางพุทธศาสนาในล้านนาตามหลักสัปปายะ ๗ เป็นแนวคิดในการพัฒนาปรับปรุงที่อยู่อาศัยหรือวัดให้เป็นสถานที่ให้เป็นที่สบายและเหมาะสมเกื้อกูลกับบุคคลที่อยู่อาศัยและบุคคลที่เข้ามาใช้ประโยชน์ ๗ ด้าน คือ ๑) อาวาสสัปปายะ (ที่อยู่อาศัยเป็นที่สบาย) ๒) โคจรสัปปายะ (แหล่งอาหารเป็นที่สบาย) ๓) ภัสสสัปปายะ (ถ้อยคำเป็นที่สบาย) ๔) ปุคคลสัปปายะ (บุคคลเป็นที่สบาย) ๕) โภชนสัปปายะ (อาหารเป็นที่สบาย) ๖) อุตุสัปปายะ (อุณหภูมิเป็นที่สบาย) และ ๗) อิริยาบถสัปปายะ (การเคลื่อนไหวเป็นที่สบาย) การเสริมสร้างคุณค่าและกระบวนการพัฒนาจิตสำนึกสาธารณะของนักท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวทางพุทธศาสนาในล้านนา มีเป้าหมาย ๒ ประการ คือ (๑) คุณค่าและกระบวนการพัฒนาจิตสำนึกสาธารณะทางกาย ได้แก่ กายภาวนา (Physical Development) เป็นการฝึกอบรมตนเอง และศีลภาวนา (Social Development) การฝึกอบรมพฤติกรรมทางด้านสังคม (๒) คุณค่าและกระบวนการพัฒนาจิตสำนึกสาธารณะทางจิต ได้แก่ จิตตภาวนา (Emotional Development) เป็นการฝึกอบรมด้านจิตใจ ปัญญาภาวนา (Wisdom Development) การฝึกอบรมด้านปัญญา
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/467
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.