Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/452
Title: การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการอนุรักษ์ป่าชุมชน บนฐานเศรษฐกิจพอเพียง
Other Titles: Knowledge Management of Local Wisdom for Community Forest Conservation Based on Sufficiency Economy
Authors: และคณะ, พระครูพิพิธสุตาทร
Keywords: การจัดการความรู้
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
การอนุรักษ์ป่าชุมชนบนฐานเศรษฐกิจพอเพียง
Issue Date: 2556
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ความรู้ใน การอนุรักษ์ป่าชุมชน สภาพปัจจุบันปัญหาการใช้ภูมิปัญญาในการอนุรักษ์ป่าของชุมชน และแนวทาง จัดการความรู้เพื่อส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาในการอนุรักษ์ป่าชุมชนบนฐานเศรษฐกิจพอเพียง โดย ทาการศึกษาวิจัยในพื้นที่ ต. แม่โป่ง อ. ดอยสะเก็ด จ. เชียงใหม่ มีการเก็บรวบรวมข้อมูลจาก การศึกษาข้อมูลเอกสาร การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม และการจัดเวทีการเรียนรู้ในชุมชนจานวน ๑๐ ครั้ง แบ่งแผนการดาเนินงานการวิจัยออกเป็น ๕ ระยะคือ ระยะก่อนทาการวิจัย ระยะการจัดทา แผน ระยะการกาหนดแผนงาน ระยะการนาแผนไปปฏิบัติ และระยะติดตามและประเมินผล โดยมี กลุ่มผู้ร่วมศึกษาวิจัยและปฏิบัติการ คือ พระสงฆ์ ผู้สูงอายุ อาสาสมัครพิทักษ์ป่า คณะกรรมการ หมู่บ้าน เยาวชนและตัวแทนส่วนราชการในพื้นที่ จานวน ๖๐ คน ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนมีพื้นที่ป่าชุมชน ๔ แห่ง คือ ป่าห้วยไร่ ป่าห้วยก้า ป่าจอตึงและป่า ดอยปุ๊กขี้แฮ้ง มีบทเรียนป่าชุมชน ๔ ช่วงเวลาคือ ยุคดั้งเดิม ยุควิกฤตและเสื่อมโทรม ยุคฟื้นฟูและยุค การพัฒนาตามแนวพระราชดาริ ทาให้เรียนรู้สะสมประสบการณ์จากการใช้ประโยชน์และจัดการป่า ชุมชนมาอย่างต่อเนื่อง ได้สั่งสมองค์ความรู้หรือภูมิปัญญาในการอนุรักษ์ป่าชุมชน ๔ ด้าน คือ ๑) ด้าน ความเชื่อ ว่า ทุกสิ่งล้วนมีจิตวิญญาณและมีเจ้าของ ป่าจึงมีผีหรือวิญญาณสิ่งสถิตอยู่ จึงมีการกาหนด เป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์และมีการบูชาเซ่นสรวง ๒) ด้านการใช้ประโยชน์จากป่าอย่างเกื้อกูล โดยมีการ กาหนดแนวปฏิบัติหรือระเบียบป่าชุมชน ๓) ด้านการประยุกต์ความเชื่อพิธีกรรมทางศาสนาเพื่อการ อนุรักษ์ป่า ๔) ด้านวิถีชีวิตและวิทยาการ ได้จัดกิจกรรมเพื่อการอนุรักษ์ป่า อาทิ การทาแนวกันไฟ การ ปลูกป่า การสร้างฝายชลอน้า ๕) ด้านการสร้างเทคโนโลยีของชุมชนเพื่อการจัดการป่า เช่น การทาป่าเปียก การปลูกป่าสามอย่างเพื่อประโยชน์สี่อย่าง การดับไฟป่า การทาปุ๋ยชีวภาพ ด้านสภาพปัจจุบันการใช้ภูมิปัญญาอนุรักษ์ป่าชุมชน พบว่า มีการเสริมสร้างกลไกขับเคลื่อน การใช้ภูมิปัญญาเพื่อการอนุรักษ์ป่าชุมขน เช่น การรณรงค์ให้ความรู้ การกาหนดกิจกรรมในแผน แม่บทของตาบลและชุมชน การจัดเวรยามตรวจการเฝ้าระวัง การกาหนดกฎระเบียบและเขตพื้นที่การใช้ประโยชน์ การจัดกิจกรรมอนุรักษ์ป่าชุมชน การอนุรักษ์ฟื้นฟูวัฒนธรรมประเพณี ภูมิปัญญา การ สร้างเครือข่ายหรือพันธมิตร กับองค์กร/ชุมชนนอกพื้นที่ และการจัดระบบการบริหารป่าชุมชน รวมทั้ง การบูรณาการสู่การเรียนการสอนในสถานศึกษา แต่กระนั้นก็ยังคงมีข้อจากัดการใช้ภูมิปัญญาในการ อนุรักษ์ป่าชุมชน เพราะความเป็นปัจเจกท่ามกลางสภาพสังคม การศึกษาและวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลง ที่ ส่งผลต่อระบบความสัมพันธ์ทางสังคมของคนรุ่นใหม่ในชุมชน ที่ขาดความเข้าใจความผูกพันระหว่าง วิถีชุมชนกับป่า การขาดทักษะความรู้และเทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อการจัดการป่าชุมชน การขาดแคลน งบประมาณเพื่อการฟื้นฟูป่าชุมชน และขาดการบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นกับความรู้สมัยใหม่ในการ จัดการป่าชุมชน ด้านแนวทางการจัดการความรู้ เพื่อส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาอนุรักษ์ป่าชุมชน บน ฐานเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า ๑) ใช้หลัก “ความพอประมาณ” โดยการกาหนดให้เป็นระเบียบว่าด้วย การใช้ประโยชน์จากป่าชุมชน ๒) ดาเนินการตามเงื่อนไขด้าน “ความรู้” ความรอบรู้เกี่ยวกับป่า การ จัดทาฐานข้อมูลชุมชน ความรอบคอบที่จะนาความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อ ประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในการปฏิบัติ ๓) ปฏิบัติตามเงื่อนไข “คุณธรรม” โดยการ สร้างความตระหนักในคุณธรรม มีความเพียร มีความอดทน มีความซื่อสัตย์สุจริต ใช้สติปัญญาในการ ดาเนินชีวิต และสานึกรับผิดชอบต่อคนในอนาคต ๔) มีการจุดประกายพลังชุมชนและเครือข่าย ทบทวนการทางานที่ผ่านมา และวางทิศทางการทางานร่วมกันในอนาคต จนเกิดวิสัยทัศน์การจัดการ ป่า และแผนกิจกรรมป่าชุมชน ๕) ปฏิบัติการตามคุณสมบัติแห่งเศรษฐกิจพอเพียง โดยสร้าง “ภูมิคุ้มกัน” การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นใน อนาคต เพื่อให้เกิดความตระหนักในคุณค่าของป่า วิธีการอยู่ร่วมและใช้ประโยชน์จากป่าอย่างเกื้อกูล ๖) ร่วมกันตัดสินใจอย่างมีเหตุผล ตามหลัก “ความมีเหตุมีผล” เกี่ยวกับระดับความพอเพียงในการใช้ ทรัพยากรป่า โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง เช่น ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรดิน น้า ป่า ๗) มีการบูรณาการหลักศาสนธรรม ศาสนพิธี และส่งเสริมบทบาทพระสงฆ์ในการจัดการป่าชุมชน ซึ่ง เป็นการสร้างเงื่อนไขด้าน “คุณธรรม” ในกระบวนการอนุรักษ์ป่าชมชน ๘) มีการจัดทาหลักสูตร สถานศึกษา กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม สาระพิเศษเรื่องการเรียนรู้ภูมิปัญญาการ จัดการป่าชุมชน และการสร้างกระบวนการทางสังคมเพื่อการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตามเงื่อนไขด้าน “ความรู้” ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คณะผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางการพิจารณาและเลือกการนาข้อมูลไปใช้ประโยชน์ เช่น การสร้างกระบวนการเรียนรู้ของคนในชุมชนเพื่อการจัดการปัญหาอื่นๆ มีกลไกการสนับสนุนจาก หน่วยงานองค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน การสร้างความเชื่อมั่นในภูมิปัญญาดั้งเดิมของชุมชน ชื่อมประสานความรู้จากภายนอก เพื่อสร้างความรู้ใหม่ในการจัดการทรัพยากรป่าชุมชน สร้างการมี ส่วนร่วมของชุมชน และสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้การจัดการป่าชุมชนอย่างต่อเนื่อง
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/452
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2556-036 พระครูพิพิธสุตาทร, ดร..pdf1.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.