Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/465
Title: ศึกษาวิเคราะห์การพัฒนาปัญญาตามแนวพุทธจริยศาสตร์ ของสำนักปฏิบัติธรรมในจังหวัดขอนแก่น
Other Titles: An Analytical Study of the Development of the Wisdom By Way of the Buddhist Ethics of the Meditation Centers In Khon Kean Province
Authors: วงศ์พรพวัณ, จักรพรรณ
Keywords: การพัฒนา
ปัญญา
พุทธจริยศาสตร์
สำนักปฏิบัติธรรม
จังหวัดขอนแก่น
Issue Date: 2560
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเรื่อง “ศึกษาวิเคราะห์การพัฒนาปัญญาตามแนวพุทธจริยศาสตร์ของสานักปฏิบัติ ธรรมในจังหวัดขอนแก่น” มีวัตถุประสงค์ ๓ ข้อ คือ ๑) เพื่อศึกษาแนวคิดการพัฒนาปัญญาตามแนว พุทธจริยศาสตร์ ๒) เพื่อศึกษาการพัฒนาปัญญาตามแนวพุทธจริยศาสตร์ของสานักปฏิบัติธรรรมใน จังหวัดขอนแก่น ๓) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ผลการพัฒนาปัญญาตามแนวพุทธจริยศาสตร์ของสานักปฏิบัติ ธรรมในจังหวัดขอนแก่น ผลการวิจัย พบว่า การพัฒนาปัญญาตามแนวพุทธจริยศาสตร์ จะต้องปฏิบัติให้ไปตาม กระบวนการของหลักไตรสิกขาเพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุดของชีวิต โดยเริ่มจากหลักศีลสิกขา หรือ กระบวนการระเบียบปฏิบัติ (วินัย) เพื่อให้เกิดวาจาชอบ การกระทาชอบ และการประกอบอาชีพชอบ เป็นแนวทางและกรอบที่กากับการกระทาหรือการประกอบกิจกรรมต่างๆ ให้เกิดความเรียบร้อยดีงาม จากนั้นก็ยกขึ้นสู่ระดับสมาธิสิกขาหรือกระบวนการฝึกอบรมจิต เพื่อให้จิตมีการพัฒนาความสานึกให้ เกิดความสมดุลระหว่างกายและจิตเป็นกระบวนการเกื้อหนุนให้สิ่งที่รับเข้ามาในชีวิตดาเนินไปด้วย ประสิทธิภาพสูงสุด และกระบวนสุดท้ายคือปัญญาสิกขา หรือกระบวนการทางความรู้ เป็นวิธีการ อบรมศึกษาเพื่อให้เกิดวิชาความรู้และปัญญา ซึ่งจะยังผลให้เกิดมีทัศนะ ความเชื่อ ค่านิยมที่ถูกต้อง มี ความดาริตริตรองที่ชอบ ถือได้ว่าเป็นกระบวนการพัฒนาปัญญาขั้นสูงสุดที่สามารถควบคุมตนเองและ สภาวะต่างๆ ที่กระทบเข้ามาสู่ชีวิตได้อย่างดีเยี่ยม การพัฒนาปัญญาตามหลักไตรสิกขาที่เชื่องโยงกับอริยมรรค ๘ พบว่า ปัญญาตามแนวพุทธจ ริยศาสตร์เกิดขึ้นจากกระบวนการพัฒนา ๓ ระดับด้วยกัน คือ สุตมยปัญญา จินตามยปัญญา และ ภาวนามยปัญญา ปัญญาระดับภาวนามยปัญญาถือว่าเป็นปัญญาขั้นสูงสุด เพราะเป็นวิธีที่สร้างสรรค์ ปัญญาขึ้นมาได้ด้วยตนเอง โดยผ่านกระบวนการลงมือปฏิบัติ จนกระทั่งเกิดประจักษ์แจ้งแห่งเหตุของ ปัญหา และสามารถแก้ปัญหานั้นได้เสร็จสิ้นด้วยตนเอง การที่จะปฏิบัติจนบรรลุถึงปัญญาขั้นสูงสุดนี้ได้ ต้องอาศัยหลักไตรสิกขาที่ผ่านการเชื่อมโยงกับหลักอริยมรรค ๘ นั่นคือการนาเอาหลักอริยมรรค ๘ มา จัดเป็นแนวปฏิบัติให้เหลือเพียง ๓ หมวด คือ หมวดแห่งศีลสิกขา หมวดแห่งสมาธิสิกขา และหมวด แห่งปัญญาสิกขา ฉะนั้นการนาหลักไตรสิกขามาปฏิบัติอย่างเป็นกระบวนการ จึงทาให้ได้ศึกษาหรือ ปฏิบัติตามหลักอริยมรรค ๘ ไปด้วย ในทางพุทธจริยศาสตร์ถือว่าเป็นการพัฒนาปัญญาแบบครบวงจร นั่นคือการปฏิบัติตามหลักมัชฌิมาปฏิปทาหรือทางสายกลาง โดยเบื้องต้นให้ผู้ปฏิบัติมีความคิดเห็นที่ ถูกต้องเสียก่อน แล้วค่อยเพียรสร้างปัญญาในทางโลก (โลกิยปัญญา) จากนั้นจึงค่อยพัฒนาปัญญาใน ระดับสูงขึ้นต่อไปจนบรรลุถึงปัญญาขั้นสูงสุด (โลกุตรปัญญา) หรือ นิพพาน ผลของการพัฒนาปัญญาของสานักปฏิบัติธรรมในจังหวัดขอนแก่น พบว่า สานักปฏิบัติธรรม ในจังหวัดขอนแก่น ได้ใช้หลักไตรสิกขาและหลักสติปัฏฐาน ๔ เป็นแนวทางในการพัฒนาปัญญาทั้ง พระภิกษุและประชาชนทั่วไป โดยเน้นให้พิจารณาทาความเข้าใจในเรื่องของกาย เวทนา จิต ธรรม ผล ของการนาหลักสติปัฏฐาน ๔ ไปปฏิบัติในชีวิตประจาวัน ทาให้รู้เท่าทันสภาวะของอารมณ์กับสิ่ง ภายนอกที่มากระทบจิตได้ดีขึ้น ทาให้รู้เข้าใจสภาวะของความเป็นจริงในชีวิตมากขึ้น การยึดติดแบบ โลกๆ ทั่วไปก็ลดน้อยลง ทาให้หันมาศึกษาเรียนรู้ตัวเองมากขึ้น ทาให้การใช้ชีวิตอยู่ในสังคมแห่งการ เปลี่ยนแปลงได้ดีขึ้น ทาให้ไม่กระวนกระวายใจรู้เท่าทันสภาวะของจิตใจของตน โดยไม่ไห้ตกเป็นทาส สิ่งที่ยั่วยวนใจอันจะนาไปสู่ความเสื่อมในชีวิต ทาให้รู้ว่าสิ่งไหนควรทา สิ่งไหนไม่ควร สิ่งไหนผิด สิ่งไหน ถูก รู้จักหลีกเลี่ยงทางแห่งความเสื่อม และปฏิบัติตนให้อยู่แต่ในสิ่งที่เป็นกุศลธรรม
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/465
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2560-095 จักรพรรณ วงศ์พรพวัณ.pdf5.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.