Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/454
Title: การพัฒนาและเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุ จังหวัดพะเยา ตามหลักพุทธธรรม
Other Titles: The Development and Promoting Health Elderly by Buddha-Dhamma in Phayao Province.
Authors: พระครูศรีวรพินิจ
หงษ์ทอง, นางสาวนภาพร
คชสารเสนีย์, นางสาวชญาภา
Keywords: การพัฒนาและเสริมสร้างสุขภาวะ
ผู้สูงอายุจังหวัดพะเยา
หลักพุทธธรรม
Issue Date: 2559
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัยเรื่อง “การพัฒนาและเสริมสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุจังหวัดพะเยาตามหลักพุทธธรรม” เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยการใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้สูงอายุจากสำนักปฏิบัติธรรม 5 แห่ง ในจังหวัดพะเยา ได้แก่ สำนักปฏิบัติธรรมวัดศรีโคมคำ สำนักปฏิบัติธรรมวัดใหม่แท่นคำ สำนักปฏิบัติธรรมวัดโพธาราม สำนักปฏิบัติธรรมวัดหลวงราชสัณฐาน และสำนักปฏิบัติธรรมวัดห้วยแก้วป่าฝาง แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ และสังเคราะห์ เพื่ออธิบายผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ เพื่อศึกษาสุขภาวะของผู้สูงอายุในจังหวัดพะเยาตามหลักพุทธธรรม เพื่อศึกษาการพัฒนาและเสริมสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุตามหลักพุทธธรรม และเพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ของการพัฒนาและเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุในจังหวัดพะเยาตามหลักพุทธธรรม ผลการศึกษาพบว่า ๑) ผู้สูงอายุที่เข้ามาปฏิบัติธรรมในสำนักปฏิบัติธรรมทั้ง 5 แห่ง โดยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ซึ่งมีอายุระหว่าง 51 - 60 ปี มากกว่าผู้ที่มีอายุ ๖๐ ปีขึ้นไป มีสถานภาพเป็นผู้ที่สมรสแล้ว และจำนวนเกือบครึ่งหนึ่งเป็นผู้ที่มีโรคประจำตัว แต่ไม่พบว่ามีอุปสรรคต่อการปฏิบัติธรรม จุดมุ่งหมายของการปฏิบัติธรรมคือ ต้องการเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณค่าและมีความสุข ดังแนวคิดการพัฒนาสุขภาวะผู้สูงอายุโดยทั่วไป ผู้สูงอายุเหล่านี้เป็นผู้ที่มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา ต้องการศึกษาหลักธรรมและการปฏิบัติธรรมที่ถูกต้อง ด้วยมีความเชื่อในอานิสงส์ของการปฏิบัติธรรม เพื่อให้เกิดความสงบสุขทางใจ ตลอดจนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ลูกหลาน ๒) ในสำนักปฏิบัติธรรมทั้ง 5 แห่ง ได้มีการนำหลักภาวนา 4 มาใช้ในการพัฒนาและเสริมสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุ ดังนี้ การพัฒนาสุขภาวะทางกาย (กายภาวนา) ใช้วิธีการสวดมนต์ เดินจงกรม นั่งสมาธิ วิปัสสนา การทานอาหารเจหรืออาหารมังสวิรัติในทุกวันพระ การพัฒนาสุขภาวะทางสังคม (ศีลภาวนา) โดยการรักษาศีล 5 ทุกวัน และรักษาศีล 8 ทุกวันพระ การเข้าร่วมกิจกรรมในชุมชน การบริจาคทรัพย์สิ่งของเพื่อช่วยเหลือชุมชนกับเด็กด้อยโอกาส การพัฒนาสุขภาวะทางจิตและปัญญา (จิตภาวนาและปัญญาภาวนา) โดยการฟังเทศน์ ฟังธรรม เรียนธรรมะ เดินจงกรม นั่งสมาธิ วิปัสสนา เจริญสติ เป็นต้น ๓) ผลสัมฤทธิ์ของการพัฒนาสุขภาวะผู้สูงอายุในจังหวัดพะเยา พบว่า ผู้สูงอายุที่เข้ารับการปฏิบัติธรรมสามารถนำหลักพุทธธรรมมาใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้ โดยการให้ความสำคัญกับการพัฒนาสุขภาวะทางจิตสูงที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.14 รองลงมาคือ การพัฒนาทางปัญญา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.13 การพัฒนาทางสังคม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.95 และการพัฒนาทางกาย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.86 สรุปโดยภาพรวมของการพัฒนาสุขภาวะของผู้สูงอายุในจังหวัดพะเยาตามหลักพุทธธรรม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.02 ถือว่าอยู่ในระดับมาก จะเห็นได้ว่า ผู้สูงอายุได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาสุขภาวะทางจิตและปัญญาในระดับที่สูง ตามมาด้วยการพัฒนาทางสังคม และทางกาย สอดคล้องกับแนวคิดทางพระพุทธศาสนาที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาสุขภาวะทางปัญญาเป็นเบื้องต้นก่อน เพราะเป็นพื้นฐานของความสุขทั้งทางกาย สังคม และจิต ด้วยปัญญาจะทำให้เห็นว่า ความทุกข์ใจของมนุษย์นั้นเกิดจากความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งต่างๆ เมื่อไม่ยึด ใจก็ไม่ทุกข์ อันจะช่วยให้ใจปล่อยวางและทำให้ทุกข์หลุดไปจากใจได้ แม้ในวัยสูงอายุจะต้องเผชิญกับความเจ็บป่วย ความพลัดพราก สูญเสีย แต่ก็ยังมีความสุขได้
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/454
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2559-182 พระครูศรีวรพินิจ, ดร..pdf3.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.