Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/466
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorมโนรัตน์, พิทวัฒน์-
dc.date.accessioned2022-03-19T06:51:54Z-
dc.date.available2022-03-19T06:51:54Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/466-
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยในเรื่อง มาตรการการกาหนดโทษทางอาญาฐานแต่งกายหรือใช้เครื่องหมาย ที่แสดงว่าเป็นภิกษุสามเณรในพระพุทธศาสนานี้ โดยที่พบว่าในปัจจุบันมักจะมีเรื่องปรากฏตาม ข่าวสารทั้งวิทยุและโทรทัศน์อยู่เสมอว่ามีผู้แต่งกายเลียนแบบพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา หรือที่ เรียกว่า “พระปลอม” คือผู้ที่ไม่ได้รับการบรรพชาอุปสมบทโดยชอบด้วยกฎหมาย นุ่งห่มผ้าเหลืองแต่ง กายหรือใช้เครื่องหมายแสดงตนว่าเป็นพระภิกษุหรือสามเณรในพระพุทธศาสนา อาศัยผ้าเหลืองออก เรี่ยไรเงินจากประชาชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา ซึ่งมีทั้งที่เป็นชาวไทยและชาวต่างประเทศ พฤติกรรมดังกล่าวสร้างความเสื่อมเสียแก่วงการคณะสงฆ์และความศรัทธาในพระพุทธศาสนา ถือว่า เป็นบ่อนทาลายพระพุทธศาสนาอีกทางหนึ่ง ในกฎหมายอาญาของไทยมีการบัญญัติกฎหมายเพื่อลงโทษแก่บุคคลผู้ไม่ได้เป็นพระภิกษุ สามเณรในพระพุทธศาสนาหรือบุคคลผู้บวชโดยมิชอบด้วยพระธรรมวินัยและกฎหมายทั้งมีบัญญัติไว้ ในประมวลกฎหมายอาญา (มาตรา ๒๐๘) และที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ แต่จะเห็นได้ว่าไม่เป็นที่ยาเกรง ของบรรดามิจฉาชีพผู้มีเจตนานุ่งห่มผ้าเหลืองโดยมิได้มีการบวชจริง ๆ ใช้เป็นเครื่องมือในการแสวงหา ประโยชน์สาหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ อาจจะด้วยอัตราโทษสาหรับความผิดดังกล่าวมีอัตราโทษ ต่าทาให้ไม่เป็นที่ยาเกรงหรือเกิดการเข็ดหลาบ จึงควรศึกษาเพื่อหามาตรการกาหนดโทษสาหรับ ผู้กระทาผิดฐานแต่งกายหรือใช้เครื่องหมายที่แสดงตนว่าเป็นภิกษุสามเณรในพระพุทธศาสนาเสียใหม่ เพื่อให้เหมาะสมกับสภาวการณ์ในปัจจุบันและเหมาะสมกับบริบทของสังคม ผลการวิจัยพบว่าการกระทาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๐๘ สามารถ แยกลักษณะการกระทาความผิดหลัก ๆ ได้ ๕ กรณี คือ ๑. การกระทาความผิดโดยบุคคลที่มิได้บวชเป็นพระภิกษุหรือสามเณรในพระพุทธศาสนา โดยชอบด้วยพระธรรมวินัยและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (พระ-เณรปลอม) แต่ได้นุ่งห่มผ้าเหลือง ใช้ เครื่องหมาย เช่น บาตรพระ ผ้าจีวร ผ้าสบง ผ้าอาบน้าฝน ผ้าอังสา ย่ามสะพาย โดยมิชอบ เพื่อให้ บุคคลอื่นเชื่อว่าตนเป็นพระภิกษุหรือสามเณรในพระพุทธศาสนา ข ๒. ความผิดเกิดจากกรณีที่เป็นพระภิกษุและได้ล่วงละเมิดพระธรรมวินัยเป็นอาจิณจนมีคา วินิจฉัยให้สละสมณเพศแล้ว แต่กลับมาห่มผ้ากาสาวพัสตร์โดยมิได้รับการอุปสมบทโดยชอบด้วยพระ ธรรมวินัยและโดยมีเจตนาเพื่อให้บุคคลอื่นเชื่อว่าตนเป็นภิกษุหรือสามเณรในพระพุทธศาสนา ๓. ความผิดเกิดจากกรณีที่พระภิกษุและถูกกล่าวหาว่ากระทาความผิดอาญาตามความใน มาตรา ๒๙ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ และได้สละสมณเพศแล้ว แต่กลับมาห่มผ้ากาสาวพัสตร์โดยมิได้รับการ อุปสมบทโดยชอบด้วยพระธรรมวินัยและโดยมีเจตนาเพื่อให้บุคคลอื่นเชื่อว่าตนเป็นภิกษุหรือสามเณร ในพระพุทธศาสนา ๔. ความผิดจากกรณีที่พระภิกษุผู้มิได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอุปัชฌาย์ตามกฎมหาเถร สมาคม ฉบับที่ ๑๗ (พ.ศ. ๒๕๓๖) อันเป็นผลให้ผู้อุปสมบทนั้นไม่เป็นพระภิกษุโดยชอบด้วยพระธรรม วินัยจึงมีความผิดฐานแต่งกายหรือใช้เครื่องหมายที่แสดงว่าเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา ๕. ความผิดเกิดจากกรณีที่ผู้กระทาความผิดได้พ้นจากความเป็นพระภิกษุเพราะต้อง ปาราชิกมาแล้วไม่ว่าจะมีคาวินิจฉัยตามความในมาตรา ๒๕ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ มาแล้วหรือไม่ก็ตาม แต่ มารับบรรพชาอุปสมบทใหม่โดยกล่าวความเท็จหรือปิดบังความจริงต่อพระอุปัชฌาย์ ปัญหาดังกล่าวมาข้างต้นถือว่ามีความจาเป็นและสาคัญเป็นอย่างยิ่งต่อพระพุทธศาสนาซึ่ง หากพุทธบริษัท ๔ จะดารงพระพุทธศาสนาให้มั่นคงสถาพรอยู่ต่อไป ไม่เปิดโอกาสให้บุคคลใดบุคคล หนึ่งอาศัยผ้าเหลืองเพื่อแสดงหาผลประโยชน์ หรือมาห่มผ้าเหลืองโดยไม่ชอบด้วยพระธรรมวินัยและ กฎหมาย กฎ ระเบียบในการปกครองคณะสงฆ์ จึงสมควรแก้ไขปรับปรุงโดยการพิจารณาเพิ่มอัตรา โทษทั้งโทษจาคุกและโทษปรับโดยการเสนอให้มีการแก้ไขทั้งในส่วนของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๐๘ และโทษที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ ต่อไปen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectมาตรการen_US
dc.subjectการลงโทษทางอาญาen_US
dc.subjectแต่งกายen_US
dc.subjectใช้เครื่องหมายen_US
dc.subjectพระภิกษุหรือสามเณรen_US
dc.subjectพระพุทธศาสนาen_US
dc.titleมาตรการการลงโทษทางอาญาฐานแต่งกายหรือใช้เครื่องหมาย แสดงว่าเป็นพระภิกษุหรือสามเณรในพระพุทธศาสนาen_US
dc.title.alternativeThe Punishment Measures of Criminal Base on Dressing and Symbol usage as Buddhist Monks and Novices in Thailanden_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2560-237นายพิทวัฒน์ มโนรัตน์.pdf2.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.