Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/460
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorกิตฺติเมธี (สอนเสนา), พระมหากิตติ-
dc.contributor.authorองฺกุรสิริ (จิตอารี), พระมหาอนันต์-
dc.date.accessioned2022-03-19T06:46:21Z-
dc.date.available2022-03-19T06:46:21Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/460-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาปัญหาผลกระทบด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของชุมชนหมู่บ้านพุทธเกษตรในจังหวัดน่าน 2) เพื่อศึกษาการพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในการประกอบอาชีพของชุมชนหมู่บ้านพุทธเกษตรในจังหวัดน่าน และ3) เพื่อศึกษาวิธีคิดและการจัดการป่าขุมชนของหมู่บ้านพุทธเกษตรในจังหวัดน่านการศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาวิจัยแบบผสมผสานทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณที่เชื่อมโยงข้อมูลความคิดเห็น การจัดการป่าของชุมชนหมู่บ้านพุทธเกษตรในจังหวัดน่าน เข้าด้วยกัน โดยมีวิธีการศึกษาใน ๒ ลักษณะการศึกษาวิจัยในเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ศึกษาความคิดเห็นจากประชาชนในพื้นที่เป็นกรณีที่ศึกษา โดยใช้แบบสอบถาม (questionnaire) เป็นเครื่องมือเพื่อทราบถึงการจัดการป่าของชุมชนหมู่บ้านพุทธเกษตรในจังหวัดน่าน เชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการสัมภาษณ์ (Inter view)จากพื้นที่กลุ่มเป้าหมายคือหมู่บ้านดงป่าสัก อำเภอภูเพียง หมู่บ้านพงศ์ อำเภอสันติสุข หมู่บ้านหลวง อำเภอบ้านหลวง หมู่บ้านศิลาเพชร อำเภอปัว และผู้นำพระสงฆ์กลุ่มฮักเมืองน่าน ในประเด็นของการกำหนดรูปแบบและกระบวนการสร้างเครือข่ายหมู่บ้าน การพัฒนาศักยภาพเครือข่าย และยุทธศาสตร์ของการจัดป่าและสัมมาชีพในพื้นที่จังหวัดน่าน ผลการวิจัยพบว่า ๑. ศึกษาปัญหาผลและกระทบด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของชุมชนหมู่บ้านพุทธเกษตรในจังหวัดน่าน จากลักษณะภูมิอากาศที่มีฝนน้อยกว่าปกติ หรือฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาลเป็นระยะเวลานานกว่าปกติ และครอบคลุมพื้นที่บริเวณกว้างในพื้นที่ ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมที่มีต่อการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับรู้ปัญหาน้อย ไม่มีการตั้งกฎของชุมชนในการใช้และการบริหารทรัพยากรเพื่อรองรับปัญหาและผลกระทบ ตลอดถึงการประเมินปัญหาและผลกระทบหรือติดตามแก้ไขปัญหาการดำเนินงานด้านทรัพยากรอย่างต่อเนื่อง ขาดการค้นหาปัญหาและร่วมแก้ปัญหาในการจัดการในชุมชน ของการศึกษาวิธีคิดและการจัดการป่าของชุมชนหมู่บ้านพุทธเกษตรอนุรักป่าจากการสวดมนต์ยังคงเป็นพิธีกรรมการจัดแบบมีโครงการรองรับซึ่งขาดจิตสำนึกที่แท้จริงกับรูปแบบการอนุรักษ์ เพราะรายได้พอเพียงต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของป่าชุมชนมีน้อย เกิดจากการจัดสรรป่าของชุมชนไม่มีความเสมอภาคอย่างเพียงพอเนื่องจากในชุมชนได้รับผลกระทบจากการประโยชน์ในผืนป่าชุมชนจากการนำหลักสัมมาอาชีพในชุมชนเกษตร เศรษฐกิจในชุมชนมีการขยายตัวสามารถนำมาประกอบเป็นอาชีพหลักได้อยากหลากหลาย เกิดจากการเปลี่ยนแปลงความรู้ และทักษะเพื่อแก้ปัญหาได้ อย่างเหมาะสมด้านความเป็นอยู่สามารถนำเทคโนโลยีอื่น ๆ มาประยุกต์ใช้กับการเกษตรกรวิถีพุทธ พร้อมกับการพัฒนาให้ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและมีความสุข ด้านสติปัญญาจากการสร้างเครือข่ายเกษตรกรวิถีพุทธการพัฒนาการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในการพัฒนาการอนุรักษ์ รวมถึงการพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง ยังไม่ทั่วถึงและสม่ำเสมอโดยให้ชุมชนเกิดความหวงแหนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การคำนึงถึงระยะเวลาในการใช้ให้ยาวนาน และก่อให้เกิดผลเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมจากการนำเอาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมการนำกลับมาใช้ซ้ำอีกได้น้อยการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น การสนับสนุนกระบวนการสร้างเครือข่ายจากภูมิปัญญาท้องถิ่น การฟื้นฟู รื้อฟื้นสิ่งที่ดีงามที่หายไปของภูมิปัญญาท้องถิ่น ตลอดถึงพิธีกรรมประเพณีจากภูมิปัญญาชุมชน ไม่มีการประยุกต์และเปลี่ยนแปลงด้านการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อเสริมสร้างและสร้างความเข้มแข็งของภูมิปัญญาท้องถิ่น ๒. ศึกษาการพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในการประกอบอาชีพของชุมชนหมู่บ้านพุทธเกษตรในจังหวัดน่าน เกษตรประกอบอาชีพเกษตรกรในพื้นที่อาศัยความสมบูรณ์ด้วยการหาของป่าในป่าชุมชนเพื่อสร้างรายได้เสริม มีการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยได้น้อมนำพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและโครงการของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี มีเกษตรผสมผสานในครอบครัว มีการรวมกลุ่มแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่เลี้ยงวัวพื้นบ้านเป็นอาชีพ และเป็นการเลี้ยงแบบปล่อยให้หากินเองตามธรรมชาติเพื่อเป็นการลดต้นทุนการเลี้ยง มีการพึ่งพิงสิ่งแวดล้อมเพื่อทำการเกษตรกรรม โดยอาศัยภูมิปัญญาการเลี้ยงกบ ปลา ไก่ แบบธรรมชาติ เพื่อลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่จะสังเกตปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เช่น มดอพยพ เพื่อดูว่า ฝนก็จะตกและชาวนาจะเริ่มเตรียมดินไถนาปลูกข้าวยางพารา โดยเน้นการพึ่งสิ่งแวดล้อมในการประกอบอาชีพเกษตร ๓. ศึกษาวิธีคิดและการจัดการป่าขุมชนของหมู่บ้านพุทธเกษตรในจังหวัดน่าน การจัดการป่าชุมชนให้เกิดประโยชน์ แต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดนโยบายในการจัดการป่าชุมชนเกษตรกรรมสร้างรายได้แก่ครอบครัว เพื่อลดปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางสังคมมีการใช้ทรัพยากรการจัดการป่าตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงจากแหล่งอาหารธรรมชาติ/แหล่งสมุนไพร /แหล่งท่องเที่ยว /แหล่งเลี้ยงสัตว์/แหล่งวัตถุดิบเพื่อการผลิตวัสดุอุปกรณ์ในครัวเรือนและการเกษตร สร้างรายได้และแหล่งศึกษาเรียนรู้ สำหรับนักอนุรักษ์หรือนักเรียน การจัดการป่าชุมชนให้เกิดประโยชน์ ยังสร้างความชุ่มชื้นของดินและผิวดินที่อุดมสมบูรณ์จากพื้นที่ป่า ช่วยบรรเทาอุทกภัยความรุนแรงของอุทกภัยให้เบาบางลงได้en_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectวิธีคิดและการจัดการป่าen_US
dc.subjectชุมชนหมู่บ้านพุทธเกษตรในจังหวัดน่านen_US
dc.titleศึกษาวิธีคิดและการจัดการป่าของชุมชนหมู่บ้านพุทธเกษตรในจังหวัดน่านen_US
dc.title.alternativeA Study of thinking Method and communityForest Management of Buddhist Agriculture community in Nan Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2561-127 พระมหากิตติ กิตฺติเมธี.pdf5.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.