Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/461
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสินธุ์นอก, บุญส่ง-
dc.date.accessioned2022-03-19T06:47:50Z-
dc.date.available2022-03-19T06:47:50Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/461-
dc.description.abstractการวิจัยเรื่องนี้การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาจากเอกสาร การสัมภาษณ์เชิง ลึก การสังเกตและการประชุมกลุ่ม มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษานโยบายยุทธศาสตร์ของการท่องเที่ยวทาง พระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมไทย-ลาว ๒) เพื่อศึกษาผลกระทบของการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาและ วัฒนธรรมไทย-ลาว ๓) เพื่อนาเสนอแนวทางยุทธศาสตร์ของการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาและ วัฒนธรรมไทย-ลาว จากการศึกษาพบว่า นโยบายยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาและ วัฒนธรรมไทย-ลาว ได้แก่ วิสัยทัศน์การท่องเที่ยวไทย พ.ศ. ๒๕๗๙ ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๘๐) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๔) แผนพัฒนาการ ท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๔) คาแถลงนโยบายของนายกรัฐมนตรีต่อสภานิติบัญญัติ แห่งชาติ (พ.ศ. ๒๕๕๗) และแผนพัฒนาจังหวัดหนองคาย (พ.ศ ๒๕๖๑-๒๕๖๔) จากการประเมินสถานการณ์และสภาวะแวดล้อมของ ผลกระทบของการท่องเที่ยวทาง พระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมไทย-ลาว พบว่า จุดแข็ง (Strength) คือ การมีแหล่งท่องเที่ยวทาง พระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมไทย-ลาวที่มีเอกลักษณ์และตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวได้ ภาครัฐมีนโยบายส่งเสริมสนับสนุนและผลักดันให้ธุรกิจการท่องเที่ยวเติบโต มีการคมนาคมขนส่งที่สะดวกต่อ การเดินทาง มีกิจกรรมการท่องเที่ยวทางพุทธศาสนาที่หลากหลาย เข้ากับความเชื่อ ความศรัทธา ตลอดทั้งปี ทาให้สามารถเดินทางท่องเที่ยวได้ทุกช่วงระยะเวลา และมีระบบและเทคโนโลยีสารสนเทศ แอพลิเคชั่น บน เครื่องมือสื่อสารและระบบการจัดการที่มีประสิทธิภาพที่เอื้อต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว แม้จะมี อุปสรรค (Threats) เกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวมีความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติ การคมนาคมในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวทาง พุทธศาสนาบางแห่งยังไม่สะดวกและไม่สามารถเข้าถึง มีความขัดแย้งทางสังคม เชื้อชาติ และวิกฤตทาง การเมืองในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้าโขงไทย-ลาว นักท่องเที่ยวบางกลุ่มมีการปฏิบัติตัวไม่เหมาะสม มีการทาลาย พุทธศาสนสถาน มีมิจฉาชีพ นโยบายในการจัดการการท่องเที่ยวในอนุภูมิภาคลุ่มน้าโขงไทย-ลาว บาง นโยบายไม่สอดคล้องและไม่เอื้อประโยชน์ต่อกันก็ตาม และมีจุดอ่อน (Weaknesses) เรื่องของการ บารุงรักษาแหล่งท่องเที่ยวที่ยังไม่ดีพอ การประชาสัมพันธ์ยังมีน้อย การดูแลรักษาความปลอดภัยและความ สะอาดในแหล่งท่องเที่ยวไม่มีประสิทธิภาพ ช่วงเวลาโปรแกรมการท่องเที่ยวไม่มีความแน่นอน สมรรถนะ ของบุคลากรด้านการท่องเที่ยวยังไม่ดีพอทาให้ไม่สามารถสื่อสารและประชาสัมพันธ์ถึงข้อมูลที่เป็นแก่นแท้ ของสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ได้ รวมถึงการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนยังมีน้อยทาให้คนในชุมชนไม่เกิด จิตสานึกร่วมกันในการพัฒนา แต่ในด้านโอกาส (Opportunities) ของการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนา และวัฒนธรรมของไทย-ลาว ก็มีแนวโน้มการเติบโตขึ้นเนื่องจากความต้องการด้านการท่องเที่ยวเชิง ประสบการณ์ของนักท่องเที่ยวมีจานวนเพิ่มมากขึ้น มีนักท่องเที่ยวที่มีอายุช่วงสูงวัยมีและมีความต้องการใน การท่องเที่ยวแสวงบุญมากขึ้น มีการเดินทางภายในอนุภูมิภาคลุ่มน้าโขงไทยมากขึ้นรวมถึงมีการสนับสนุน การท่องเที่ยวเชิงอัตลักษณ์จากทางภาครัฐทาเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย ข การวิจัยครั้งนี้ได้นาเสนอแนวทางยุทธศาสตร์ของการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรม ไทย-ลาวจากการศึกษาไว้ ๕ ยุทธศาสตร์ ดังนี้ ยุทธศาสตร์ที่ ๑ การพัฒนาคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวทาง พระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมไทย-ลาว ในจังหวัดหนองคาย ให้มีสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยวที่ สมดุลและยั่งยืน ยุทธศาสตร์ที่ ๒ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอานวยความสะดวก เพื่อรองรับการ ขยายตัวของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมไทย-ลาว ในจังหวัดหนองคาย ยุทธศาสตร์ที่ ๓ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาการ ท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมไทย-ลาว ในจังหวัดหนองคา ยุทธศาสตร์ที่ ๔ การสร้างความ สมดุลให้กับการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมไทย-ลาว ในจังหวัดหนองคาย และยุทธศาสตร์ ที่ ๕ การบูรณาการการบริหารจัดการการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมไทย-ลาว ในจังหวัด หนองคาย และการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectนโยบายen_US
dc.subjectยุทธศาสตร์en_US
dc.subjectผลกระทบen_US
dc.subjectการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาen_US
dc.subjectวัฒนธรรม ไทย-ลาวen_US
dc.titleการวิเคราะห์นโยบายยุทธศาสตร์และผลกระทบของการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนา และวัฒนธรรมของไทย-ลาวen_US
dc.title.alternativeAn analysis of strategic policy and the impact of the buddhist tourism and culture of thai – laosen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2561-027ดร. บุญส่ง สินธุ์นอก และคณะ.pdf11.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.