Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/457
Title: การเสริมสร้างเครือข่ายทางการศึกษาในประชาคมอาเซียน (AEC)
Other Titles: The Reinforce of Educational Network in ASEAN Community (AEC)
Authors: -, พระครูสิริรัตนานุวัตร
-, พระครูสุมณฑ์ธรรมธาดา
-, พระครูพิพิธจารุธรรม
Keywords: การจัดการศึกษาอาเซียน
เครือข่าย
ประชาคมอาเซียน
เครือข่ายการศึกษา
การสร้างเครือข่าย
การจัดการเครือข่าย
กระบวนการเสริมสร้างเครือข่ายทางการศึกษา
Issue Date: 2561
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: รายงานการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการจัดการศึกษาแบบพหุภาคีของ ประเทศฟิลิปปินส์และเมียนมา (2) เพื่อศึกษาเครือข่ายทางการศึกษา ฯ (3) เพื่อศึกษากระบวนการ เสริมสร้างเครือข่ายทางการศึกษาฯ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีขอบเขตพื้นที่เครือข่ายหลักได้แก่ มหาวิทยาลัยเดลา ชเล ฟิลิปปินส์ และมหาวิทยาลัยย่างกุ้ง เมียนมา เก็บข้อมูลภาคเอกสารจาก เอกสารสารสนเทศ พระราชบัญญัติ แผนพัฒนา นโยบาย กฎเกณฑ์ ข้อบังคับ เก็บข้อมูลภาคสนาม โดยลงพื้นที่จริงจากการคัดเลือกพื้นที่และรายประเด็นเชิงพื้นที่ในฐานะมหาวิทยาลัยเครือข่ายอาเซียน ที่มีเอกลักษณ์ทางการศึกษาและวัฒนธรรมโดยสนทนากลุ่มย่อยและสัมภาษณ์รายบุคคลจากผู็ให้ข้อมูลสําคัญ 4 กลุ่ม คือ ผู้บริหาร อาจารย์ นักศึกษา และภาคีเครือข่าย ใช้เครื่องมือแบบสัมภาษณ์ บันทึกกิจกรรม โดยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า ประเทศฟิลิปปินส์ มีภาคีจัดการศึกษา 2 ภาคใหญ่ ๆ คือ ภาครัฐกับภาคเอกชน โดย ภาคเอกชนมีองค์กรศาสนาคริสต์เป็นหลักจัดการ นอกนั้นมีองค์กรมูลนิธิ องค์กรประชาชน เห็นได์ชัด คือ ระดับมหาวิทยาลัยเอกชนมจีํานวน 943 แหงขณะที่รัฐบาลมีเพียง 100 แห่ง มีระบบการศึกษาขั้น พื้นฐานเป็นทางการ ทั้งไม่เป็นทางการ และการศึกษาอิสระ หลักสูตรการศึกษาแบบอเมริกา รัฐบาล มีนโยบายจัดการศึกษาแก่ทุกคน (Education for all) ให้ความสําคัญแก่วิชาชีพ กระจายอํานาจ การศึกษาด้วยการถือโรงเรียนเป็นฐาน (School Based Management) ระดับการศึกษาข้ันพื้นฐาน ใช้สูตรช่วงปีอายุเข้าศึกษา 3+6+4 ตามด้วยอาชีวะ 2 ปี เป็นการศึกษาภาคบังคับและเรียนฟรี ระดับอุดมศึกษาใช้สูตรช่วงปีเข้าศึกษา 4-2-3. รัฐมีนโยบายจัดการจัดศึกษาขั้นพื้นฐานขยายปีออกไป ชื่อว่า K-12 กระทรวงศึกษาธิการทําหน้าที่กาํกับนโยบายการศึกษา มีหน่วยงานที่รับผิดชอบการศึกษา ตามระดับและประเภท คือการศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาเทคนิคและอุดมศึกษา ถือวิสัยทัศน์ว่า การศึกษาคือเครื่องมือพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในชาติที่ยั่งยืนที่สุด และได้ชื่อว่า เป็นศูนย์กลาง การศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศเมียนมา มีภาคีจัดการศึกษา 2 ภาคคือภาครัฐกับภาคเอกชน โดยภาคเอกชนที่ เป็นหลัก ๆ คือ พระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา ซึ่งจัดการศึกษาภาคปริยัติธรรม และภาคสามัญที่รัฐบาล รับรอง ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานใช้สูตร 5+4+2 ระดับประถมศึกษาเป็นภาคบังคับ ระดับมัธยมศึกษาเป็นการศึกษาสมัครใจ ระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษาตอนต้นให้เรียนฟรี มี ประเภทการศึกษา 2 ประเภทคือ สายสามัญ กับ สายอาชีวะ ส่วนระดับอุดมศึกษาใช้สูตร 4 -6 ปี จะเห็นได้ชัดว่า มีระดับอุดมศึกษาของพระสงฆ์ 10 แห่ง จัดการศึกษาแบบอังกฤษ มีหน่วยงาน รับผิดชอบการศึกษา 3 หน่วย คือ 1) กรมการศึกษาพื้นฐานรับผิดชอบการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) กรมการเทคโนโลยีเกษตรและอาชีวศึกษา ดูแลด้านเกษตรกรรม พณิชยกรรม และการฝึกหัดครู มีทั้ง เรียนเต็มเวลาและนอกเวลา 3) กรมอุดมศึกษา ทําหน้าที่วางแผนนโยบายและดําเนินการด้าน อุดมศึกษาของประเทศ นอกจากนี้ยังมีสถาบันเทคโนโลยีที่จัดการศึกษาวิชาชีพระดับสูงที่ใช้เวลาใน การศึกษา 4-6 ปี กระบวนการเสริมสร้างเครือข่ายการศึกษา ด้วยความจําเป็น สมาชิก กิจกรรม ปฏิสัมพันธ็ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู็ สนับสนุนส่งเสริมเครือข่ายด้วย การมีแผนการ -เคลื่อนไหว ปรับปรุง –เปลี่ยนแนวคิดบริหารจัดการและสร้างทักษะ กําหนดคุณสมบัติผู้บริหารเครือข่ายที่มี วิสัยทัศน์ จัดการงานดี มีอุปนิสสัยที่รับใช้สังคม มีทฤษฎีบริหารเครือข่ายด้วย 4 M สร้างโมเดล เครือข่ายด้วยแผนยุทธศาสตร์ที่แยกเป็น 3 ปัจจัยหลัก คือ (1) ปัจจัยนําเข้าหลัก (2) ปัจจัย กระบวนการ (3) ปัจจัยผลิตผล ดํารงรักษาเครือข่ายโดยผู้บริหารเครือข่ายที่มีวิสัยทัศน์ จัดการงานดี มีอุปนิสัย และเสริมสร้างเครือข่ายให้มีชีวิตด้วยกิจกรรมต่อเนื่อง และท้ายสุด มีการรักษาเครือข่าย ด้วย การจัดกิจกรรมร่วมที่ดําเนินอย่างต่อเนื่อง มีการรักษาสัมพันธภาพที่ดีระหว่างสมาชิกเครือข่าย กําหนดกลไกสร้างระบบจูงใจ จัดหาทรัพยากรสนับสนุนเพียงพอ ให้ความช่วยเหลือและช่วยแก้ไข ปัญหา และมีการสร้างผู้นํารุ่นใหม่อย่างต่อเนื่อง
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/457
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2561_พระครูสิริรัตนานุวัตร61.pdf7.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.