Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/458
Title: การพัฒนาคุณภาพชีวิตบนความหลากหลายวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ ในภาคอีสานตอนล่างของประเทศไทย
Other Titles: Improving the quality of life on the multicultural group of Kui in south East of Thailand
Authors: ฐิตปญฺโญ, พระมหามิตร
น่าบัณฑิตย์, ชญาภา
น่าบัณฑิตย์, นายสุขสมัย
Keywords: การพัฒนาคุณภาพชีวิต
ความหลากหลายวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์
ภาคอีสานตอนล่างของประเทศไทย
Issue Date: 2561
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยคือ ๑. เพื่อศึกษาความเป็นมาและคุณภาพชีวิต ของชาวกูยบนความหลากหลายวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ ในภาคอีสานตอนล่างของประเทศไทย ๒. เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวกูยในภาคอีสานตอนล่างของประเทศไทยและบูรณาการสร้างฐานความมั่นคงของทรัพยากรในชาติไทยและ ๓. เพื่อศึกษาการพัฒนาคุณภาพชีวิตบนความ หลากหลายวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ ในภาคอีสานตอนล่างของประเทศไทย ผลการวิจัยพบว่า ความเป็นมาและคุณภาพชีวิตของชาวกูยบนความหลากหลายวัฒนธรรมของกลุ่มชาติ พันธุ์ ในภาคอีสานตอนล่างของประเทศไทย พบว่า ชาวกูยเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่หลักฐานการอพยพเข้า มาในประเทศไทยระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๒๐–๒๑ และชาวกูยมีเอกลักษณ์ในภาษาเป็นของตนเอง ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นภาษาพูดไม่มีตัวอักษร ในครั้งอดีตชาวกูยต้องเผชิญกับเรื่องราวที่กดดันมากมาย หลายครั้งจึงต้องมีการอพยพออกจากถิ่นฐานที่อยู่อาศัย เพื่อรักษาความอยู่รอดของเผ่าพันธุ์แต่กระนั้น พวกเขาก็ยังโดนรัฐสยามเข้ายึดและปกครองปัจจุบันชาวกุยเป็นชนกลุ่มใหญ่ที่มีฐานที่ตั้งอยู่ในเขต จังหวัดศรีสะเกษจังหวัดบุรีรัมย์ และจังหวัดสุรินทร์เป็นต้น อัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวกูยในภาคอีสานตอนล่างของประเทศไทยและบูรณาการ สร้างฐานความมั่นคงของทรัพยากรในชาติไทยพบว่าอัตลักษณ์ด้านบ้านเรือน อัตลักษณ์ด้านภาษา อัต ลักษณ์ด้านวัฒนธรรม อัตลักษณ์ด้านผลิตภัณฑ์และอัตลักษณ์ด้านการแต่งกายเป็นต้น ซึ่งจะมี ลักษณะเฉพาะกลุ่มไม่เหมือนใครเพราะอัตลักษณ์ไม่เหมือนใครนี้เองจึงกลายเป็นแหล่งท้องเที่ยวเชิง สัญญาลักษณ์สร้างร่ายได้ให้กลับชุมชนและประเทศไทย การพัฒนาคุณภาพชีวิตบนความหลากหลายวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ ในภาคอีสาน ตอนล่างของประเทศไทยพบว่าพัฒนาคุณภาพชีวิตนั้นมีชีวิตที่เป็นการอยู่ดีขึ้น กลุ่มชาติพันธุ์กูยใน ปัจจุบัน ตั้งถิ่นฐานปะปนอยู่กับไทยอีสานตอนล่าง จึงมีการติดต่อ แลกเปลี่ยนปฏิสัมพันธ์กันระหว่าง ชาติพันธุ์ด้านวัฒนธรรม จึงเกิดมีการผสมผสาน กลมกลืน และยอมรับวัฒนธรรมซึ่งกันและกัน กลุ่ม ชาติพันธุ์กูยมีการปรับตัวเพื่อการอยู่ร่วมกับกลุ่มอื่นได้อย่างดี
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/458
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2561-070 พระมหามิตร ฐิตปญฺโญ, รศ. ดร..pdf2.95 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.