Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/459
Title: ทุเรียน:กระบวนการพัฒนาพืชสวนและความมั่นคงทางอาชีพตามแนวพุทธ ของประชาชนในจังหวัดศรีสะเกษ
Other Titles: Durian: The Process of development horticulture and career security from Buddhist of people in Sisaket
Authors: แก้วสมุทร์, พระมหาขุนทอง
พระครูไพโรจน์วัฒนาทร
มั่นคง, ฐานิดา
ขอเจริญ, ธยายุส
Keywords: ทุเรียน
กระบวนการพัฒนา
พืชสวน
ความมั่นคงทางอาชีพ
ตามแนวพุทธ
จังหวัดศรีสะเกษ
Issue Date: 2560
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัยเรื่อง “ทุเรียน:กระบวนการพัฒนาพืชสวนและความมั่นคงทางอาชีพตามแนว พุทธของประชาชนในจังหวัดศรีสะเกษ” นี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาการปลูกพืช สวน (ทุเรียน) ของประชาชนในจังหวัดศรีสะเกษ (2) เพื่อศึกษานโยบายและกลไกการส่งเสริมการปลูกพืชสวน (ทุเรียน) ของ อปท. และภาครัฐในจังหวัดศรีสะเกษ (3) เพื่อศึกษาการส่งเสริมความมั่นคงทางอาชีพของกลุ่มผู้ ปลูกพืชสวน (ทุเรียน) ในจังหวัดศรีสะเกษตามแนวพระพุทธศาสนา (4) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ยุทธศาสตร์ มูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจตามแนวพระพุทธศาสนา โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี ทั้งเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและลงพื้นที่เก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามในพื้นที่อาเภอ ขุนหาญ อาเภอกันทรลักษณ์ และอาเภอศรีรัตนะ ในจังหวัดศรีสะเกษ ผลการศึกษาวิจัยพบว่า กระบวนการพัฒนาการปลูกพืชสวน เกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนในจังหวัดศรีสะเกษมีความพึง พอใจต่อการปลูกทุเรียนในระดับน้อย 1) การได้รับความช่วยเหลือจากทางภาครัฐหรือท้องถิ่นในด้าน การพัฒนาการปลูกทุเรียน 2) การติดต่อรับความช่วยเหลือกับหน่วยงานอื่นเพื่อให้ความรู้ในการปลูก ทุเรียน เหตุผลเนื่องจากกลุ่มเกษตรกรสนใจที่จะปลูกทุเรียนในพื้นที่ใหม่ ด้านการรวมกลุ่มของเกษตรกร การรวมกลุ่มของเกษตรกรเกิดขึ้นจากการสนใจที่จะปลูกทุเรียน เกษตรกรผู้ที่มีความสนใจจึงได้จัดตั้ง กลุ่มขึ้นเพื่อที่จะช่วยกันปรึกษาหารือถึงปัญหาของบุคคลและช่วยกันแก้ไข แต่มีความพึงพอใจน้อยกับ การติดต่อรับความช่วยเหลือกับหน่วยงานอื่น เพราะไม่ค่อยมีเวลาเข้าไปติดต่อรับความช่วยเหลือกับ หน่วยงานอื่นเพื่อมาให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกทุเรียน และไม่รู้ว่าจะไปติดต่อรับความช่วยเหลือที่ไหน จากใคร ด้านการปลูกดูแลรักษาทุเรียน เกษตรกรพึงพอใจในระดับที่น่าพอใจ 1) กล้า/ท่อนพันธุ์ทุเรียน ที่ปลูกเป็นสายพันธุ์ที่มีความนิยมเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค 2) การเจริญเติบโตของทุเรียน 3) การดูแล รักษาทุเรียนสามารถทาได้ง่าย สะดวก ส่วนสภาพพื้นที่และการเตรียมแปลงปลูกมีความเหมาะสม ปัญหาโรคและแมลงศัตรูอยู่ในระดับที่สามารถควบคุมจัดการได้ ปริมาณการใช้ปุ๋ยและสารเคมีกาจัด ศัตรูพืชอยู่ในระดับปานกลาง และยังระบุความพึงพอใจน้อยและพึงพอใจน้อยที่สุดเป็นจานวนมาก ใน ด้าน 1) กล้า/ท่อนพันธุ์ทุเรียนที่ปลูก เกษตรกรที่ซื้อกล้าพันธุ์ทุเรียนมาปลูกยังไม่เป็นที่น่าพึงพอใจ อาจจะมีสาเหตุเนื่องมาจากเกษตรกรเริ่มนาเข้ามาปลูกโดยที่ยังไม่มีประสบการณ์มากนัก จึงทาให้เกิด ข ความเสียหายต่อผลิตที่ได้ต่ากว่าที่ควรจะได้ 2) การเจริญเติบโตของทุเรียน ขาดผู้ให้ความรู้ด้านการปลูก ต้นทุเรียนจึงทาให้การเจริญเติบโตของทุเรียนไม่ดี 3) การดูแลรักษาต้นทุเรียน เกษตรกรยังขาดการดูแล รักษาในด้านโรคและแมลงศัตรูพืชและยังใช้ปุ๋ยเคมีมากเกินไปทาให้ต้นพืชและหน้าดินเสื่อมและ มีความ เป็นกรดสูง ทาให้ได้ผลผลิตน้อย และด้านผลผลิตและช่องทางการตลาด เกษตรกรมีความพึงพอใจใน ระดับน้อย เพราะมีตลาดและช่องทางการจาหน่ายไม่มากนัก จึงทาให้เกษตรกรยังไม่มีรายได้เพิ่มขึ้น นโยบายที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการปลูกทุเรียนในจังหวัดศรีสะเกษ มี 4 นโยบายหลัก ได้แก่ นโยบายการบริหารจัดการพื้นที่เกษตร, นโยบายการเกษตรแปลงใหญ่, นโยบายศูนย์ส่งเสริม ประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร และนโยบายมาตรฐานสินค้าเกษตร ส่วนกลไกในการขับเคลื่อน นโยบายจะใช้ โครงการย่อย ๆ ต่าง ๆ ที่หน่วยงานต้นสังกัด คือ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นผู้ กาหนด โดยมีข้าราชการ และส่วนงานภาครัฐ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นกลไกหลักในการ ขับเคลื่อน จากการศึกษา พบว่า การส่งเสริมการปลูกทุเรียนของภาครัฐ ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้ต่อ ครัวเรือน ในพื้นที่ที่ทาการปลูกทุเรียนเพิ่มมากขึ้น กลไกการส่งเสริมในรูปแบบกิจกรรม โครงการต่าง ๆ ที่ทาร่วมกันกับภาคเอกชน ทาให้ผลผลิตมีราคาสูง และไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค อีกทั้ง ผลผลิตส่วนใหญ่ เป็นการผลิตเพื่อส่งออก ปัญหาที่รอการแก้ไข คือ มีการนาผลผลิตนอกพื้นที่เข้ามา จาหน่าย ทาให้ไม่สามารถควบคุมมาตรฐานได้ การส่งเสริมความมั่นคงทางอาชีพ สามารถสร้างความมั่นคงทางอาชีพด้วยรายได้และอาชีพ เสริม ปัจจัยด้านรายได้และอาชีพเสริมจะทาให้เกิดความมั่นคงด้วยแนวทางส่งเสริมความมั่นคง เช่น การจัดทาบัญชีครัวเรือน การบริหารหนี้เสีย การเพิ่มเติมความรู้ ช่องทางการผลิตและจัดจาหน่าย และ พื้นฐานของตัวเกษตรกรเองที่จะมีความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการ การส่งเสริมความมั่นทาง อาชีพตามแนวพุทธ เป็นการนาหลักธรรมพระพุทธศาสนามาถอดเป็นบทเรียน เพื่อให้ได้คาสอนด้าน การส่งเสริมความมั่นคงทางอาชีพของผู้ปลูกทุเรียนซึ่งจะทาให้เกษตรกรมีศีลธรรมและคุณธรรมหลาย มิติ ประกอบด้วย 1. หลักการน้อยคล้อยหลักใหญ่ มีหลักการน้อยใหญ่มากมายที่ส่งเสริมสนับสนุนกัน และกัน ได้แก่ ความสุขของคฤหัสถ์ ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ โภควิภาค 2. การส่งเสริมมั่นคงตามหลัก สุจริตธรรม การซื่อสัตย์ ไม่คดโกง ทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ 3. การส่งเสริมความมั่นคงตาม หลักธรรมอิทธิบาท 4 อันเป็นวิธีการหรือแนวทางแห่งความสาเร็จตามหลักพระพุทธศาสนาที่สามารถ ส่งเสริมความมั่นคงทางอาชีพได้ รูปแบบการส่งเสริมความมั่นคงทางอาชีพ เป็นการหารูปแบบการ ส่งเสริมความมั่นคงผสานกับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา จัดเป็น 2 รูปแบบหลัก แต่ละรูปแบบแยก เป็นรูปแบบย่อยอย่างละ 5 ประการ คือ 1. รูปแบบการส่งเสริมความมั่นคงทางอาชีพทั่วไป ได้แก่ 1) การพัฒนารูปแบบเดิมที่มีอยู่ให้ดี 2) การอบรมเพิ่มเติมองค์ความรู้ 3) การรวมกลุ่มทาสวนทุเรียนแปลง ใหญ่ เกษตรอินทรีย์+ผสมผสาน 4) การจัดสรรแหล่งน้าพอเพียง และ 5) สื่อสารและประชาสัมพันธ์ 2. รูปแบบการส่งเสริมความมั่นคงทางอาชีพแบบทางเลือก ได้แก่ 1) กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนจัดเป็น ตลาดนัดทุเรียนหรือตลาดนัดสีเขียว 2) ลดต้นทุนในการดูแลรักษา การผลิต 3) การแปรรูปผลิตภัณฑ์ 4) คุณภาพของทุเรียน และ 5) การท่องเที่ยวเชิงเกษตร รูปแบบดังกล่าวนี้เกษตรกรสามารถร่วมมือกับ หน่วยงานราชการ ผู้นาชุมชน ภาครัฐ และเอกชนในการบริหารจัดการดาเนินได้ เป็นประโยชน์ มี คุณภาพ มีความสุข และพอเพียง และดาเนินชีวิตอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม และศีลธรรม
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/459
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2560-168พม.ขุนทอง เขมสิริ.pdf3.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.