Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/450
Title: | การเปรียบเทียบจริยศาสตร์ในพระพุทธศาสนาเถรวาทกับแนวคิดของเพลโต |
Other Titles: | Comparative Study on Ethics in Theravada Buddhism and The Ethical Concept of Plato |
Authors: | พระครูปริยัติธรรมวงศ์ |
Keywords: | การเปรียบเทียบจริยศาสตร์ พระพุทธศาสนาเถรวาท แนวคิดของเพลโต |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยเรื่อง การเปรียบเทียบจริยศาสตร์ในพระพุทธศาสนาเถรวาทกับแนวคิดของเพลโต มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบทัศนะต่อธรรมชาติของโลกและชีวิต เป้าหมายของชีวิต หรือการมีชีวิตที่ดี มาตรฐานทางศีลธรรม และสังคมการเมืองที่ดีตามหลักจริยศาสตร์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท และ แนวคิดของเพลโต เพื่อเปรียบเทียบความเหมือนและความต่างตามแนวคิดทางจริยศาสตร์ทั้งสอง การ วิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากคัมภีร์พระพุทธศาสนา คือพระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา เอกสารวิชาการทางพระพุทธศาสนา และผลงานของเพลโต ที่มีผู้แปลเป็นภาษาไทยแล้ว รวมถึง งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แล้วนาเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า จริยศาสตร์ทั้งสองได้รับการยกย่องทั่วโลกว่า “เป็นเกณฑ์ตัดสินความดี ความชั่ว” มีทั้งความเหมือนและความต่าง พระพุทธศาสนาเถรวาท เห็นว่า ธรรมชาติมีความเป็น ระเบียบตามจิตนิยามและกรรมนิยาม มนุษย์เป็นศูนย์กลางปัญหาและปัญญา ชีวิตที่ดี เรียกว่า นิพพาน ซึ่งจะบรรลุได้ด้วยกฎศีลธรรม แนวคิดสังคมการเมืองที่ดี เน้นการอยู่ร่วมกันโดยธรรม และ มองการเมืองเป็นการจัดสรรผลประโยชน์ที่เป็นธรรมแก่ทุกคน ผู้ปกคร องจึงต้องดารงตนใน ศีลธรรม สังคมการเมืองที่ดีต้องยึดประโยชน์ปัจจุบัน ประโยชน์อนาคต และประโยชน์สูงสุด เพลโต เห็นว่า ธรรมชาติมีแบบความยุติธรรม ความยุติธรรมในสังคมเข้าใจได้ ชีวิตที่ดี เรียกว่า การทาหน้าที่ตามศีลธรรม เกณฑ์ตัดสินความดีต้องวางอยู่บนพื้นที่กลมกลืนกันของคุณธรรม ๔ ด้าน คือ ปัญญา ความกล้าหาญ การรู้จักประมาณ ความยุติธรรม คุณธรรมทั้ง ๔ ใช้ปกครองสังคม และปัจเจกชนให้จิตใจได้รับการขัดเกลาจากความเมตตา ความกรุณา จนอยู่ร่วมกันอย่างสันติได้ แนวคิดสังคมการเมืองที่ดีจะให้ความสาคัญกับการแบ่งงานตามความถนัด ความสามารถ และการ จัดตั้งองค์กรที่มีส่วนร่วมทางสังคมนั้น รัฐต้องเป็นผู้ให้การศึกษาแก่คนในระบบการเมืองที่ดี เพื่อการ พัฒนาจิตของมนุษย์ สังคมการเมืองที่ดีต้องอยู่ร่วมกันอย่างมีภาระต่อกันภายใต้กติการาชาปราชญ์ ปรัชญาทั้งสอง มีส่วนคล้ายคลึงกันคือ (๑) เจตนาและเหตุผล (๒) เสรีภาพการใช้เหตุผล และ (๓) คุณธรรมบุคคลและสังคม ซึ่งจะแสดงกฎศีลธรรมออกมาผ่านพฤติกรรม โดยจะเน้นการ พัฒนาศักยภาพและคุณภาพของมนุษย์ที่ต้องทาหน้าที่พึ่งพากันและกันเป็นหลัก และมีประเด็นความ แตกต่างกันคือ (๑) ระดับของความดี (๒) เป้าหมายสูงสุดของมนุษย์ และ (๓) คุณค่าที่เป็นผลจาก เกณฑ์การตัดสินความดีที่มีต่อปัจเจกบุคคล ต่อสังคม และต่อมวลมนุษยชาติ |
URI: | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/450 |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2553-057 พระครูปริยัติธรรมวงศ์, ดร..pdf | 2.74 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.